แพร่
ประวัติศาสตร์จังหวัดแพร่
เมืองแพร่เป็นเมืองโบราณสร้างมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตกาล แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐาน แน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง
เมืองแพร่เป็นเมืองที่ไม่มีประวัติของตนเองจารึกไว้ในที่ใดๆ โดยเฉพาะ นอกจากปรากฏในตำนาน พงศาวดาร และจารึกของเมืองอื่นๆ บ้างเพียงเล็กน้อย ดังจะกล่าวรายละเอียดในตอนต่อไป
จากการศึกษาค้นคว้าและตรวจสอบหลักฐานจากตำนานเมืองเหนือ พงศาวดารโยนก และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เมืองแพร่น่าจะสร้างยุคเดียวกันกับกรุงสุโขทัย เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา น่าน ซึ่งบ้านเมืองของเมืองแพร่ในยุคนั้นคงไม่กว้างขวางและมีผู้คนมากมายเหมือนปัจจุบัน
เมืองแพร่มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง ตำนานเมืองเหนือเรียกว่า “พลนคร” หรือ “เมืองพล”
ดังปรากฏในตำนานสร้างพระธาตุลำปางหลวงว่า
“เบื้องหน้าแต่นั้นนานมา ยังมีพระยาสามนตราชองค์หนึ่ง เสวยราชสมบัติในพลรัฐนคร อันมีในที่ใกล้กันกับลัมภกัปปะนคร (ลำปาง) นี่ ทราบว่าสรีรพระธาตุพระพุทธเจ้ามีในลัมภกัปปะนคร
ก็ปรารถนาจะใคร่ได้”
ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ราว พ.ศ. ๑๔๗๐ - ๑๕๔๐ นั้น พระนางจามเทวีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในเขตลานนา ได้เปลี่ยนชื่อเมืองในเขตลานนาเป็นภาษาเขมร เช่น ลำพูนเป็น หริภุญไชย น่านเป็นนันทบุรี เมืองแพร่เป็นโกศัยนคร หรือนครโกศัย
ชื่อที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เรียกว่า “เมืองพล” และได้กลายเสียงตามหลักภาษาศาสตร์เป็น “แพร่” ชาวเมืองนิยมออกเสียงว่า “แป้”
เมืองแพร่สมัยก่อนกรุงสุโขทัย
จุลศักราช ๔๒๑-๔๘๐ (พ.ศ. ๑๖๕๔-พ.ศ. ๑๗๗๓) พงศาวดารโยนก กล่าวถึงเมืองแพร่ว่า
“จุลศักราช ๔๖๑ (พ.ศ. ๑๖๕๔) ขุนจอมธรรมผู้ครองเมืองพะเยา เมื่อครองเมืองพะเยาได้ ๓ ปี ก็เกิดโอรสองค์หนึ่ง ขนานนามว่า เจื๋อง ต่อมาได้เป็น ขุนเจื๋อง”
พอขุนเจื๋องอายุได้ ๑๖ ปี ไปคล้องช้าง ณ เมืองน่าน พระยาน่านตนชื่อว่า “พละเทวะ” ยกราชธิดาผู้ชื่อว่า นางจันทร์เทวีให้เป็นภรรยาขุนเจื๋อง แล้วขุนเจื๋องก็ไปคล้องช้าง ณ เมืองแพร่ พระยาแพร่คนชื่อ พรหมวงศ์ ยกราชธิดาผู้ชื่อว่า นางแก้วกษัตรีย์ให้ขุนเจื๋อง
พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนกล่าวถึงความตอนนี้ว่า เมื่อตติยศักราช ๔๒๑ ขุนเจียงประสูติ ครั้นอายุได้ ๑๗ ปี ไปคล้องช้างที่เมืองแพร่ พญาแพร่ชื่อ พรหมวังโส ยกลูกสาวชื่อ นางแก้วอิสัตรีให้ขุนเจียงพร้อมกับช้างอีก ๕๐ เชือก
แทรกกล่าว จากพงศาวดารทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเมืองแพร่เป็นเมืองที่สร้างขึ้นแล้วในระหว่างจุลศักราช ๔๒๑ - ๔๖๑ (พ.ศ. ๑๖๑๔ - ๑๖๕๔) แต่คงเป็นเมืองขนาดเล็กและจะต้องเล็กกว่าเมืองพะเยาด้วย
