นครราชสีมา
ประวัติศาสตร์จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา เป็นเมืองเก่าแก่เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่ในสมัยขอมในสมัยโบราณเป็นเมืองชั้น "เจ้าพระยามหานคร" ในปัจจุบันก็ยังคงมีความสำคัญ กล่าวคือ เป็นปากประตูสู่ภาคอีสาน และเป็นชุมทางคมนาคมสู่จังหวัดต่าง ๆ ทั้ง ๑๖ จังหวัดในภาคอีสานอีกด้วย
นครราชสีมา เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่งในอาณาจักรไทย เดิมทีเดียวตัวเมืองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในท้องที่อำเภอสูงเนิน ห่างจากตัวเมืองปัจจุบันประมาณ ๓๑ กิโลเมตร มีเมืองอยู่ ๒ เมือง คือเมือง "โคราช" หรือ "โคราฆะปุระ" กับเมือง "เสมา" ทั้ง ๒ เมืองโบราณดังกล่าวเคยเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยขอม ปัจจุบันเป็นเมืองร้างตั้งอยู่ริมฝั่งลำตะคอง
เมืองเสมา ตั้งอยู่ฝั่งใต้ลำตะคอง มีเนินดินกำแพงเมืองและคูเมืองทั้ง ๔ ด้านตัวกำแพงสร้างด้วยแลง ยังมีเหลือซากอยู่บ้าง ภายในเมืองมีสระและบึงใหญ่น้อยอาศัยใช้น้ำได้ตลอดปี มีโบราณวัตถุสมัยทวารวดีขนาดใหญ่แสดงอายุของเมืองนี้ ๒ อย่าง คือ พระพุทธรูปทำด้วยศิลา เล่ากันว่าแต่แรกตั้งยืนอยู่โดดเดี่ยว แล้วถูกฉุดลากล้มลงแตกหักยับเยิน ต่อมามีผู้เกิดความสังเวช เก็บรวมประกอบเป็นองค์พระวางนอนไว้ จึงเรียกกันว่าเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ไป อีกอย่างเป็นธรรมจักรศิลาขนาดวัดผ่าศูนย์กลางราว ๑.๕๐ เมตร เวลานี้ประดิษฐานอยู่ที่วัดคลองขวาง ตำบลเสมา ห่างจากถนนมิตรภาพประมาณ ๙-๑๐ กิโลเมตร
เมืองโคราฆะปุระ ตั้งอยู่ทางฝั่งเหนือลำตะคอง ในตำบลโคราช ห่างจากเมืองเสมา ไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๖ กิโลเมตร หรือห่างจากที่ว่าการอำเภอสูงเนินไปราว ๒-๓ กิโลเมตร ในบริเวณเมืองมีปราสาทหินย่อม ๆ ๒-๓ แห่ง แห่งหนึ่งเคยตรวจพบศิวลึงค์ศิลา ขนาดยาว .๙๒/ .๒๘ เมตร กับศิลาทับหลังประตูจำหลักลายเป็นรูปพระอิศวรประทับยืนบนหลังโคอุศุภราช จึงน่าเชื่อว่าปราสาทหินหลังนี้อาจสร้างเป็นเทวสถานฝ่ายนิกายไศวะ เมืองนี้ในสมัยหนึ่งคงเป็นเมืองสำคัญ ตั้งรักษาเส้นทางที่ลงมายังแผ่นดินต่ำทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรี เพราะอยู่ในที่ร่วมของเส้นทางเดินทางช่องดงพระยาไฟกับดงพระยากลาง
ที่หน้าอำเภอสูงเนินมีศิลาจารึกเป็นภาษาสันสฤตกับภาษาขอมแผ่นหนึ่งหักเป็น ๒ ท่อน เดิมอยู่ที่หมู่บ้านบ่ออีกาในเขตเมืองเสมา เป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันอายุของเมืองในอำเภอสูงเนิน เนื้อความในจารึกเล่าถึงพระเจ้าศรีจนาศ (หรือ ศรีจนาเศศวร) ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระภิกษุสงฆ์ เมื่อ พ.ศ. ๑๔๑๑
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
เมื่อราว พ.ศ. ๑๘๐๐ เศษ พ่อขุนรามคำแหงได้เสวยสิริราชสมบัติกรุงสุโขทัยมีอานุภาพมาก แผ่ราชอาณาเขตกว้างขวาง ดังปรากฏในศิลาจารึกแสดงเขตอาณาจักรสุโขทัยสมัยนั้นว่าทิศเหนือตั้งแต่เมืองแพร่ เมืองน่าน ตลอดถึงแม่น้ำโขง ทางทิศตะวันตกตลอดเมืองหงสาวดี ทางทิศใต้ตลอดแหลมมลายู แต่ทางทิศตะวันออกบอกเขตแดนทางแผ่นดินสูงเพียงตอนเหนือราวท้องที่จังหวัดอุดรธานี เลย และหนองคาย ไปถึงเวียงจันทน์ เวียงคำเป็นที่สุดไม่ปรากฏชื่อเมืองทางแผ่นดินสูงตอนใต้ กับทั้งทางแผ่นดินต่ำลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีเช่น เมืองลพบุรี เมืองอยุธยา ปราจีนบุรี เป็นต้น โดยเหตุนี้จึงมีคำสันนิษฐานเกิดขึ้นว่าดินแดนเหล่านี้เป็นอาณาจักรของขอมซึ่งมีกำลังแข็งแรงกว่าอาณาจักรสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงจึงไม่อาจแผ่เดชานุภาพเข้ามา แต่เท่าที่ได้สังเกตศึกษาทั้งทางด้านศิลปและตำนานสงสัยว่าดินแดนเหล่านี้หาได้อยู่ในความปกครองของพวกขอมไม่ หากแต่อยู่ในอำนาจของอาณาจักรไทยพวกหนึ่งซึ่งมีราชธานี เรียกว่า กรุงอโยธยา เป็นอาณาจักรที่มีมาตั้งแต่ราวพุทธศวรรษที่ ๑๖ และสิ่งสำคัญเป็นหลักฐานของอาณาจักรนี้ ก็คือศิลปกรรมอู่ทอง (หรือลพบุรีตอนต้น) อันมีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับศิลปกรรมของขอมอยู่มาจนกระทั่งถูกเข้าใจคลุม ๆ ไปว่าเป็นประดิษฐกรรมของพวกขอมเสียเกือบหมดสิ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งโบราณวัตถุจำพวกหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์เข้าใจว่าจะไม่สันทัดถนัดทำเลย) อาณาจักรอโยธยาคงจะรุ่งเรืองยิ่งใหญ่ทั้งอำนาจและศิลปศาสตร์ จึงปรากฏในพงศาวดารทางลานนาประเทศว่า พ่อขุนรามคำแหงกับพ่อขุนงำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา ขณะยังเยาว์วัยต้องลงมาศึกษาวิชาการ ณ เมืองละโว้ (ลพบุรี) ในแว่นแคว้นนี้ถึงแม้ประเทศกัมพูชาอันมีพระนครหลวง เป็นราชธานีก็คงตกอยู่ในความปกครองระยะหนึ่งระยะใดในระหว่างพุทธศวรรษที่ ๑๙ เพราะตอนปลายพุทธศตวรรษนั้น เมื่ออาณาจักรอโยธยาเปลี่ยนผู้สืบสันติวงศ์ใหม่เป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ จึงเกิดขอมแปรพักตร์ขึ้น ถึงกับต้องกรีธาทัพไปกำราบปราบปราม เวลานี้เรื่องราวของอาณาจักรอโยธยายังมืดมัวอยู่ แต่วัตถุพยานชี้ร่องรอยชวนให้ศึกษาค้นคว้ามีประจักษ์อยู่ คือ พระเศียรพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ซึ่งขุดพบที่วัดธรรมิกราชขนาดใหญ่ที่ เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา กับพระพุทธตรัยรัตนนายก วัดพนัญเชิง ซึ่งมีมาก่อนสร้างพระนครศรีอยุธยา พระเศียรพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ที่วัดเดิม อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมารวมทั้งโบราณวัตถุสถานแบบอู่ทองที่มีอยู่ในพระนครหลวงประเทศกัมพูชา เช่นที่ปราสาทหินเทพประณม ปราสาทหินนครวัด ตลอดจนศิลาจำหลักบางชิ้นในพิพิธภัณฑสถานกรุงพนมเปญ อันเป็นของเคลื่อนย้ายไปจากกลุ่มปราสาทหินบรรยงก์เป็นต้น
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) โปรดให้สร้างเมืองสำคัญที่อยู่ชายแดนให้มีป้อมปราการ สำหรับป้องกันรักษาราชอาณาจักรหลายเมือง เช่นนครศรีธรรมราช พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เป็นต้น จึงให้ย้ายเมืองที่ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน มาสร้างเป็นเมืองมีป้อมปราการและคูล้อมรอบขึ้นใหม่ ในที่ซึ่งอยู่ในปัจจุบันนี้ แล้วเอานามเมืองเดิมทั้งสอง คือ เมืองเสมา กับ เมืองโคราฆะปุระ มาผูกเป็นนามเมืองใหม่ เรียกว่า เมืองนครราชสีมา แต่คนทั้งหลายคงยังเรียกชื่อเมืองเดิมติดปากอยู่ จึงมักเรียกกันทั่วไปว่า เมืองโคราช เมืองนี้กำแพงก่อด้วยอิฐมีใบเสมาเรียงรายตลอดมีป้อมตามกำแพงเมือง ๑๕ ป้อม ประตู ๔ ประตู สร้างด้วยศิลาแลงมีชื่อดังต่อไปนี้
ทางทิศเหนือ ชื่อประตูพลแสน นัยหนึ่งเรียกประตูน้ำ
ทางทิศใต้ ชื่อประตูไชยณรงค์ นัยหนึ่งเรียกประตูผี
ทางทิศตะวันออก ชื่อประตูพลล้าน นัยหนึ่งเรียกประตูตะวันออก
ทางทิศตะวันตก ชื่อประตูชุมพล
ประตูเมืองทั้ง ๔ แห่งนี้มีหอรักษาการอยู่ข้างบนทำเป็นรูปเรือน (คฤห) หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าใบระกาเหมือนกันทุกแห่ง แต่ปัจจุบันคงเหลือรักษาไว้เป็นแบบอย่างแห่งเดียวเท่านั้น คือประตูชุมพล ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นบัญชีสงวนรักษาไว้เป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ นอกนั้นทั้งประตูและกำแพงเมืองได้ถูกรื้อสูญหมดแล้ว
ในหนังสือเที่ยวตามทางรถไฟพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรง-ราชานุภาพ เล่าถึงตำนานเมืองว่า
ในทำเนียบครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ เมืองนครราชสีมา มีเมืองขึ้น ๕ เมือง คือเมืองนครจันทึก อยู่ทางทิศตะวันตก เมือง ๑ เมืองชัยภูมิ อยู่ทางทิศเหนือ เมือง ๑ เมืองพิมายอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมือง ๑ เมืองบุรีรัมย์ อยู่ทางทิศตะวันออก เมือง ๑ เมืองนางรอง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เมือง ๑ ต่อมาตั้งเมืองเพิ่มขึ้นอีก ๙ เมือง คือ ทางทิศเหนือ ตั้งเมืองบำเหน็จณรงค์ ๑ เมือง จัตุรัส ๑ เมือง เกษตรสมบูรณ์ ๑ เมือง ภูเขียว ๑ เมือง ชนบท ๑ เมือง รวม ๕ เมือง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งเมืองพุทไธสง ๑ เมือง ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตั้งเมืองประโคนชัย ๑ เมือง รัตนบุรี ๑ เมือง ทางทิศใต้ ตั้งเมืองปักธงชัย ๑ เมือง เมืองนครราชสีมา จึงมีเมืองขึ้น ๑๔ เมืองด้วยกัน เมื่อสร้างเมืองใหม่ในครั้งนั้น สมเด็จพระนารายณ์ทรงเลือกสรรข้าราชการที่เป็นคนสำคัญออกไปครอง ปรากฏว่าโปรดให้พระยายมราช (สังข์) ไปครองเมืองนครราชสีมาพร้อมกับโปรดให้พระยารามเดโช ไปครองเมืองนครศรีธรรมราช ส่วนเมืองอื่นหาปรากฏนามผู้ไปครองเมืองไม่ ครั้นสมเด็จพระนารายณ์สวรรคต เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๑ พระเพทราชาได้ราชสมบัติ พระยายมราชและพระยารามเดโช ไม่ยอมเป็นข้าพระเพทราชา ต่างตั้งแข็งเมืองนครราชสีมาและเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นด้วยกัน กองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงยกขึ้นไปทางดงพระยาไฟ พระยายมราชต่อสู้รักษาเมืองนครราชสีมาอยู่ได้พักหนึ่ง แต่สิ้นกำลังต้องหนีไปอยู่กับพระยารามเดโช ณ เมืองนครศรีธรรมราช ครั้งกองทัพกรุง ฯ ลงไปตีเมืองนครราชสีมาได้ในครั้งพระยายมราช (สังข์) ตั้งแข็งเมืองนั้น คงกวาดต้อนผู้คนและเก็บเครื่องศัตราวุธ ซึ่งมีไว้สำหรับรักษาเมืองนำมาเสียโดยมาก โดยหวังจะมิให้มีผู้คิดแข็งเมืองได้อีก ต่อมาในรัชกาลนั้นเอง มีลาวชาวหัวเมืองตะวันออกคนหนึ่ง ชื่อบุญกว้าง ตั้งตัวเป็นผู้วิเศษกับพรรคพวกเพียง ๒๓ คน กล้าเข้ามาถึงเมืองนครราชสีมาพักอยู่ที่ศาลาแห่งหนึ่งนอกเมือง แล้วให้พระยานครราชสีมาคนใหม่ออกไป พระยานครราชสีมาขี่ช้างออกไป (เดิมเห็นจะตั้งใจออกไปจับ) ครั้นถูกอ้ายบุญกว้างขู่ พระยานครราชสีมากลับครั่นคร้าม (คงเป็นเพราะพวกไพร่พลพากันเชื่อวิชาอ้ายบุญกว้าง) เห็นหนีไม่พ้นต้องยอมเป็นพรรคพวกอ้ายบุญกว้าง แล้วลวงให้ยกลงมาตั้งซ่องสุมผู้คนที่เมืองลพบุรี พระยานครราชสีมาเป็นไส้ศึกอยู่จนกองทัพกรุง ฯ ยกขึ้นไปถึง จึงจับตัวอ้ายบุญกว้างกับพรรคพวกได้