อนึ่ง ในระหว่างจุลศักราช ๔๖๒ - ๔๘๐ (พ.ศ. ๑๖๕๕ - พ.ศ. ๑๗๗๓) เมืองแพร่อยู่ในอำนาจการปกครองของขอมเพราะในระยะเวลาดังกล่าว ขอมเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรลานนาไทย
มีข้อน่าสังเกตว่าในระยะที่ขอมเรืองอำนาจได้เปลี่ยนชื่อเมืองแพร่เป็นโกศัยนคร (โกศัยหมายถึงผ้าแพรเนื้อดี) แต่ไม่มีเหตุการณ์สำคัญอะไรปรากฏให้เห็น
เมืองแพร่สมัยกรุงสุโขทัย (จุลศักราช ๔๘๐ - ๖๒๙ พ.ศ. ๑๗๗๓ - พ.ศ. ๑๙๒๒)
จุลศักราช ๔๘๐ พ.ศ. ๑๗๗๓ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง พ่อขุนบางกลางท่าวและขุนผาเมืองได้รวมกันลงเข้าด้วยกันยกเข้าตีกรุงสุโขทัย ซึ่งตอนนั้นเป็นเมืองหน้าด่านของขอม
จุลศักราช ๕๐๗ พ.ศ. ๑๘๐๐ ฝ่ายไทย คือ พ่อขุนบางกลางท่าวมีชัยชนะแก่พวกขอม พ่อขุนบางกลางท่าวประกาศตนเป็นอิสระ ยกเมืองสุโขทัยเป็นราชธานีของเมืองไทย
หัวเมืองต่างๆ ในเขตลานนา ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน จึงต่างเป็นอิสระไม่ยอมขึ้นแก่ใคร
จุลศักราช ๕๒๗ พ.ศ. ๑๘๒๐ พ่อขุนรามคำแหงได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่าง กว้างขวางดังปรากฏในศิลาจารึก กล่าวว่า
“๐ …. เบ๋อง ( ตนนวนรอด เมองแพล เมองม่าน เมองน …. เมองพลาว ….)”
หอสมุดแห่งชาติถอดความได้ว่า
“เบื้องตีนนอนรอดเมืองแพล เมืองม่าน เมืองน่าน เมืองพลัว”
แทรกกล่าว เมื่อพิจารณาตามสภาพภูมิศาสตร์ “เมืองแพล” ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของกรุงสุโขทัย และเมืองที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองแพร่ คือ เมืองน่าน
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า “เมืองแพล” ที่ปรากฏในศิลาจารึกก็คือ “เมืองแพร่” นั่นเอง
จุลศักราช ๖๒๙ พ.ศ. ๑๙๒๒ แผ่นดินสมัยพระเจ้าไสยลือไท สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพขึ้นมาตีกรุงสุโขทัยและได้ชัยชนะ กรุงสุโขทัยจึงตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา เมืองแพร่จึงตั้งตนเป็นอิสระอีกครั้งหนึ่ง
พงศาวดารเมืองน่าน กล่าวถึงเมืองแพร่ว่า
จุลศักราช ๖๕๒ พ.ศ. ๑๙๕๔ สมัยเจ้าศรีจันต๊ะครองเมืองน่านได้ ๑ ปี ก็มีพระยาแพร่สองคนพี่น้อง คนพี่ชื่อพระยาเถร คนน้องชื่อพระยาอุ่นเมือง ยกกองทัพไปตีเมืองน่าน จับตัวเจ้าศรีจันต๊ะฆ่าเสียแล้วพระยาเถรก็ขึ้นครองเมืองน่านแทน
ฝ่ายอนุชาของเจ้าศรีจันต๊ะ ชื่อเจ้าหุง หนีไปพึ่งพระยาชะเลียงที่เมืองชะเลียง (ซึ่งขณะนั้นเมืองชะเลียงขึ้นต่อพระเจ้าไสยฤาไท แห่งกรุงสุโขทัย)
พระยาเถร ครองเมืองน่านได้ ๖ เดือนกับ ๙ วัน ก็ล้มป่วยเป็นไข้โลหิตออกจากรูขุมขนถึงแก่กรรม พระยาอุ่นเมืองผู้น้องจึงครองเมืองน่านแทน
พระยาอุ่นเมือง ครองเมืองน่านได้เพียง ๑ ปี เจ้าหุงอนุชาของเจ้าศรีจันต๊ะก็คุมพลชาว
ชะเลียงยกมารบพุ่งชิงเอาเมืองคืน เจ้าหุงจับตัวพระยาอุ่นเมืองได้นำไปถวายพระยาใต้และถูกกักตัวไว้ที่เมืองชะเลียงเป็นเวลาถึง ๑๐ ปี และถึงแก่กรรมที่นั่นด้วย
ตำนานเมืองเหนือ กล่าวว่า
ในสมัยพระเจ้าติโลกราช จุลศักราช ๘๐๕ พ.ศ. ๑๙๘๖ กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ยก กองทัพไปตีเมืองน่านและได้ชัยชนะ พญาอินต๊ะแก่น เจ้าเมืองน่านหนีไปเมืองชะเลียง
ขณะที่พระองค์กำลังตีเมืองน่านอยู่นั้น ได้แต่งกองทัพให้พระมหาเทวีผู้มารดายกไปตีเมืองแพร่ พระมหาเทวียกกองทัพไปถึงเมืองแพร่ก็ให้ทหารล้อมไว้
ฝ่ายท้าวแม่คุณ เจ้าเมืองแพร่ เห็นกำลังทหารของกองทัพเชียงใหม่เข้มแข็งกว่าจึงออกไปอ่อนน้อมต่อพระมหาเทวี และพระมหาเทวีก็ให้ท้าวแม่คุณครองเมืองแพร่ดังเดิม
พงศาวดารโยนก กล่าวถึงความตอนนี้และแตกต่างไปจากตำนานเมืองเหนือว่า
จุลศักราช ๘๐๕ พ.ศ. ๑๙๘๖ พระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ได้ทรงทราบว่าเจ้ามืองน่านได้กระทำเหตุหลอกลวงพระองค์ ดังนั้นก็ทรงพระพิโรธ จึงเสด็จยกทัพหลวงไปตีเมืองน่าน กองทัพยกออกจากเมืองเชียงใหม่ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน เบญจศก แล้วแบ่งกองทัพให้พระมหาเทวีผู้เป็นชนนียกไปตีเมืองแพร่อีกทัพหนึ่ง
กองทัพพระมหาเทวียกมาถึงเมืองแพร่ ก็แต่งทหารเข้าล้อมเมืองแพร่ไว้ มีหนังสือแจ้งเข้าไปให้เจ้าเมืองแพร่ออกมาถวายบังคม
ฝ่ายท้าวแม่คุณ ผู้ครองเมืองแพร่ก็แต่งพลรักษาเมืองมั่นไว้ไม่ออกไปถวายบังคมและไม่ออกต่อรบกองทัพเชียงใหม่จะหักเอาเมืองแพร่ก็มิได้ นายทัพนายกองทั้งหลายจึงคิดทำปืนปู่เจ้ายิงเข้าไปในเมืองแพร่ นัดแรกกระสุนต้องต้นตาลใหญ่ในเมืองแพร่หักเพียงคอ นัดที่สองถูกกลางต้นตาลหักโค่นลง ท้าวแม่คุณเห็นดังนั้นก็ตกใจกลัว จึงออกไปถวายบังคมต่อพระมหาเทวี พระมหาเทวีจึงให้ท้าวแม่คุณครองเมืองแพร่ดังเก่า แล้วเลิกทัพกลับเชียงใหม่
เมืองแพร่สมัยกรุงศรีอยุธยา (จุลศักราช ๘๒๒ พ.ศ. ๒๐๐๓)
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ยกทัพหลวงจากกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาตีเมืองแพร่ทางเขาพึง
หมื่นด้งนคร รักษาเมืองเชียงใหม่แทนพระเจ้าติโลกราช ซึ่งเสด็จไปตีเมืองพง ยกกองทัพไปตั้งรับไว้
พอพระเจ้าติโลกราชทรงทราบข่าว จึงเสด็จยกทัพหลวงลงไปช่วยหมื่นด้งนคร สมเด็จ พระเจ้าบรมไตรโลกนาถ จึงล่าถอยทัพกลับกรุงศรีอยุธยา
หนังสือสังคมศึกษา เขตการศึกษา ๘ กล่าวถึงความตอนนี้ว่า
ปี พ.ศ. ๒๐๐๓ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถให้ราชโอรสพระนามว่าพระอินทราชาเป็น แม่ทัพหน้ายกไปตีเมืองเชียงใหม่ ตีเมืองรายทางถึงลำปาง พระอินทราชาเข้าชนช้างกับแม่ทัพข้าศึกต้องปืนสิ้นพระชนม์ในที่รบ กองทัพพระอินทราชาและกองทัพสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจำต้องยกกลับ ขณะนั้นเมืองแพร่อยู่ในอาณาเขตของเชียงใหม่