เห็นจะเป็นเพราะที่เกิดเหตุคราวนี้ ประกอบกับที่การรบในกรุง ฯ เป็นปกติสิ้นเสี้ยนหนามแล้ว จึงกลับตั้งกำลังทหารขึ้นที่เมืองนครราชสีมาดังแต่ก่อน ต่อมาปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า เจ้าเมืองหลวงพระบางยกกองทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ เมืองเวียงจันทน์ขอให้กรุงศรีอยุธยาช่วย จึงโปรดให้พระยาสระบุรีเป็นนายทัพหน้า ให้พระยานครราชสีมา (ซึ่งเข้าใจว่าตั้งใหม่อีก ๑ คน) เป็นแม่ทัพใหญ่ยกขึ้นไปช่วยเมืองเวียงจันทน์ กองทัพยกขึ้นไปถึง พวกเมืองหลวงพระบางก็ยำเกรง เลิกทัพกลับไป หาต้องรบพุ่งไม่ แต่นี้ไปก็ไม่ปรากฏเรื่องเมืองนครราชสีมาในหนังสือพระราชพงศาวดาร จนแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ เมื่อพม่ามาตีกรุงศรีอยุธยาครั้งหลัง ปรากฏว่าเกณฑ์ของกองทัพเมืองนครราชสีมาลงมาช่วยป้องกันรักษากรุง ฯ เดิมให้ตั้งค่ายอยู่ที่วัดเจดีย์แดงข้างใต้เพนียด แล้วให้พระยารัตนาธิเบศร์ คุมลงมารักษาเมืองธนบุรี ครั้นกองทัพพม่ายกมาจากเมืองสมุทรสงครามเมื่อเดือน ๑๐ ปีระกา พ.ศ. ๒๓๐๘ พระยารัตนาธิเบศร์หนีกลับขึ้นไปกรุงฯ พวกกองทัพเมืองนครราชสีมาเห็นนายทัพไม่ต่อสู้ข้าศึก ก็พากันกลับไปบ้านเมืองหาได้รบพุ่งกับพม่าไม่ต่อมาเมื่อพม่ากำลังตั้งล้อมพระนครศรีอยุธยา ในปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ มีเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองนครราชสีมาอีกตอนหนึ่ง เหตุด้วยกรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งเป็นโทษต้องเนรเทศไปอยู่ ณ เมืองจันทบุรี ชักชวนพวกชาวเมืองชายทะเลทางตะวันออกยกเป็นกองทัพมาหวังจะมารบพม่าแก้กรุงศรีอยุธยา กรมหมื่นเทพพิพิธมาถึงเมืองปราจีนบุรี ให้กองทัพหน้ามาตั้งปากน้ำโยธกา แขวงจังหวัดนครนายก พม่ายกไปตีกองทัพหน้าแตก กรมหมื่นเทพพิพิธ เห็นจะสู้พม่าไม่ได้ ก็เลยขึ้นไปทางแขวงเมืองนครราชสีมา ไปตั้งที่ด่านโคกพระยาพิบูลสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองนครนายก กับหลวงนรินทร์ (ซึ่งได้เข้าเป็นพวกกรมหมื่นเทพพิพิธ) ไปตั้งอยู่ที่เมืองนครจันทึกอีกพวกหนึ่ง กรมหมื่นเทพพิพิธคิดจะชักชวนพระยานครราชสีมาให้เกณฑ์กองทัพลงมารบพม่า แต่พระยานครราชสีมาคนนั้นเป็นอริอยู่กับพระพิบูลสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองนครนายก แต่งคนร้ายให้มาลอบฆ่าพระพิบูลสงครามกับหลวงนรินทร์เสีย กรมหมื่นเทพพิพิธจึงให้ลอบไปฆ่าพระยานครราชสีมาเสียบ้าง แล้วเข้าไปตั้งอยู่ในเมืองนครราชสีมา ขณะนั้นหลวงแพ่ง น้องพระยานครราชสีมาหนีไปอยู่เมืองพิมายไปเกณฑ์คนยกกองทัพมาจับกรมหมื่นเทพพิพิธไปคุมตัวไว้ที่เมืองพิมาย ครั้นกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึก เมื่อวันอังคารขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ สิ้นราชวงศ์ที่จะครองพระราชอาณาจักรบ้านเมืองเกิดเป็นจลาจล ผู้มีกำลังฝีมือหวังจะเป็นใหญ่ในประเทศไทยต่อไป ก็คิดตั้งเป็นเจ้ามีรวมด้วยกัน ๕ พรรคคือ
๑. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ลงไปตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองจันทบุรี มีหัวเมืองอยู่ในอำนาจตั้งแต่ชายแดนกรุงกัมพูชาขึ้นมาจนถึงเมืองชลบุรี และต่อมาถึงข้างขึ้นเดือน ๑๒ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้ยกกองทัพขึ้นมาโจมตีทหารพม่าซึ่งรักษาอยู่ที่เมืองธนบุรี กับค่ายโพธิ์สามต้นที่พระนครศรีอยุธยา พม่าพ่ายแพ้จนหมดสิ้น แล้วปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ตั้งแต่งเมืองธนบุรีเป็นราชธานี
๒. เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองพิษณุโลกมีอำนาจปกครองตั้งแต่เมืองพิชัยลงมาถึงเมืองนครสวรรค์
๓. พระสังฆราชา (เรือน) อยู่ที่วัดพระฝาง เมืองสวางคบุรี (ปัจจุบันเป็นอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์) ตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นทั้งยังอยู่ในสมณเพศ เรียกกันว่าพระฝาง มีอำนาจปกครองหัวเมืองที่อยู่ข้างเหนือเมืองพิชัย และติดต่อกับแดนเมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองหลวงพระบาง
๔. พระปลัด (เข้าใจกันว่าชื่อหนู) ผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองนครศรีธรรมราช เรียกกันว่า เจ้านคร มีอำนาจปกครองหัวเมืองที่ติดต่อกับชายแดนมลายูขึ้นมาจนถึงเมืองชุมพร
๕. กรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งพระยาพิมายคุมไว้ที่เมืองพิมาย และยกขึ้นเป็นใหญ่ ณ เมืองนั้น เรียกว่าเจ้าพิมาย มีอำนาจปกครองตลอดอาณาเขตของนครราชสีมา เช่น เมืองจันทึก ปักธงชัย บุรีรัมย์
พุทไธสง ชัยภูมิ และภูเขียว เป็นต้น
สมัยกรุงธนบุรี
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึกในวันอังคารขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ สิ้นพระราชวงศ์ที่จะปกครองพระราชอาณาจักร บ้านเมืองเกิดเป็นจลาจล ผู้มีกำลังฝีมือหวังจะเป็นใหญ่ในประเทศไทยต่อไปก็คิดตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้า มีรวมด้วยกัน ๕ ชุมนุม คือ
ชุมนุมที่ ๑ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ลงไปตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองจันทบุรี มีหัวเมืองอยู่ในอำนาจตั้งแต่ชายแดนกรุงกัมพูชา ขึ้นมาจนถึงเมืองชลบุรี เมื่อถึงข้างขึ้น เดือน ๑๒ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้ยกกองทัพเรือขึ้นมาโจมตีทหารพม่า ซึ่งรักษาอยู่ที่เมืองธนบุรีกับค่ายโพธิ์สามต้นที่พระนครศรีอยุธยา พม่าพ่ายแพ้จนหมดสิ้น แล้วปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานี
ชุมนุมที่ ๒ เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองพิษณุโลก มีอำนาจปกครองตั้งแต่เมืองพิชัยลงมาจนถึงเมืองนครสวรรค์
ชุมนุมที่ ๓ พระสังฆราชา (เรือน) อยู่ที่วัดพระฝางเมืองสวางคบุรี (ปัจจุบันเป็นอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์) ตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นเรียกว่า เจ้าพระฝาง มีอำนาจปกครองหัวเมืองที่อยู่เหนือเมืองพิชัยและติดต่อกับแพร่ น่าน หลวงพระบาง
ชุมนุมที่ ๔ พระปลัด (เข้าใจกันว่าชื่อหนู) ผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองนครศรีธรรมราชเรียกกันว่าเจ้านคร มีอำนาจปกครองหัวเมืองที่ติดต่อกับชายแดนมลายูขึ้นมาจนเมืองชุมพร
ชุมนุมที่ ๕ กรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งพระพิมายคุมไว้ที่เมืองพิมาย และยกขึ้นเป็นใหญ่ ณ ที่เมืองนั้น เรียกว่าเจ้าพิมาย มีอำนาจปกครองตลอดอาณาเขตของนครราชสีมา เช่น เมืองจันทึก ปักธงชัย บุรีรัมย์ พุทไธสง ชัยภูมิ และภูเขียว เป็นต้น
เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีชัยขับไล่พวกพม่าไปจากพระนครศรีอยุธยา และมาตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานีเรียบร้อยแล้วก็ทรงเริ่มปราบปรามชุมนุมอิสระทั้ง ๔ ดังกล่าวมาโดยยกกองทัพไปตีเมืองพิษณุโลก เมื่อฤดูน้ำ ปีชวด พ.ศ. ๒๓๑๑ แต่ไปถูกอาวุธข้าศึกต้องล่าถอยกลับมา พอมาถึงฤดูแล้งในปีชวดนั้น ก็ยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองนครราชสีมา กองทัพกรุงธนบรีที่ยกไปครั้งนี้แบ่งเป็น ๒ กองทัพ กองทัพที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จคุมไปเอง ยกขึ้นไปทางดงพระยาไฟเข้าตีทางด้านตะวันตกทางหนึ่ง ให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระราชวรินทร์ กับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสรุสิงหนาท เมื่อยังเป็นพระมหามนตรีคุมกองทัพขึ้นไปทางช่องเรือแตก (เข้าใจว่าช่องสะแกราช) เข้าตีทางด้านใต้ทางหนึ่ง ฝ่ายเจ้าพิมายให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (คือพระพิมาย) เป็นแม่ทัพใหญ่ ให้มองย่าปลัดทัพพม่าที่หนีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปจากพระนครศรีอยุธยาเป็นที่ปรึกษา คุมกองทัพมาต่อสู้รักษาเขตแดน ครั้งนั้นกำลังรี้พลของเจ้าพิมายเห็นจะมีน้อยไม่พอรักษาป้อมปราการเอาเมืองนครราชสีมาเป็นที่มั่น จึงปรากฏว่ากองทัพเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์มาตั้งค่ายสกัดทางอยู่ที่ด่านจอหอ ข้างเหนือเมืองนครราชสีมาแห่งหนึ่งแล้วให้บุตรซึ่งเป็นที่พระยาวรวงศาธิราชคุมกองทัพมาตั้งค่ายสกัดทางอยู่ที่ด่านกระโทก (เวลานี้คือ อำเภอโชคชัย) ข้างใต้เมืองนครราชสีมาอีกแห่งหนึ่ง กองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตีได้ด่านจอหอ จับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้ กองทัพพระมหามนตรีและพระราชวรินทร์ตีค่ายด่านกระโทกแตก พระยาวรวงศาธิราชหนีไปทางเมืองเขมรต่ำ กองทัพพระมหามนตรีกับพระราชวรินทร์ตามไปตีได้เมืองเสียมราฐอีกเมืองหนึ่ง เจ้าพิมายรู้ว่ากองทัพเสียทีก็หลบหนีหมายจะไปอาศัยเมืองเวียงจันทน์ แต่ขุนชนะกรมการเมืองนครราชสีมาตามจับมาถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบรีได้ จึงทรงตั้งให้ขุนชนะเป็นพระยานครราชสีมา (ต้นสกุลกาญจนาคม) แต่นั้นก็ได้เมืองนครราชสีมามาเป็นเมืองขึ้นกรุงธนบุรี แต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียังต้องทำการปราบปรามพวกที่ตั้งเป็นอิสระอื่น ๆ เมื่อปราบปรามได้หมดแล้วยังต้องรบกับพม่า ต่อมาอีกหลายปีจึงมิได้จัดวางรูปการปกครองเมืองนครราชสีมาให้เป็นเขื่อนขัณฑ์มั่งคง เพราะเหตุนั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๘ เวลากรุงธนบุรีกำลังติดพันรบพุ่งกับพม่า คราวอะแซหวุ่นกี้มาตีเมืองเหนือ พระยานางรอง เจ้าเมืองนางรอง อันเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา ไม่ชอบกับพระยานครราชสีมาแต่เดิม เห็นได้ทีจึงเอาเมืองไปขอขึ้นต่อเจ้าโอ ซึ่งครองเมืองจำปาศักดิ์เป็นอิสระอยู่ในสมัยนั้น ฝ่ายเจ้าโอคาดว่าไทยคงสู้พม่าไม่ได้ก็รับไว้ พระยานางรองก็ตั้งแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นต่อเมืองนครราชสีมา ครั้นพม่าถอยทัพไปแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระยาจักรี เสด็จไปปราบปรามเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๙ เจ้าพระยาจักรียกกองทัพไปยังเมืองนครราชสีมา แล้วให้กองหน้าไปจับได้ตัวพระยานางรองมาชำระความจึงทราบว่าเจ้าเมืองจำปาศักดิ์กำลังเตรียมกองทัพ จึงบอกเข้ามายังกรุงธนบุรีจะขอไปตีเมืองจำปาศักดิ์ต่อไป สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหา
สุรสิงหนาท เมื่อยังดำรงยศเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพหนุนเข้าไปอีกทัพหนึ่ง เจ้าพระยาทั้งสองยกกองทัพไปตีได้เมืองนครจำปาศักดิ์และหัวเมืองทางฟาก แม่น้ำโขงฝั่งซ้ายจนถึงเมืองอัตบือ ได้หัวเมืองทางริมแม่น้ำโขงข้างใต้ตลอดจนต่อแดนกรุงกัมพูชา ซึ่งเวลานั้นเป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงธนบุรีอยู่ ได้ไปเกลี้ยกล่อมหัวเมืองเขมรป่าดง คือ เมืองตะลุง เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ ก็ยอมสวามิภักดิ์ขึ้นต่อไทยทั้ง ๓ เมือง ในครั้งนั้นราชอาณาเขตกรุงธนบุรีขยายต่อออกไปตลอดแผ่นดินสูงในตอนข้างฝ่ายใต้ เมืองนครราชสีมาได้ปกครองบังคับบัญชาเหล่าหัวเมืองที่ได้ใหม่ เมืองนครราชสีมาจึงเป็นเมืองสำคัญยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่ ๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ทรงจัดการปกครองหัวเมืองทางแผ่นดินสูงตอนริมแม่น้ำโขงเป็นประเทศราช ๓ เมือง คือ เมืองเวียงจันทร์ เมืองนครพนม และเมืองนครจำปาศักดิ์ ให้เมืองนครราชสีมาปกครองเมืองเขมรป่าดงและหัวเมืองดอนที่ไม่ได้ขึ้นต่อประเทศราชทั้ง ๓ นั้น และกำกับตรวจตราเมืองประเทศราชเหล่านั้นด้วย แล้วยกฐานะเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองชั้นเอก ผู้สำเร็จราชการเมืองมียศเป็นเจ้าพระยา เจ้าพระนครราชสีมาคนแรก ชื่อเดิมคือ ปิ่น ณ ราชสีมา และในรัชกาลนี้ เมืองนครราชสีมาได้นำช้างเผือก ๒ เชือก ที่คล้องได้ในเขตเมืองภูเขียวขึ้นน้อมเกล้าถวายและได้โปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นระวางเป็นพระอินทรไอยรา และ พระเทพกุญชรช้าง ซึ่งเสาที่ผูกช้างเผือกเมื่อส่งเข้าเมืองนครราชสีมายังคงเก็บรักษาไว้ในศาลเจ้าพ่อช้างเผือก อยู่ริมถนนมิตรภาพ ตรงข้ามโรงเรียนสุรนารีวิทยา
รัชกาลที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๓๖๒ มีข่าคนหนึ่งชื่อ อ้ายสาเกียดโง้ง ตั้งตัวเป็นผู้วิเศษขึ้นที่เมืองสาลวันทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมรวบสมัครพรรคพวกได้หลายพัน ยกทัพมาตีเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ (หมาน้อย) สู้ไม่ได้ต้องทิ้งเมืองหนีมา รัชกาลที่ ๒ จึงให้พระยานครราชสีมายกกองทัพออกไปปราบปราม และสั่งเจ้าอนุแต่งกองทัพเมืองเวียงจันทน์ลงมาช่วยปราบปรามด้วยอีกพวกหนึ่ง เจ้าอนุจึงให้ราชบุตร (โย้) ซึ่งเป็นบุตรคุมกองทัพไปถึงเมืองจำปาศักดิ์ก่อนกองทัพเจ้าพระยานครราชสีมา เจ้าราชบุตรรบชนะพวกขบถจับได้ตัวอ้ายสาเกียดโง้งกับพรรคพวกเป็นอันมาก ส่งเข้ามาถวายยังกรุงเทพฯ เมื่อเสร็จจากการปราบขบถครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งเจ้าราชบุตร (โย้) ให้เป็นเจ้าครองนครจำปาศักดิ์ และทรงไว้วางพระราชหฤทัยในเจ้าอนุ เจ้าอนุจึงมีอำนาจตลอดลำแม่น้ำโขงลงมาจนถึงฝ่ายใต้
รัชกาลที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๖๕ เจ้าพระยากำแหงสงครามรามภักดี ซึ่งเป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา ได้กราบบังคมทูลให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ขุนภักดีชุมพล (แล) เป็นเจ้าเมืองชัยภูมิ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๙ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุรุทธราช (เจ้าอนุวงศ์) ผู้ครองนครเวียงจันทน์ได้ขอครอบครัวลาวที่เมืองสระบุรีซึ่งถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์ ในคราวสงครามครั้งที่ได้พระพุทธปฏิมากรแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ ณ กรุงธนบุรีนั้น เมื่อไม่ได้ดังประสงค์ก็ก่อการกบฏโดยยกกองทัพจะลงมาตีกรุงเทพมหานคร เมื่อเจ้าอนุยกกองทัพมาถึงเมืองนครราชสีมาและเข้าโจมตีเมืองนั้น พระยาปลัด (พระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ทศทิศวิชัย) ผู้รักษาเมืองไม่อยู่ เพราะไปปราบการจราจลที่เมืองขุขันธ์ กองทหารของเจ้าอนุจึงตีเมืองนครราชสีมาได้โดยง่ายและกวาดต้อนกรมการเมือง ตลอดจนพลเมืองทั้งชายหญิงไปเป็นเชลย เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๓๖๙ ในระหว่างการเดินทางคุณหญิงโมภรรยาพระปลัดได้คิดอุบายกับกรมการเมืองให้ชาวบ้านเชื่อฟังทหารผู้ควบคุม แกล้งทำกลัวเกรงและประจบเอาใจจนทหารของเจ้าอนุตลอดจนเพี้ยรามพิชัย ซึ่งเป็นผู้ควบคุมให้ความไว้วางใจและพยายามถ่วงเวลาในการเดินทาง แล้วลอบส่งข่าวถึงเจ้าเมืองนครราชสีมา เจ้าพระยากำแหงสงครามรามภักดี (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) และพระยาปลัด จนกระทั่งเดินทางมาถึงทุ่งสัมฤทธิ์แขวงเมืองพิมาย ได้พักตั้งค่ายค้างคืนอยู่ ณ ที่นั้น คุณหญิงโมได้ออกอุบายให้ชาวเมืองนำอาหารและสุราไปเลี้ยงดูผู้ควบคุมอย่างเต็มที่ จนทหารต่างก็เมามายไม่ได้สติ หมดความระมัดระวัง พอตกดึกก็พร้อมกันจับอาวุธไล่ฆ่าทหารเวียงจันทน์ตายเป็นจำนวนมาก แล้วหาชัยภูมิตั้งมั่นอยู่ ณ ที่นั้น เจ้าอนุทราบข่าวก็ให้เจ้าสุทธิสาร (โป้) บุตรคนใหญ่คุมกำลังทหารเดินเท้าประมาณ ๓,๒๐๐ คน และทหารม้าประมาณ ๔,๐๐๐ คน รีบรุดมาทำการปราบปรามทำการต่อสู้รบกันถึงตลุมบอน แต่คุณหญิงโมก็จัดขบวนทัพ กรมการผู้ใหญ่คุมพลผู้ชาย ตัวคุณหญิงโมคุมพลผู้หญิงออกตีกองทัพพวกเวียงจันทน์แตกยับเยิน พอดีเจ้าอนุได้ข่าวว่ากองทัพจากกรุงเทพฯ ยกขึ้นมาช่วยชาวเมืองนครราชสีมา จึงต้องรีบถอนกำลังออกจากเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๓๖๙ วีรกรรมที่คุณหญิงโมได้ประกอบขึ้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์ครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาคุณหญิงโมดำรงฐานันดรศักดิ์ เป็นท้าวสุรนารี และพระราชทานเครื่องยศทองคำประดับเกียรติ ดังนี้
- ถาดทองคำใส่เชี่ยนหมาก ๑ ใบ
- จอกหมากทองคำ ๑ คู่
- ตลับทองคำ ๓ เถา
- เต้าปูนทองคำ ๑ อัน
- คณโฑทองคำ ๑ ใบ
- ขันน้ำทองคำ ๑ ใบ
ในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ กองทัพนครราชสีมาได้เป็นกำลังสำคัญในการทำสงครามกับญวนในดินแดนเขมร เพื่อขับไล่ญวนออกจากเขมร เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) ได้ร่วมกับเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ทำการรบด้วยความสามารถ
ปี พ.ศ. ๒๓๗๗ เจ้าพระยานครราชสีมาได้นำช้างพลายเผือกหางดำขึ้นน้อมเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโปรดเกล้า ฯ ให้สมโภชขึ้นระวางเป็น พระยามงคลนาดินทร์
ปี พ.ศ. ๒๓๘๐ โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยานครราชสีมาทำนุบำรุงเมืองพระตะบองให้มั่นคงแข็งแรงยิ่งขึ้น โดยนำชาวเมืองนครราชสีมาจำนวน ๒,๐๐๐ คน ไปปฎิบัติงานด้วยความเรียบร้อย
ปี พ.ศ. ๒๓๘๓ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) พร้อมด้วยบุตร (พระยาภักดีนุชิต) คุมกำลังพลไปปรามกบฏนักองค์อิ่มที่เมืองพระตะบอง เพราะนักองค์อิ่มได้ปกครองเมืองพระตะบองแทนพระยาอภัยภูเบศร์ แล้วคิดกบฏไปฝักใฝ่กับญวณ โดยจับกุมกรรมการเมืองพระตะบอง รวมทั้งน้องชายของเจ้าพระยานครราชสีมา (พระยาราชานุชิต) และกวาดต้อนครอบครัวหนีไป ทัพจากนครราชสีมาขับเคี่ยวจนถึงปี พ.ศ. ๒๓๘๖ เจ้าพระยานครราชสีมาได้ล้มป่วยจึงกลับมาพักรักษาตัวที่เมืองนครราชสีมา ทำให้การรบยืดเยื้อต่อไปอีกซึ่งการทำสงครามกับญวนนี้เมืองนครราชสีมาเป็นกำลังสำคัญของราชการทัพมาโดยตลอด