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระนพรัตนวัดพระเชตุพนกล่าวถึงตอนนี้ว่า ศักราช ๘๐๙ ปีเถาะ นพศก พระยาเชลียงนำมหาราชมาเอาเมืองพระพิษณุโลกเข้าปล้นเมืองเป็นสามารถเอามิได้ จึงยกทัพไปเอาเมืองกำแพงเพชร เข้าปล้นเมืองถึงเจ็ดวันมิได้ สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถเจ้า และสมเด็จพระอินทราชาเสด็จขึ้นไปช่วยเมืองกำแพงเพชรทันและสมเด็จพระอินท-ราชาตีทัพพระยาเกียรติแตก ทัพท่านมาปะทะทัพหมื่นนครได้ชนช้างด้วยหมื่นนคร และข้าศึกลาวทั้งสี่เข้ารุมเอาช้างพระที่นั่งข้างเดียว ครั้งนั้นพระอินทราชาเจ้าต้องปืน ณ พระพักตร์ ทัพมหาราชนั้นเลิกทัพคืนไป
จุลศักราช ๘๖๘ พ.ศ. ๒๐๔๙
แผ่นดินสมัยพระเมืองแก้วครองเมืองเชียงใหม่ ท้าวเมืองคำข่าย นำบริวารหมู่จุมมาเป็นข้า พระเมืองแก้วจึงให้ไปกินเมืองแพร่ (กิน = ครอง)
จุลศักราช ๘๗๐ พ.ศ. ๒๐๕๑ แม่ทัพกรุงใต้ (กรุงศรีอยุธยา) ชื่อพระยากลาโหมยกเอา รี้พลมารบเมืองแพร่ หมื่นจิตรเจ้าเมืองน่านยกทัพมาช่วยต่อสู้ด้วยจนได้ชัยชนะ
จุลศักราช ๘๗๒ พ.ศ. ๒๐๕๓
แม่ทัพกรุงใต้ชื่อ ขราโห (เพี้ยนมาจากคำว่า “กลาโหม”) ยกทัพมารบเมืองแพร่อีก หมื่นคำคาย เจ้าเมืองละกอน (ลำปาง) ยกทัพไปช่วยเมืองแพร่ รบกันจนทัพเมืองใต้แตกพ่ายหนีกลับไป
ในปีเดียวกัน คือ จุลศักราช ๘๗๒ พ.ศ. ๒๐๕๓
พระเมืองแก้วให้เจ้าเมืองแพร่สร้อยไปกินเมืองน่าน แทนท้าวเมืองคำข่าย (หมื่นสามล้าน)
ครั้นจุลศักราช ๘๗๘ พ.ศ. ๒๐๕๙ พระเมืองแก้วให้เจ้าเมืองแพร่คำยอดฟ้าไปครองเมืองน่าน และทรงย้ายเจ้าเมืองน่านไปครองเมืองพะเยา
พระยาแพร่ยอดคำฟ้าครองเมืองน่าน (พ.ศ. ๒๐๕๙, พ.ศ. ๒๐๖๒, พ.ศ. ๒๐๖๙) ต่อมายกทัพไปรบศึกที่เชียงใหม่ป่วยเป็นฝีเนื้อร้ายจนถึงแก่กรรม
จุลศักราช ๙๘๕ พ.ศ. ๒๐๖๖
ขณะที่พม่าเข้าครอบครองลานนาไทย เจ้าอุ่นเฮือนผู้ครองเมืองน่านได้รบกับพม่า สู้พม่า ไม่ได้หนีไปพึ่งเมืองชะเลียง
พอถึงจุลศักราช ๙๘๖ พ.ศ. ๒๐๖๗ เจ้าอุ่นเฮือนก็คุมพวกเข้าหักเอาเมืองน่าน ไล่ข้าศึกหนีจากเมืองน่านไปอยู่เมืองแพร่
จุลศักราช ๙๐๗ พ.ศ. ๒๐๘๘
เมืองเชียงใหม่เกิดจลาจล ทางกรุงศรีอยุธยาแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาได้ยกกองทัพขึ้นมาตีเมืองเชียงใหม่
พระนางจิระประภา ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้นำเอาเครื่องราชบรรณาการไปถวาย พระไชยราชาจึงยกกองทัพกลับ เมืองแพร่จึงตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาไปด้วย
จุลศักราช ๙๑๒ พ.ศ. ๒๐๙๓
พระยาแพร่ เป็นที่พระยาสามล้านเชียงใหม่ได้ร่วมกันคบคิดจะเป็นใหญ่ในนครพิงค์กับ พระยาล้านช้าง พระยาหัวเวียงล้านช้างรวบรวมไพร่พลยกกำลังเข้าไปถึงนครพิงค์จักกระทำร้ายแก่เมือง ครั้นกระทำมิได้ก็ออกหนีไป
ฝ่ายเจ้าขุนทั้งหลายในนครพิงค์ต่างก็แต่งทหารออกรบ พระยาสามล้าน (พระยาแพร่) และพวกก็แตกพ่ายหนีไปเมืองแพร่
จุลศักราช ๙๒๐ พ.ศ. ๒๑๐๑
พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่ายกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ ทหารเมืองเชียงใหม่มีน้อยกว่าพม่า อีกทั้งกองทัพพระเจ้าบุเรงนองเข้มแข็งชาญศึกสงครามกว่าพม่าจึงได้ชัยชนะ
เชียงใหม่ตกเป็นประเทศราชของพม่า เมืองแพร่จึงตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าด้วย
พม่าปกครองประเทศราชในอาณาจักรลานนาไทย อันได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ด้วยการให้ขุนนางของพม่าพร้อมด้วยทหารจำนวนหนึ่งอยู่เป็นข้าหลวงอยู่กำกับเมือง
จุลศักราช ๙๓๑ พ.ศ. ๒๑๑๑
อาณาจักรลานนาไทยถูกพม่าเกณฑ์ให้ยกกองทัพไปช่วยรบกรุงศรีอยุธยา เมืองแพร่ก็ยกกองทัพร่วมไปกับพม่าครั้งนี้ด้วย
และในที่สุด จุลศักราช ๙๓๒ พ.ศ. ๒๑๑๒ กรุงศรีอยุธยาก็แตก ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า อาณาจักรลานนาไทยจึงตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าดังเดิม
จุลศักราช ๙๘๓ พ.ศ. ๒๑๖๓
แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม กรุงศรีอยุธยามีกองทัพไม่ค่อยเข้มแข็งเกรียงไกร อาณาจักรลานนาจึงตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา
จุลศักราช ๙๙๗ พ.ศ. ๒๑๗๗
พระเจ้าสุทโธธรรมราชา กษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่และจับกุมเอาตัว พระเจ้าเชียงใหม่ไปคุมขังไว้ที่เมืองหงสาวดี
เมื่อจัดการปกครองในเมืองเชียงใหม่เรียบร้อยแล้ว พระเจ้าสุทโธธรรมราชายกทัพไปปราบเมืองต่างๆ ในเขตลานนาไทยยึดเมืองทุกเมืองไว้ในอำนาจ เมืองแพร่จึงตกอยู่ในอำนาจของพม่าอีกครั้ง
จุลศักราช ๑๐๒๔ พ.ศ. ๒๒๐๕
แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้ยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ พระองค์ทรงเป็นจอมทัพตีหัวเมืองรายทางตั้งแต่ลำปาง แพร่ ลำพูน จนถึงเมืองเชียงใหม่ โปรดให้เจ้าพระยาโกษาเหล็กถมดินทำเป็นเชิงเทินตั้งปืนใหญ่ ยิงกราดเข้าไปในเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ก็แตก
ฝ่ายกองทัพพม่ายกมาแต่เมืองอังวะเพื่อช่วยเหลือเมืองเชียงใหม่ (เพราะพม่าปกครองเมืองเชียงใหม่) ก็ถูกทัพไทยซุ่มโจมตีกระหนาบแตกพ่ายยับเยินไป
ดังนั้น อาณาจักรลานนาจึงตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา
แทรกกล่าว มีข้อน่าสังเกตว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเมืองแพร่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ขณะใดที่กองทัพเมืองเชียงใหม่เข้มแข็ง เมืองแพร่ก็จะขึ้นอยู่กับเชียงใหม่ หากขณะใดที่ กองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้มแข็ง เมืองแพร่ก็จะขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยา ระยะเวลาใดที่ทั้งสองฝ่ายอ่อนแอหรือเกิดจลาจล เมืองแพร่ก็จะตั้งตนเป็นอิสระทันที
จุลศักราช ๑๑๐๓ พ.ศ. ๒๒๘๓ พระเจ้าอังวะ กษัตริย์พม่าให้โปทัพพะการมังดีเป็นแม่ทัพยกกำลังหนึ่งหมื่นคนมาตีเมืองเทิน เมืองแพร่ เมืองน่าน กวาดต้อนผู้คนในเมืองดังกล่าวไปไว้ที่เมืองเชียงแสน