ปี พ.ศ. ๒๓๘๗ เมืองนครราชสีมาได้นำช้างพลาย ๓ เชือก น้อมเกล้าถวายรัชกาลที่ ๓ คือ พลายบาน พลายเยียว พลายแลม
ปี พ.ศ. ๒๓๘๘ ได้นำช้างพลาย ๒ เชือก น้อมเกล้าถวายรัชกาลที่ ๓ อีกครั้ง คือ พลาย
อุเทน และพลายสาร
รัชกาลที่ ๔ เมืองนครราชสีมามีความเจริญมากขึ้น เป็นศูนย์กลางการค้าขายของหัวเมืองทางตะวันออก เพราะมีสินค้าที่พ่อค้าต้องการมาก เช่น หนังสัตว์ เขาสัตว์ นอแรด งา และไหม พวกพ่อค้าเดินทางมาซื้อสินค้าเหล่านี้แล้วส่งไปจำหน่ายที่กรุงเทพฯ และซื้อสินค้าจากกรุงเทพฯ มาจำหน่ายในหัวเมืองตะวันออกโดยตลาดกลางอยู่ที่เมืองนครราชสีมา
ในรัชกาลนี้ ทรงปรารภว่าควรจะมีราชธานีห่างทะเลไว้อีกสัก ๑ แห่ง ทรงพระราชดำริว่าควรเป็นเมืองนครราชสีมา จึงโปรดเกล้าให้พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นไปทรงตรวจภูมิประเทศพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหมเมื่อได้ทรงตรวจพิจารณาแล้วทรงเห็นว่ายังไม่เหมาะสม เพราะเมืองนครราชสีมาอัตคัตน้ำและการคมนาคมก็ยังลำบาก รัชกาลที่ ๔ จึงทรงเปลี่ยนพระทัยมาสร้างพระราชวังที่เมืองลพบุรีแทน และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกราบทูลขอให้เปลี่ยนนามการเรียกดงพระยาไฟเสียใหม่ว่าดงพระยาเย็น เพื่อไม่ให้คนครั่นคร้ามหรือไม่กล้าเดินทางผ่านเข้าไป
รัชกาลที่ ๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๑๗ พวกฮ่อได้เข้ามารุกรานเมืองหนองคายหลายครั้ง และเมืองนครราชสีมาก็เป็นกำลังสำคัญในการจัดกำลังทัพไปปราบฮ่อ
ส่วนวิธีการปกครองเมืองนครราชสีมา ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อ ร.ศ. ๑๑๐ (พ.ศ. ๒๔๓๔) โดยโปรดฯ ให้รวบรวมหัวเมืองในเขตที่ราบสูงเป็น ๓ มณฑล คือ
๑. มณฑลลาวพวน มี เมืองหนองคายเป็นที่ว่าการมณฑล
๒. มณฑลลาวกาว มี เมืองนครจำปาศักดิ์เป็นที่ว่าการมณฑล
๓. มณฑลลาวกลาง มี เมืองนครราชสีมาเป็นที่ว่าการมณฑล
สำหรับมณฑลลาวกลางนั้นมีกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงใหญ่ ต่อมาเมื่อได้
จัดหัวเมืองเป็นมณฑลเทศาภิบาบทั่วทั้งพระราชอาณาเขต ให้เปลี่ยนนามมณฑลทั้ง ๓ เสียใหม่ คือ มณฑลลาวพวน เป็น มณฑลอุดร , มณฑลลาวกาว เป็น มณฑลร้อยเอ็ด และมณฑลอุบล มณฑลลาวกลาง เป็นมณฑลนครราชสีมา
ในด้านการคมนาคม ได้มีการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา ใน พ.ศ. ๒๔๓๔ ซึ่งเป็นทางรถไฟของรัฐบาลสายแรก และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเปิดทางรถไฟเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเมืองนครราชสีมาจนเท่าทุกวันนี้
เหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเมืองนครราชสีมาในรัชกาลนี้คือในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมงกุฏราชกุมาร ได้เสด็จตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา และต่อมาได้มีการทดลองการเกณฑ์ทหารแบบใหม่ที่มณฑลนครราชสีมาเป็นแห่งแรก ปรากฏว่าได้ผลดีจึงขยายไปยังมณฑลอื่น ๆ
รัชกาลที่ ๖ ใน พ.ศ. ๒๔๕๖ สมเด็จพระพันปีหลวง (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) เสด็จกรมทหารม้าที่ ๕ ที่มณฑลนครราชสีมา และทรงรับตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษกรมทหารม้าที่ ๕ มณฑลนครราชสีมา
ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต
เสนาธิการทหารบก เสด็จตรวจราชการทหารที่มณฑลนครราชสีมา
รัชกาลที่ ๗ ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ หลังจากเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้วได้ยกเลิกการจัดทำเมืองมณฑลเทศาภิบาลและจัดใหม่เป็นภาค มณฑลนครราชสีมาเปลี่ยนเป็นภาคที่ ๓ มีหัวเมืองอยู่ในความปกครอง ๖ จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งที่ว่าการอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้เกิดกบฏบวรเดช โดยมีพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชอดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหมเป็นหัวหน้า ได้ทำการยึดนครราชสีมาเป็นกองบัญชาการ เพื่อรวบรวมกำลังพลในการที่จะเข้ายึดพระนครเพื่อบังคับให้คณะรัฐบาลของพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาลาออก ในการก่อการกบฏครั้งนี้ข้าราชการเมืองนครราชสีมาส่วนหนึ่งถูกควบคุมตัวไว้ ส่วนประชาชนถูก
หลอกลวงว่าได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในพระนคร ทหารจึงจำเป็นต้องไประงับเหตุการณ์ ต่อเมื่อได้ทราบแถลงการณ์จากรัฐบาล จึงเข้าใจว่าการกระทำของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นกบฏ ดังนั้นข้าราชการที่ถูกคุมขังจึงพยายามหลบหนีจากที่คุมขังแล้วรวมกำลังเข้ายึดสถานที่สำคัญเพื่อร่วมมือกับทางรัฐบาล ในการปราบปรามกบฏ
ทางรัฐบาลได้มอบหมายให้ พันโท หลวงพิบูลสงครามเป็นผู้บังคับการในการปราบปรามกบฏครั้งนี้และทำได้สำเร็จ หัวหน้ากบฏได้หลบหนีเอาตัวรอดไปอยู่ที่ไซ่ง่อน ในวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖
รัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยี่ยมพสกนิกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งแรก และได้ประทับแรมที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ
พ.ศ. ๒๔๙๘ และได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมพสกนิกรชาวเมืองนครราชสีมาอีกหลายครั้ง เช่น เสด็จทอดพระเนตรการเรียนการสอนหลักสูตรมัธยมแบบประสมที่โรงเรียนสุรนารีวิทยา , เสด็จทำพิธีเปิดอาคารเรียนโรงเรียนบุญวัฒนา เป็นต้น ยังความปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาวนครราชสีมาเป็นล้นพ้น
สมัยการจัดรูปการปกครองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
การจัดรูปการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล คือการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้นในส่วนภูมิภาค
สมัยสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงจัดให้อำนาจการปกครองซึ่งกระจัดกระจายอยู่เข้ามารวมอยู่ยังจุดเดียวกัน โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวง คือมิให้การบังคับบัญชาไปอยู่ที่เจ้าเมืองเพียงคนเดียว (ซึ่งเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมือง และมีอำนาจอย่างกว้างขวาง)
ระบอบการปกครองแบบเทศาภิบาล เริ่มจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๗ และ สำเร็จทั่วประเทศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ โดยมีความจำเป็นมาดังนี้
วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงแบ่งหน้าที่ระหว่างมหาดไทยและกลาโหมเสียใหม่ โดยให้มหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวง จึงรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑล (ยังไม่เป็นระบอบมณฑลเทศาภิบาล) มีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครองมณฑล จัดตั้งครั้งแรกมี ๖ มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียง (หรือมณฑลพายัพ) มณฑลลาวพวน (หรือมณฑลอุดร) มณฑลลาวกาว (หรือมณฑลอีสาน) มณฑลเขมร (หรือมณฑลบูรพา) มณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตกบัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต
พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็นปีแรกที่ได้วางแผนจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้มีมณฑลเทศาภิบาลขึ้นทั้งสิ้น 3 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี และมณฑลนครราชสีมา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพจากมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ได้สำเร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัด และอำเภอ และยกเลิกมณฑล จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร
พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมีสาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลง คือ
๑. จังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล
๒. อำนาจบริหารในจังหวัด เป็นของผู้ว่าราชการจังหวัด
๓. คณะกรมการจังหวัด เดิมเป็นคณะบุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการ
แผ่นดินในจังหวัดได้กลายเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมา ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕ ได้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด และอำเภอ
จังหวัดให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น
ปัจจุบัน จังหวัดนครราชสีมาแบ่งการปกครองออกเป็น ๒๐ อำเภอ กับ ๒ กิ่งอำเภอ คือ
๑. อำเภอเมืองนครราชสีมา ๒. อำเภอโชคชัย
๓. อำเภอครบุรี ๔. อำเภอเสิงสาง
๕. อำเภอปักธงชัย ๖. อำเภอปากช่อง
๗. อำเภอสีคิ้ว ๘. อำเภอด่านขุนทด
๙. อำเภอสูงเนิน ๑๐. อำเภอขามทะเลสอ
๑๑. อำเภอโนนไทย ๑๒. อำเภอขามสะแกแสง
๑๓. อำเภอโนนสูง ๑๔. อำเภอบัวใหญ่
๑๕. อำเภอประทาย ๑๖. อำเภอคง
๑๗. อำเภอพิมาย ๑๘. อำเภอห้วยแถลง
๑๙. อำเภอจักราช ๒๐. อำเภอชุมพวง
๒๑. กิ่งอำเภอบ้านเหลื่อม ๒๒. กิ่งอำเภอหนองบุนนาก
ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดนครราชสีมา . นครราชสีมา : หจก.นิวสมบูรณ์การพิมพ์ , ๒๕๒๖ .
จังหวัดนครราชสีมา เป็นเมืองเก่าแก่เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่ในสมัยขอมในสมัยโบราณเป็นเมืองชั้น "เจ้าพระยามหานคร" ในปัจจุบันก็ยังคงมีความสำคัญ กล่าวคือ เป็นปากประตูสู่ภาคอีสาน และเป็นชุมทางคมนาคมสู่จังหวัดต่าง ๆ ทั้ง ๑๖ จังหวัดในภาคอีสานอีกด้วย
นครราชสีมา เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่งในอาณาจักรไทย เดิมทีเดียวตัวเมืองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในท้องที่อำเภอสูงเนิน ห่างจากตัวเมืองปัจจุบันประมาณ ๓๑ กิโลเมตร มีเมืองอยู่ ๒ เมือง คือเมือง "โคราช" หรือ "โคราฆะปุระ" กับเมือง "เสมา" ทั้ง ๒ เมืองโบราณดังกล่าวเคยเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยขอม ปัจจุบันเป็นเมืองร้างตั้งอยู่ริมฝั่งลำตะคอง
เมืองเสมา ตั้งอยู่ฝั่งใต้ลำตะคอง มีเนินดินกำแพงเมืองและคูเมืองทั้ง ๔ ด้านตัวกำแพงสร้างด้วยแลง ยังมีเหลือซากอยู่บ้าง ภายในเมืองมีสระและบึงใหญ่น้อยอาศัยใช้น้ำได้ตลอดปี มีโบราณวัตถุสมัยทวารวดีขนาดใหญ่แสดงอายุของเมืองนี้ ๒ อย่าง คือ พระพุทธรูปทำด้วยศิลา เล่ากันว่าแต่แรกตั้งยืนอยู่โดดเดี่ยว แล้วถูกฉุดลากล้มลงแตกหักยับเยิน ต่อมามีผู้เกิดความสังเวช เก็บรวมประกอบเป็นองค์พระวางนอนไว้ จึงเรียกกันว่าเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ไป อีกอย่างเป็นธรรมจักรศิลาขนาดวัดผ่าศูนย์กลางราว ๑.๕๐ เมตร เวลานี้ประดิษฐานอยู่ที่วัดคลองขวาง ตำบลเสมา ห่างจากถนนมิตรภาพประมาณ ๙-๑๐ กิโลเมตร
เมืองโคราฆะปุระ ตั้งอยู่ทางฝั่งเหนือลำตะคอง ในตำบลโคราช ห่างจากเมืองเสมา ไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๖ กิโลเมตร หรือห่างจากที่ว่าการอำเภอสูงเนินไปราว ๒-๓ กิโลเมตร ในบริเวณเมืองมีปราสาทหินย่อม ๆ ๒-๓ แห่ง แห่งหนึ่งเคยตรวจพบศิวลึงค์ศิลา ขนาดยาว .๙๒/ .๒๘ เมตร กับศิลาทับหลังประตูจำหลักลายเป็นรูปพระอิศวรประทับยืนบนหลังโคอุศุภราช จึงน่าเชื่อว่าปราสาทหินหลังนี้อาจสร้างเป็นเทวสถานฝ่ายนิกายไศวะ เมืองนี้ในสมัยหนึ่งคงเป็นเมืองสำคัญ ตั้งรักษาเส้นทางที่ลงมายังแผ่นดินต่ำทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรี เพราะอยู่ในที่ร่วมของเส้นทางเดินทางช่องดงพระยาไฟกับดงพระยากลาง
ที่หน้าอำเภอสูงเนินมีศิลาจารึกเป็นภาษาสันสฤตกับภาษาขอมแผ่นหนึ่งหักเป็น ๒ ท่อน เดิมอยู่ที่หมู่บ้านบ่ออีกาในเขตเมืองเสมา เป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันอายุของเมืองในอำเภอสูงเนิน เนื้อความในจารึกเล่าถึงพระเจ้าศรีจนาศ (หรือ ศรีจนาเศศวร) ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระภิกษุสงฆ์ เมื่อ พ.ศ. ๑๔๑๑
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
เมื่อราว พ.ศ. ๑๘๐๐ เศษ พ่อขุนรามคำแหงได้เสวยสิริราชสมบัติกรุงสุโขทัยมีอานุภาพมาก แผ่ราชอาณาเขตกว้างขวาง ดังปรากฏในศิลาจารึกแสดงเขตอาณาจักรสุโขทัยสมัยนั้นว่าทิศเหนือตั้งแต่เมืองแพร่ เมืองน่าน ตลอดถึงแม่น้ำโขง ทางทิศตะวันตกตลอดเมืองหงสาวดี ทางทิศใต้ตลอดแหลมมลายู แต่ทางทิศตะวันออกบอกเขตแดนทางแผ่นดินสูงเพียงตอนเหนือราวท้องที่จังหวัดอุดรธานี เลย และหนองคาย ไปถึงเวียงจันทน์ เวียงคำเป็นที่สุดไม่ปรากฏชื่อเมืองทางแผ่นดินสูงตอนใต้ กับทั้งทางแผ่นดินต่ำลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีเช่น เมืองลพบุรี เมืองอยุธยา ปราจีนบุรี เป็นต้น โดยเหตุนี้จึงมีคำสันนิษฐานเกิดขึ้นว่าดินแดนเหล่านี้เป็นอาณาจักรของขอมซึ่งมีกำลังแข็งแรงกว่าอาณาจักรสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงจึงไม่อาจแผ่เดชานุภาพเข้ามา แต่เท่าที่ได้สังเกตศึกษาทั้งทางด้านศิลปและตำนานสงสัยว่าดินแดนเหล่านี้หาได้อยู่ในความปกครองของพวกขอมไม่ หากแต่อยู่ในอำนาจของอาณาจักรไทยพวกหนึ่งซึ่งมีราชธานี เรียกว่า กรุงอโยธยา เป็นอาณาจักรที่มีมาตั้งแต่ราวพุทธศวรรษที่ ๑๖ และสิ่งสำคัญเป็นหลักฐานของอาณาจักรนี้ ก็คือศิลปกรรมอู่ทอง (หรือลพบุรีตอนต้น) อันมีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับศิลปกรรมของขอมอยู่มาจนกระทั่งถูกเข้าใจคลุม ๆ ไปว่าเป็นประดิษฐกรรมของพวกขอมเสียเกือบหมดสิ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งโบราณวัตถุจำพวกหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์เข้าใจว่าจะไม่สันทัดถนัดทำเลย) อาณาจักรอโยธยาคงจะรุ่งเรืองยิ่งใหญ่ทั้งอำนาจและศิลปศาสตร์ จึงปรากฏในพงศาวดารทางลานนาประเทศว่า พ่อขุนรามคำแหงกับพ่อขุนงำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา ขณะยังเยาว์วัยต้องลงมาศึกษาวิชาการ ณ เมืองละโว้ (ลพบุรี) ในแว่นแคว้นนี้ถึงแม้ประเทศกัมพูชาอันมีพระนครหลวง เป็นราชธานีก็คงตกอยู่ในความปกครองระยะหนึ่งระยะใดในระหว่างพุทธศวรรษที่ ๑๙ เพราะตอนปลายพุทธศตวรรษนั้น เมื่ออาณาจักรอโยธยาเปลี่ยนผู้สืบสันติวงศ์ใหม่เป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ จึงเกิดขอมแปรพักตร์ขึ้น ถึงกับต้องกรีธาทัพไปกำราบปราบปราม เวลานี้เรื่องราวของอาณาจักรอโยธยายังมืดมัวอยู่ แต่วัตถุพยานชี้ร่องรอยชวนให้ศึกษาค้นคว้ามีประจักษ์อยู่ คือ พระเศียรพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ซึ่งขุดพบที่วัดธรรมิกราชขนาดใหญ่ที่ เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา กับพระพุทธตรัยรัตนนายก วัดพนัญเชิง ซึ่งมีมาก่อนสร้างพระนครศรีอยุธยา พระเศียรพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ที่วัดเดิม อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมารวมทั้งโบราณวัตถุสถานแบบอู่ทองที่มีอยู่ในพระนครหลวงประเทศกัมพูชา เช่นที่ปราสาทหินเทพประณม ปราสาทหินนครวัด ตลอดจนศิลาจำหลักบางชิ้นในพิพิธภัณฑสถานกรุงพนมเปญ อันเป็นของเคลื่อนย้ายไปจากกลุ่มปราสาทหินบรรยงก์เป็นต้น
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) โปรดให้สร้างเมืองสำคัญที่อยู่ชายแดนให้มีป้อมปราการ สำหรับป้องกันรักษาราชอาณาจักรหลายเมือง เช่นนครศรีธรรมราช พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เป็นต้น จึงให้ย้ายเมืองที่ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน มาสร้างเป็นเมืองมีป้อมปราการและคูล้อมรอบขึ้นใหม่ ในที่ซึ่งอยู่ในปัจจุบันนี้ แล้วเอานามเมืองเดิมทั้งสอง คือ เมืองเสมา กับ เมืองโคราฆะปุระ มาผูกเป็นนามเมืองใหม่ เรียกว่า เมืองนครราชสีมา แต่คนทั้งหลายคงยังเรียกชื่อเมืองเดิมติดปากอยู่ จึงมักเรียกกันทั่วไปว่า เมืองโคราช เมืองนี้กำแพงก่อด้วยอิฐมีใบเสมาเรียงรายตลอดมีป้อมตามกำแพงเมือง ๑๕ ป้อม ประตู ๔ ประตู สร้างด้วยศิลาแลงมีชื่อดังต่อไปนี้
ทางทิศเหนือ ชื่อประตูพลแสน นัยหนึ่งเรียกประตูน้ำ
ทางทิศใต้ ชื่อประตูไชยณรงค์ นัยหนึ่งเรียกประตูผี
ทางทิศตะวันออก ชื่อประตูพลล้าน นัยหนึ่งเรียกประตูตะวันออก
ทางทิศตะวันตก ชื่อประตูชุมพล
ประตูเมืองทั้ง ๔ แห่งนี้มีหอรักษาการอยู่ข้างบนทำเป็นรูปเรือน (คฤห) หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าใบระกาเหมือนกันทุกแห่ง แต่ปัจจุบันคงเหลือรักษาไว้เป็นแบบอย่างแห่งเดียวเท่านั้น คือประตูชุมพล ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นบัญชีสงวนรักษาไว้เป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ นอกนั้นทั้งประตูและกำแพงเมืองได้ถูกรื้อสูญหมดแล้ว
ในหนังสือเที่ยวตามทางรถไฟพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรง-ราชานุภาพ เล่าถึงตำนานเมืองว่า
ในทำเนียบครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ เมืองนครราชสีมา มีเมืองขึ้น ๕ เมือง คือเมืองนครจันทึก อยู่ทางทิศตะวันตก เมือง ๑ เมืองชัยภูมิ อยู่ทางทิศเหนือ เมือง ๑ เมืองพิมายอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมือง ๑ เมืองบุรีรัมย์ อยู่ทางทิศตะวันออก เมือง ๑ เมืองนางรอง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เมือง ๑ ต่อมาตั้งเมืองเพิ่มขึ้นอีก ๙ เมือง คือ ทางทิศเหนือ ตั้งเมืองบำเหน็จณรงค์ ๑ เมือง จัตุรัส ๑ เมือง เกษตรสมบูรณ์ ๑ เมือง ภูเขียว ๑ เมือง ชนบท ๑ เมือง รวม ๕ เมือง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งเมืองพุทไธสง ๑ เมือง ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตั้งเมืองประโคนชัย ๑ เมือง รัตนบุรี ๑ เมือง ทางทิศใต้ ตั้งเมืองปักธงชัย ๑ เมือง เมืองนครราชสีมา จึงมีเมืองขึ้น ๑๔ เมืองด้วยกัน เมื่อสร้างเมืองใหม่ในครั้งนั้น สมเด็จพระนารายณ์ทรงเลือกสรรข้าราชการที่เป็นคนสำคัญออกไปครอง ปรากฏว่าโปรดให้พระยายมราช (สังข์) ไปครองเมืองนครราชสีมาพร้อมกับโปรดให้พระยารามเดโช ไปครองเมืองนครศรีธรรมราช ส่วนเมืองอื่นหาปรากฏนามผู้ไปครองเมืองไม่ ครั้นสมเด็จพระนารายณ์สวรรคต เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๑ พระเพทราชาได้ราชสมบัติ พระยายมราชและพระยารามเดโช ไม่ยอมเป็นข้าพระเพทราชา ต่างตั้งแข็งเมืองนครราชสีมาและเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นด้วยกัน กองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงยกขึ้นไปทางดงพระยาไฟ พระยายมราชต่อสู้รักษาเมืองนครราชสีมาอยู่ได้พักหนึ่ง แต่สิ้นกำลังต้องหนีไปอยู่กับพระยารามเดโช ณ เมืองนครศรีธรรมราช ครั้งกองทัพกรุง ฯ ลงไปตีเมืองนครราชสีมาได้ในครั้งพระยายมราช (สังข์) ตั้งแข็งเมืองนั้น คงกวาดต้อนผู้คนและเก็บเครื่องศัตราวุธ ซึ่งมีไว้สำหรับรักษาเมืองนำมาเสียโดยมาก โดยหวังจะมิให้มีผู้คิดแข็งเมืองได้อีก ต่อมาในรัชกาลนั้นเอง มีลาวชาวหัวเมืองตะวันออกคนหนึ่ง ชื่อบุญกว้าง ตั้งตัวเป็นผู้วิเศษกับพรรคพวกเพียง ๒๓ คน กล้าเข้ามาถึงเมืองนครราชสีมาพักอยู่ที่ศาลาแห่งหนึ่งนอกเมือง แล้วให้พระยานครราชสีมาคนใหม่ออกไป พระยานครราชสีมาขี่ช้างออกไป (เดิมเห็นจะตั้งใจออกไปจับ) ครั้นถูกอ้ายบุญกว้างขู่ พระยานครราชสีมากลับครั่นคร้าม (คงเป็นเพราะพวกไพร่พลพากันเชื่อวิชาอ้ายบุญกว้าง) เห็นหนีไม่พ้นต้องยอมเป็นพรรคพวกอ้ายบุญกว้าง แล้วลวงให้ยกลงมาตั้งซ่องสุมผู้คนที่เมืองลพบุรี พระยานครราชสีมาเป็นไส้ศึกอยู่จนกองทัพกรุง ฯ ยกขึ้นไปถึง จึงจับตัวอ้ายบุญกว้างกับพรรคพวกได้
เห็นจะเป็นเพราะที่เกิดเหตุคราวนี้ ประกอบกับที่การรบในกรุง ฯ เป็นปกติสิ้นเสี้ยนหนามแล้ว จึงกลับตั้งกำลังทหารขึ้นที่เมืองนครราชสีมาดังแต่ก่อน ต่อมาปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า เจ้าเมืองหลวงพระบางยกกองทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ เมืองเวียงจันทน์ขอให้กรุงศรีอยุธยาช่วย จึงโปรดให้พระยาสระบุรีเป็นนายทัพหน้า ให้พระยานครราชสีมา (ซึ่งเข้าใจว่าตั้งใหม่อีก ๑ คน) เป็นแม่ทัพใหญ่ยกขึ้นไปช่วยเมืองเวียงจันทน์ กองทัพยกขึ้นไปถึง พวกเมืองหลวงพระบางก็ยำเกรง เลิกทัพกลับไป หาต้องรบพุ่งไม่ แต่นี้ไปก็ไม่ปรากฏเรื่องเมืองนครราชสีมาในหนังสือพระราชพงศาวดาร จนแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ เมื่อพม่ามาตีกรุงศรีอยุธยาครั้งหลัง ปรากฏว่าเกณฑ์ของกองทัพเมืองนครราชสีมาลงมาช่วยป้องกันรักษากรุง ฯ เดิมให้ตั้งค่ายอยู่ที่วัดเจดีย์แดงข้างใต้เพนียด แล้วให้พระยารัตนาธิเบศร์ คุมลงมารักษาเมืองธนบุรี ครั้นกองทัพพม่ายกมาจากเมืองสมุทรสงครามเมื่อเดือน ๑๐ ปีระกา พ.ศ. ๒๓๐๘ พระยารัตนาธิเบศร์หนีกลับขึ้นไปกรุงฯ พวกกองทัพเมืองนครราชสีมาเห็นนายทัพไม่ต่อสู้ข้าศึก ก็พากันกลับไปบ้านเมืองหาได้รบพุ่งกับพม่าไม่ต่อมาเมื่อพม่ากำลังตั้งล้อมพระนครศรีอยุธยา ในปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ มีเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองนครราชสีมาอีกตอนหนึ่ง เหตุด้วยกรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งเป็นโทษต้องเนรเทศไปอยู่ ณ เมืองจันทบุรี ชักชวนพวกชาวเมืองชายทะเลทางตะวันออกยกเป็นกองทัพมาหวังจะมารบพม่าแก้กรุงศรีอยุธยา กรมหมื่นเทพพิพิธมาถึงเมืองปราจีนบุรี ให้กองทัพหน้ามาตั้งปากน้ำโยธกา แขวงจังหวัดนครนายก พม่ายกไปตีกองทัพหน้าแตก กรมหมื่นเทพพิพิธ เห็นจะสู้พม่าไม่ได้ ก็เลยขึ้นไปทางแขวงเมืองนครราชสีมา ไปตั้งที่ด่านโคกพระยาพิบูลสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองนครนายก กับหลวงนรินทร์ (ซึ่งได้เข้าเป็นพวกกรมหมื่นเทพพิพิธ) ไปตั้งอยู่ที่เมืองนครจันทึกอีกพวกหนึ่ง กรมหมื่นเทพพิพิธคิดจะชักชวนพระยานครราชสีมาให้เกณฑ์กองทัพลงมารบพม่า แต่พระยานครราชสีมาคนนั้นเป็นอริอยู่กับพระพิบูลสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองนครนายก แต่งคนร้ายให้มาลอบฆ่าพระพิบูลสงครามกับหลวงนรินทร์เสีย กรมหมื่นเทพพิพิธจึงให้ลอบไปฆ่าพระยานครราชสีมาเสียบ้าง แล้วเข้าไปตั้งอยู่ในเมืองนครราชสีมา ขณะนั้นหลวงแพ่ง น้องพระยานครราชสีมาหนีไปอยู่เมืองพิมายไปเกณฑ์คนยกกองทัพมาจับกรมหมื่นเทพพิพิธไปคุมตัวไว้ที่เมืองพิมาย ครั้นกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึก เมื่อวันอังคารขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ สิ้นราชวงศ์ที่จะครองพระราชอาณาจักรบ้านเมืองเกิดเป็นจลาจล ผู้มีกำลังฝีมือหวังจะเป็นใหญ่ในประเทศไทยต่อไป ก็คิดตั้งเป็นเจ้ามีรวมด้วยกัน ๕ พรรคคือ
๑. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ลงไปตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองจันทบุรี มีหัวเมืองอยู่ในอำนาจตั้งแต่ชายแดนกรุงกัมพูชาขึ้นมาจนถึงเมืองชลบุรี และต่อมาถึงข้างขึ้นเดือน ๑๒ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้ยกกองทัพขึ้นมาโจมตีทหารพม่าซึ่งรักษาอยู่ที่เมืองธนบุรี กับค่ายโพธิ์สามต้นที่พระนครศรีอยุธยา พม่าพ่ายแพ้จนหมดสิ้น แล้วปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ตั้งแต่งเมืองธนบุรีเป็นราชธานี
๒. เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองพิษณุโลกมีอำนาจปกครองตั้งแต่เมืองพิชัยลงมาถึงเมืองนครสวรรค์
๓. พระสังฆราชา (เรือน) อยู่ที่วัดพระฝาง เมืองสวางคบุรี (ปัจจุบันเป็นอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์) ตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นทั้งยังอยู่ในสมณเพศ เรียกกันว่าพระฝาง มีอำนาจปกครองหัวเมืองที่อยู่ข้างเหนือเมืองพิชัย และติดต่อกับแดนเมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองหลวงพระบาง
๔. พระปลัด (เข้าใจกันว่าชื่อหนู) ผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองนครศรีธรรมราช เรียกกันว่า เจ้านคร มีอำนาจปกครองหัวเมืองที่ติดต่อกับชายแดนมลายูขึ้นมาจนถึงเมืองชุมพร
๕. กรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งพระยาพิมายคุมไว้ที่เมืองพิมาย และยกขึ้นเป็นใหญ่ ณ เมืองนั้น เรียกว่าเจ้าพิมาย มีอำนาจปกครองตลอดอาณาเขตของนครราชสีมา เช่น เมืองจันทึก ปักธงชัย บุรีรัมย์
พุทไธสง ชัยภูมิ และภูเขียว เป็นต้น
สมัยกรุงธนบุรี
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึกในวันอังคารขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ สิ้นพระราชวงศ์ที่จะปกครองพระราชอาณาจักร บ้านเมืองเกิดเป็นจลาจล ผู้มีกำลังฝีมือหวังจะเป็นใหญ่ในประเทศไทยต่อไปก็คิดตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้า มีรวมด้วยกัน ๕ ชุมนุม คือ
ชุมนุมที่ ๑ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ลงไปตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองจันทบุรี มีหัวเมืองอยู่ในอำนาจตั้งแต่ชายแดนกรุงกัมพูชา ขึ้นมาจนถึงเมืองชลบุรี เมื่อถึงข้างขึ้น เดือน ๑๒ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้ยกกองทัพเรือขึ้นมาโจมตีทหารพม่า ซึ่งรักษาอยู่ที่เมืองธนบุรีกับค่ายโพธิ์สามต้นที่พระนครศรีอยุธยา พม่าพ่ายแพ้จนหมดสิ้น แล้วปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานี
ชุมนุมที่ ๒ เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองพิษณุโลก มีอำนาจปกครองตั้งแต่เมืองพิชัยลงมาจนถึงเมืองนครสวรรค์
ชุมนุมที่ ๓ พระสังฆราชา (เรือน) อยู่ที่วัดพระฝางเมืองสวางคบุรี (ปัจจุบันเป็นอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์) ตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นเรียกว่า เจ้าพระฝาง มีอำนาจปกครองหัวเมืองที่อยู่เหนือเมืองพิชัยและติดต่อกับแพร่ น่าน หลวงพระบาง
ชุมนุมที่ ๔ พระปลัด (เข้าใจกันว่าชื่อหนู) ผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองนครศรีธรรมราชเรียกกันว่าเจ้านคร มีอำนาจปกครองหัวเมืองที่ติดต่อกับชายแดนมลายูขึ้นมาจนเมืองชุมพร
ชุมนุมที่ ๕ กรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งพระพิมายคุมไว้ที่เมืองพิมาย และยกขึ้นเป็นใหญ่ ณ ที่เมืองนั้น เรียกว่าเจ้าพิมาย มีอำนาจปกครองตลอดอาณาเขตของนครราชสีมา เช่น เมืองจันทึก ปักธงชัย บุรีรัมย์ พุทไธสง ชัยภูมิ และภูเขียว เป็นต้น
เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีชัยขับไล่พวกพม่าไปจากพระนครศรีอยุธยา และมาตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานีเรียบร้อยแล้วก็ทรงเริ่มปราบปรามชุมนุมอิสระทั้ง ๔ ดังกล่าวมาโดยยกกองทัพไปตีเมืองพิษณุโลก เมื่อฤดูน้ำ ปีชวด พ.ศ. ๒๓๑๑ แต่ไปถูกอาวุธข้าศึกต้องล่าถอยกลับมา พอมาถึงฤดูแล้งในปีชวดนั้น ก็ยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองนครราชสีมา กองทัพกรุงธนบรีที่ยกไปครั้งนี้แบ่งเป็น ๒ กองทัพ กองทัพที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จคุมไปเอง ยกขึ้นไปทางดงพระยาไฟเข้าตีทางด้านตะวันตกทางหนึ่ง ให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระราชวรินทร์ กับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสรุสิงหนาท เมื่อยังเป็นพระมหามนตรีคุมกองทัพขึ้นไปทางช่องเรือแตก (เข้าใจว่าช่องสะแกราช) เข้าตีทางด้านใต้ทางหนึ่ง ฝ่ายเจ้าพิมายให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (คือพระพิมาย) เป็นแม่ทัพใหญ่ ให้มองย่าปลัดทัพพม่าที่หนีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปจากพระนครศรีอยุธยาเป็นที่ปรึกษา คุมกองทัพมาต่อสู้รักษาเขตแดน ครั้งนั้นกำลังรี้พลของเจ้าพิมายเห็นจะมีน้อยไม่พอรักษาป้อมปราการเอาเมืองนครราชสีมาเป็นที่มั่น จึงปรากฏว่ากองทัพเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์มาตั้งค่ายสกัดทางอยู่ที่ด่านจอหอ ข้างเหนือเมืองนครราชสีมาแห่งหนึ่งแล้วให้บุตรซึ่งเป็นที่พระยาวรวงศาธิราชคุมกองทัพมาตั้งค่ายสกัดทางอยู่ที่ด่านกระโทก (เวลานี้คือ อำเภอโชคชัย) ข้างใต้เมืองนครราชสีมาอีกแห่งหนึ่ง กองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตีได้ด่านจอหอ จับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้ กองทัพพระมหามนตรีและพระราชวรินทร์ตีค่ายด่านกระโทกแตก พระยาวรวงศาธิราชหนีไปทางเมืองเขมรต่ำ กองทัพพระมหามนตรีกับพระราชวรินทร์ตามไปตีได้เมืองเสียมราฐอีกเมืองหนึ่ง เจ้าพิมายรู้ว่ากองทัพเสียทีก็หลบหนีหมายจะไปอาศัยเมืองเวียงจันทน์ แต่ขุนชนะกรมการเมืองนครราชสีมาตามจับมาถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบรีได้ จึงทรงตั้งให้ขุนชนะเป็นพระยานครราชสีมา (ต้นสกุลกาญจนาคม) แต่นั้นก็ได้เมืองนครราชสีมามาเป็นเมืองขึ้นกรุงธนบุรี แต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียังต้องทำการปราบปรามพวกที่ตั้งเป็นอิสระอื่น ๆ เมื่อปราบปรามได้หมดแล้วยังต้องรบกับพม่า ต่อมาอีกหลายปีจึงมิได้จัดวางรูปการปกครองเมืองนครราชสีมาให้เป็นเขื่อนขัณฑ์มั่งคง เพราะเหตุนั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๘ เวลากรุงธนบุรีกำลังติดพันรบพุ่งกับพม่า คราวอะแซหวุ่นกี้มาตีเมืองเหนือ พระยานางรอง เจ้าเมืองนางรอง อันเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา ไม่ชอบกับพระยานครราชสีมาแต่เดิม เห็นได้ทีจึงเอาเมืองไปขอขึ้นต่อเจ้าโอ ซึ่งครองเมืองจำปาศักดิ์เป็นอิสระอยู่ในสมัยนั้น ฝ่ายเจ้าโอคาดว่าไทยคงสู้พม่าไม่ได้ก็รับไว้ พระยานางรองก็ตั้งแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นต่อเมืองนครราชสีมา ครั้นพม่าถอยทัพไปแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระยาจักรี เสด็จไปปราบปรามเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๙ เจ้าพระยาจักรียกกองทัพไปยังเมืองนครราชสีมา แล้วให้กองหน้าไปจับได้ตัวพระยานางรองมาชำระความจึงทราบว่าเจ้าเมืองจำปาศักดิ์กำลังเตรียมกองทัพ จึงบอกเข้ามายังกรุงธนบุรีจะขอไปตีเมืองจำปาศักดิ์ต่อไป สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหา
สุรสิงหนาท เมื่อยังดำรงยศเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพหนุนเข้าไปอีกทัพหนึ่ง เจ้าพระยาทั้งสองยกกองทัพไปตีได้เมืองนครจำปาศักดิ์และหัวเมืองทางฟาก แม่น้ำโขงฝั่งซ้ายจนถึงเมืองอัตบือ ได้หัวเมืองทางริมแม่น้ำโขงข้างใต้ตลอดจนต่อแดนกรุงกัมพูชา ซึ่งเวลานั้นเป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงธนบุรีอยู่ ได้ไปเกลี้ยกล่อมหัวเมืองเขมรป่าดง คือ เมืองตะลุง เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ ก็ยอมสวามิภักดิ์ขึ้นต่อไทยทั้ง ๓ เมือง ในครั้งนั้นราชอาณาเขตกรุงธนบุรีขยายต่อออกไปตลอดแผ่นดินสูงในตอนข้างฝ่ายใต้ เมืองนครราชสีมาได้ปกครองบังคับบัญชาเหล่าหัวเมืองที่ได้ใหม่ เมืองนครราชสีมาจึงเป็นเมืองสำคัญยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่ ๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ทรงจัดการปกครองหัวเมืองทางแผ่นดินสูงตอนริมแม่น้ำโขงเป็นประเทศราช ๓ เมือง คือ เมืองเวียงจันทร์ เมืองนครพนม และเมืองนครจำปาศักดิ์ ให้เมืองนครราชสีมาปกครองเมืองเขมรป่าดงและหัวเมืองดอนที่ไม่ได้ขึ้นต่อประเทศราชทั้ง ๓ นั้น และกำกับตรวจตราเมืองประเทศราชเหล่านั้นด้วย แล้วยกฐานะเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองชั้นเอก ผู้สำเร็จราชการเมืองมียศเป็นเจ้าพระยา เจ้าพระนครราชสีมาคนแรก ชื่อเดิมคือ ปิ่น ณ ราชสีมา และในรัชกาลนี้ เมืองนครราชสีมาได้นำช้างเผือก ๒ เชือก ที่คล้องได้ในเขตเมืองภูเขียวขึ้นน้อมเกล้าถวายและได้โปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นระวางเป็นพระอินทรไอยรา และ พระเทพกุญชรช้าง ซึ่งเสาที่ผูกช้างเผือกเมื่อส่งเข้าเมืองนครราชสีมายังคงเก็บรักษาไว้ในศาลเจ้าพ่อช้างเผือก อยู่ริมถนนมิตรภาพ ตรงข้ามโรงเรียนสุรนารีวิทยา
รัชกาลที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๓๖๒ มีข่าคนหนึ่งชื่อ อ้ายสาเกียดโง้ง ตั้งตัวเป็นผู้วิเศษขึ้นที่เมืองสาลวันทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมรวบสมัครพรรคพวกได้หลายพัน ยกทัพมาตีเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ (หมาน้อย) สู้ไม่ได้ต้องทิ้งเมืองหนีมา รัชกาลที่ ๒ จึงให้พระยานครราชสีมายกกองทัพออกไปปราบปราม และสั่งเจ้าอนุแต่งกองทัพเมืองเวียงจันทน์ลงมาช่วยปราบปรามด้วยอีกพวกหนึ่ง เจ้าอนุจึงให้ราชบุตร (โย้) ซึ่งเป็นบุตรคุมกองทัพไปถึงเมืองจำปาศักดิ์ก่อนกองทัพเจ้าพระยานครราชสีมา เจ้าราชบุตรรบชนะพวกขบถจับได้ตัวอ้ายสาเกียดโง้งกับพรรคพวกเป็นอันมาก ส่งเข้ามาถวายยังกรุงเทพฯ เมื่อเสร็จจากการปราบขบถครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งเจ้าราชบุตร (โย้) ให้เป็นเจ้าครองนครจำปาศักดิ์ และทรงไว้วางพระราชหฤทัยในเจ้าอนุ เจ้าอนุจึงมีอำนาจตลอดลำแม่น้ำโขงลงมาจนถึงฝ่ายใต้
รัชกาลที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๖๕ เจ้าพระยากำแหงสงครามรามภักดี ซึ่งเป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา ได้กราบบังคมทูลให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ขุนภักดีชุมพล (แล) เป็นเจ้าเมืองชัยภูมิ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๙ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุรุทธราช (เจ้าอนุวงศ์) ผู้ครองนครเวียงจันทน์ได้ขอครอบครัวลาวที่เมืองสระบุรีซึ่งถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์ ในคราวสงครามครั้งที่ได้พระพุทธปฏิมากรแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ ณ กรุงธนบุรีนั้น เมื่อไม่ได้ดังประสงค์ก็ก่อการกบฏโดยยกกองทัพจะลงมาตีกรุงเทพมหานคร เมื่อเจ้าอนุยกกองทัพมาถึงเมืองนครราชสีมาและเข้าโจมตีเมืองนั้น พระยาปลัด (พระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ทศทิศวิชัย) ผู้รักษาเมืองไม่อยู่ เพราะไปปราบการจราจลที่เมืองขุขันธ์ กองทหารของเจ้าอนุจึงตีเมืองนครราชสีมาได้โดยง่ายและกวาดต้อนกรมการเมือง ตลอดจนพลเมืองทั้งชายหญิงไปเป็นเชลย เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๓๖๙ ในระหว่างการเดินทางคุณหญิงโมภรรยาพระปลัดได้คิดอุบายกับกรมการเมืองให้ชาวบ้านเชื่อฟังทหารผู้ควบคุม แกล้งทำกลัวเกรงและประจบเอาใจจนทหารของเจ้าอนุตลอดจนเพี้ยรามพิชัย ซึ่งเป็นผู้ควบคุมให้ความไว้วางใจและพยายามถ่วงเวลาในการเดินทาง แล้วลอบส่งข่าวถึงเจ้าเมืองนครราชสีมา เจ้าพระยากำแหงสงครามรามภักดี (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) และพระยาปลัด จนกระทั่งเดินทางมาถึงทุ่งสัมฤทธิ์แขวงเมืองพิมาย ได้พักตั้งค่ายค้างคืนอยู่ ณ ที่นั้น คุณหญิงโมได้ออกอุบายให้ชาวเมืองนำอาหารและสุราไปเลี้ยงดูผู้ควบคุมอย่างเต็มที่ จนทหารต่างก็เมามายไม่ได้สติ หมดความระมัดระวัง พอตกดึกก็พร้อมกันจับอาวุธไล่ฆ่าทหารเวียงจันทน์ตายเป็นจำนวนมาก แล้วหาชัยภูมิตั้งมั่นอยู่ ณ ที่นั้น เจ้าอนุทราบข่าวก็ให้เจ้าสุทธิสาร (โป้) บุตรคนใหญ่คุมกำลังทหารเดินเท้าประมาณ ๓,๒๐๐ คน และทหารม้าประมาณ ๔,๐๐๐ คน รีบรุดมาทำการปราบปรามทำการต่อสู้รบกันถึงตลุมบอน แต่คุณหญิงโมก็จัดขบวนทัพ กรมการผู้ใหญ่คุมพลผู้ชาย ตัวคุณหญิงโมคุมพลผู้หญิงออกตีกองทัพพวกเวียงจันทน์แตกยับเยิน พอดีเจ้าอนุได้ข่าวว่ากองทัพจากกรุงเทพฯ ยกขึ้นมาช่วยชาวเมืองนครราชสีมา จึงต้องรีบถอนกำลังออกจากเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๓๖๙ วีรกรรมที่คุณหญิงโมได้ประกอบขึ้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์ครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาคุณหญิงโมดำรงฐานันดรศักดิ์ เป็นท้าวสุรนารี และพระราชทานเครื่องยศทองคำประดับเกียรติ ดังนี้
- ถาดทองคำใส่เชี่ยนหมาก ๑ ใบ
- จอกหมากทองคำ ๑ คู่
- ตลับทองคำ ๓ เถา
- เต้าปูนทองคำ ๑ อัน
- คณโฑทองคำ ๑ ใบ
- ขันน้ำทองคำ ๑ ใบ
ในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ กองทัพนครราชสีมาได้เป็นกำลังสำคัญในการทำสงครามกับญวนในดินแดนเขมร เพื่อขับไล่ญวนออกจากเขมร เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) ได้ร่วมกับเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ทำการรบด้วยความสามารถ
ปี พ.ศ. ๒๓๗๗ เจ้าพระยานครราชสีมาได้นำช้างพลายเผือกหางดำขึ้นน้อมเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโปรดเกล้า ฯ ให้สมโภชขึ้นระวางเป็น พระยามงคลนาดินทร์
ปี พ.ศ. ๒๓๘๐ โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยานครราชสีมาทำนุบำรุงเมืองพระตะบองให้มั่นคงแข็งแรงยิ่งขึ้น โดยนำชาวเมืองนครราชสีมาจำนวน ๒,๐๐๐ คน ไปปฎิบัติงานด้วยความเรียบร้อย
ปี พ.ศ. ๒๓๘๓ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) พร้อมด้วยบุตร (พระยาภักดีนุชิต) คุมกำลังพลไปปรามกบฏนักองค์อิ่มที่เมืองพระตะบอง เพราะนักองค์อิ่มได้ปกครองเมืองพระตะบองแทนพระยาอภัยภูเบศร์ แล้วคิดกบฏไปฝักใฝ่กับญวณ โดยจับกุมกรรมการเมืองพระตะบอง รวมทั้งน้องชายของเจ้าพระยานครราชสีมา (พระยาราชานุชิต) และกวาดต้อนครอบครัวหนีไป ทัพจากนครราชสีมาขับเคี่ยวจนถึงปี พ.ศ. ๒๓๘๖ เจ้าพระยานครราชสีมาได้ล้มป่วยจึงกลับมาพักรักษาตัวที่เมืองนครราชสีมา ทำให้การรบยืดเยื้อต่อไปอีกซึ่งการทำสงครามกับญวนนี้เมืองนครราชสีมาเป็นกำลังสำคัญของราชการทัพมาโดยตลอด
ปี พ.ศ. ๒๓๘๗ เมืองนครราชสีมาได้นำช้างพลาย ๓ เชือก น้อมเกล้าถวายรัชกาลที่ ๓ คือ พลายบาน พลายเยียว พลายแลม
ปี พ.ศ. ๒๓๘๘ ได้นำช้างพลาย ๒ เชือก น้อมเกล้าถวายรัชกาลที่ ๓ อีกครั้ง คือ พลาย
อุเทน และพลายสาร
รัชกาลที่ ๔ เมืองนครราชสีมามีความเจริญมากขึ้น เป็นศูนย์กลางการค้าขายของหัวเมืองทางตะวันออก เพราะมีสินค้าที่พ่อค้าต้องการมาก เช่น หนังสัตว์ เขาสัตว์ นอแรด งา และไหม พวกพ่อค้าเดินทางมาซื้อสินค้าเหล่านี้แล้วส่งไปจำหน่ายที่กรุงเทพฯ และซื้อสินค้าจากกรุงเทพฯ มาจำหน่ายในหัวเมืองตะวันออกโดยตลาดกลางอยู่ที่เมืองนครราชสีมา
ในรัชกาลนี้ ทรงปรารภว่าควรจะมีราชธานีห่างทะเลไว้อีกสัก ๑ แห่ง ทรงพระราชดำริว่าควรเป็นเมืองนครราชสีมา จึงโปรดเกล้าให้พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นไปทรงตรวจภูมิประเทศพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหมเมื่อได้ทรงตรวจพิจารณาแล้วทรงเห็นว่ายังไม่เหมาะสม เพราะเมืองนครราชสีมาอัตคัตน้ำและการคมนาคมก็ยังลำบาก รัชกาลที่ ๔ จึงทรงเปลี่ยนพระทัยมาสร้างพระราชวังที่เมืองลพบุรีแทน และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกราบทูลขอให้เปลี่ยนนามการเรียกดงพระยาไฟเสียใหม่ว่าดงพระยาเย็น เพื่อไม่ให้คนครั่นคร้ามหรือไม่กล้าเดินทางผ่านเข้าไป
รัชกาลที่ ๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๑๗ พวกฮ่อได้เข้ามารุกรานเมืองหนองคายหลายครั้ง และเมืองนครราชสีมาก็เป็นกำลังสำคัญในการจัดกำลังทัพไปปราบฮ่อ
ส่วนวิธีการปกครองเมืองนครราชสีมา ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อ ร.ศ. ๑๑๐ (พ.ศ. ๒๔๓๔) โดยโปรดฯ ให้รวบรวมหัวเมืองในเขตที่ราบสูงเป็น ๓ มณฑล คือ
๑. มณฑลลาวพวน มี เมืองหนองคายเป็นที่ว่าการมณฑล
๒. มณฑลลาวกาว มี เมืองนครจำปาศักดิ์เป็นที่ว่าการมณฑล
๓. มณฑลลาวกลาง มี เมืองนครราชสีมาเป็นที่ว่าการมณฑล
สำหรับมณฑลลาวกลางนั้นมีกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงใหญ่ ต่อมาเมื่อได้
จัดหัวเมืองเป็นมณฑลเทศาภิบาบทั่วทั้งพระราชอาณาเขต ให้เปลี่ยนนามมณฑลทั้ง ๓ เสียใหม่ คือ มณฑลลาวพวน เป็น มณฑลอุดร , มณฑลลาวกาว เป็น มณฑลร้อยเอ็ด และมณฑลอุบล มณฑลลาวกลาง เป็นมณฑลนครราชสีมา
ในด้านการคมนาคม ได้มีการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา ใน พ.ศ. ๒๔๓๔ ซึ่งเป็นทางรถไฟของรัฐบาลสายแรก และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเปิดทางรถไฟเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเมืองนครราชสีมาจนเท่าทุกวันนี้
เหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเมืองนครราชสีมาในรัชกาลนี้คือในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมงกุฏราชกุมาร ได้เสด็จตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา และต่อมาได้มีการทดลองการเกณฑ์ทหารแบบใหม่ที่มณฑลนครราชสีมาเป็นแห่งแรก ปรากฏว่าได้ผลดีจึงขยายไปยังมณฑลอื่น ๆ
รัชกาลที่ ๖ ใน พ.ศ. ๒๔๕๖ สมเด็จพระพันปีหลวง (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) เสด็จกรมทหารม้าที่ ๕ ที่มณฑลนครราชสีมา และทรงรับตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษกรมทหารม้าที่ ๕ มณฑลนครราชสีมา
ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต
เสนาธิการทหารบก เสด็จตรวจราชการทหารที่มณฑลนครราชสีมา
รัชกาลที่ ๗ ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ หลังจากเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้วได้ยกเลิกการจัดทำเมืองมณฑลเทศาภิบาลและจัดใหม่เป็นภาค มณฑลนครราชสีมาเปลี่ยนเป็นภาคที่ ๓ มีหัวเมืองอยู่ในความปกครอง ๖ จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งที่ว่าการอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้เกิดกบฏบวรเดช โดยมีพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชอดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหมเป็นหัวหน้า ได้ทำการยึดนครราชสีมาเป็นกองบัญชาการ เพื่อรวบรวมกำลังพลในการที่จะเข้ายึดพระนครเพื่อบังคับให้คณะรัฐบาลของพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาลาออก ในการก่อการกบฏครั้งนี้ข้าราชการเมืองนครราชสีมาส่วนหนึ่งถูกควบคุมตัวไว้ ส่วนประชาชนถูก
หลอกลวงว่าได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในพระนคร ทหารจึงจำเป็นต้องไประงับเหตุการณ์ ต่อเมื่อได้ทราบแถลงการณ์จากรัฐบาล จึงเข้าใจว่าการกระทำของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นกบฏ ดังนั้นข้าราชการที่ถูกคุมขังจึงพยายามหลบหนีจากที่คุมขังแล้วรวมกำลังเข้ายึดสถานที่สำคัญเพื่อร่วมมือกับทางรัฐบาล ในการปราบปรามกบฏ
ทางรัฐบาลได้มอบหมายให้ พันโท หลวงพิบูลสงครามเป็นผู้บังคับการในการปราบปรามกบฏครั้งนี้และทำได้สำเร็จ หัวหน้ากบฏได้หลบหนีเอาตัวรอดไปอยู่ที่ไซ่ง่อน ในวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖
รัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยี่ยมพสกนิกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งแรก และได้ประทับแรมที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ
พ.ศ. ๒๔๙๘ และได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมพสกนิกรชาวเมืองนครราชสีมาอีกหลายครั้ง เช่น เสด็จทอดพระเนตรการเรียนการสอนหลักสูตรมัธยมแบบประสมที่โรงเรียนสุรนารีวิทยา , เสด็จทำพิธีเปิดอาคารเรียนโรงเรียนบุญวัฒนา เป็นต้น ยังความปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาวนครราชสีมาเป็นล้นพ้น
สมัยการจัดรูปการปกครองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
การจัดรูปการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล คือการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้นในส่วนภูมิภาค
สมัยสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงจัดให้อำนาจการปกครองซึ่งกระจัดกระจายอยู่เข้ามารวมอยู่ยังจุดเดียวกัน โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวง คือมิให้การบังคับบัญชาไปอยู่ที่เจ้าเมืองเพียงคนเดียว (ซึ่งเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมือง และมีอำนาจอย่างกว้างขวาง)
ระบอบการปกครองแบบเทศาภิบาล เริ่มจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๗ และ สำเร็จทั่วประเทศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ โดยมีความจำเป็นมาดังนี้
วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงแบ่งหน้าที่ระหว่างมหาดไทยและกลาโหมเสียใหม่ โดยให้มหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวง จึงรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑล (ยังไม่เป็นระบอบมณฑลเทศาภิบาล) มีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครองมณฑล จัดตั้งครั้งแรกมี ๖ มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียง (หรือมณฑลพายัพ) มณฑลลาวพวน (หรือมณฑลอุดร) มณฑลลาวกาว (หรือมณฑลอีสาน) มณฑลเขมร (หรือมณฑลบูรพา) มณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตกบัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต
พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็นปีแรกที่ได้วางแผนจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้มีมณฑลเทศาภิบาลขึ้นทั้งสิ้น 3 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี และมณฑลนครราชสีมา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพจากมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ได้สำเร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัด และอำเภอ และยกเลิกมณฑล จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร
พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมีสาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลง คือ
๑. จังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล
๒. อำนาจบริหารในจังหวัด เป็นของผู้ว่าราชการจังหวัด
๓. คณะกรมการจังหวัด เดิมเป็นคณะบุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการ
แผ่นดินในจังหวัดได้กลายเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมา ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕ ได้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด และอำเภอ
จังหวัดให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น
ปัจจุบัน จังหวัดนครราชสีมาแบ่งการปกครองออกเป็น ๒๐ อำเภอ กับ ๒ กิ่งอำเภอ คือ
๑. อำเภอเมืองนครราชสีมา ๒. อำเภอโชคชัย
๓. อำเภอครบุรี ๔. อำเภอเสิงสาง
๕. อำเภอปักธงชัย ๖. อำเภอปากช่อง
๗. อำเภอสีคิ้ว ๘. อำเภอด่านขุนทด
๙. อำเภอสูงเนิน ๑๐. อำเภอขามทะเลสอ
๑๑. อำเภอโนนไทย ๑๒. อำเภอขามสะแกแสง
๑๓. อำเภอโนนสูง ๑๔. อำเภอบัวใหญ่
๑๕. อำเภอประทาย ๑๖. อำเภอคง
๑๗. อำเภอพิมาย ๑๘. อำเภอห้วยแถลง
๑๙. อำเภอจักราช ๒๐. อำเภอชุมพวง
๒๑. กิ่งอำเภอบ้านเหลื่อม ๒๒. กิ่งอำเภอหนองบุนนาก
ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดนครราชสีมา . นครราชสีมา : หจก.นิวสมบูรณ์การพิมพ์ , ๒๕๒๖ .
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น