ในปีต่อมา จุลศักราช ๑๑๐๔ พ.ศ. ๒๒๘๔
พระยาแพร่พร้อมกับเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ มีพระยายองเป็นต้น ต่างรวบรวมไพร่พล ยกเข้ารบพุ่งฆ่าฟันพม่าที่ปกครองเมืองเชียงแสน พม่าทราบข่าวจึงส่งกองทัพใหญ่ลงมาช่วย พระนครลำปางจึงกวาดต้อนผู้คนของตนไปไว้ที่เมืองเทิง
ส่วนพระยายองและพระยาแพร่ ได้นำผู้คนของตนไปไว้ที่เมืองภูคา (อำเภอปัว จ.น่าน) แต่ก็ถูกพม่าตามตีแตกพ่ายจนต้องหนีเข้าไปในเมืองน่าน
จุลศักราช ๑๑๐๕ พ.ศ. ๒๒๘๕ เจ้าเมืองแพร่ และเจ้าเมืองน่านพร้อมด้วยเจ้าเมืองฝ่ายลานนา มีพระยายองเป็นหัวหน้า ต่างรวมกำลังไพร่พลยกไปรบพม่าที่ปกครองเมืองเชียงแสนแล้วตั้งตนเป็นอิสระนครอีกครั้งหนึ่ง
จุลศักราช ๑๑๒๑ พ.ศ. ๒๓๐๒
เจ้าชายแก้ว โอรสพระยาสุละวะฤาไชยสงคราม (ทิพช้าง) เจ้าเมืองละกอน (ลำปาง) พาครอบครัวญาติพี่น้องและบริวารหนีท้าวลิ้นก่านไปซ่องสุมผู้คนอยู่เมืองแพร่ แล้วยกกองทัพไปรบกับท้าวลิ้นก่านที่เมืองลำปางแต่สู้ไม่ได้จึงหนีไปพึ่งพม่า
จุลศักราช ๑๑๒๓ พ.ศ. ๒๓๐๔
กองทัพพม่ายกมาตีเมืองเชียงใหม่ ครั้นแล้วก็ยกกองทัพเข้าตีเมืองลำปาง (เจ้าชายแก้วซึ่งหนีไปพีงพม่าเมื่อคราวก่อนร่วมมากับกองทัพพม่าด้วย) พม่ายึดเมืองลำปางได้ เจ้าชายแก้วจึงจับท้าวลิ้นก่านประหารชีวิตเสีย
กองทัพพม่ายกมายึดครองเมืองแพร่ เมืองน่าน และลานนาไทยเกือบทั้งหมด ครั้นปีต่อมาพม่าจำต้องยกกองทัพกลับเพราะเกิดจลาจลในเมืองอังวะ
จุลศักราช ๑๑๒๙ พ.ศ. ๒๓๑๐ พวกชาวลานนาไทย ถูกพม่าข่มเหงรังแกเบียดเบียน บ่อยครั้งจึงคิดจะกอบกู้อิสรภาพ พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าทราบข่าวได้นำกองทัพใหญ่ลงมาปราบ อาณาจักรลานนาไว้ได้ทั้งหมด
หลังจากปราบปรามหัวเมืองฝ่ายเหนือแล้ว พระเจ้ามังระก็กรีฑาทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยา และในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็เสียอิสรภาพแก่พม่า
เมืองแพร่จึงตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าอีกครั้งหนึ่ง จนถึงจุลศักราช พ.ศ. ๑๑๓๑ พ.ศ. ๒๓๑๒
เมืองแพร่สมัยกรุงธนบุรี
จุลศักราช ๑๑๓๑ พ.ศ. ๒๓๑๒ พงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหอสมุดแห่งชาติกล่าวว่า
หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกเพียงปีเดียว สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ได้รวบรวมกำลังไพร่พล ต่อสู้กับพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น กรุงศรีอยุธยา พิษณุโลก พิชัย สวรรคโลกจนข้าศึกแตกพ่ายหนีไป
จุลศักราช ๑๑๓๒ พ.ศ. ๒๓๑๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเห็นว่าอาณาจักรลานนายังมีพม่ายึดครองอยู่มาก จึงโปรดให้ยกกองทัพขึ้นไปตีพม่าที่ครองเมืองเชียงใหม่
ขณะเดินทางเรือมาถึงเมืองพิชัยก็มีเจ้ามังชัย ผู้ปกครองเมืองแพร่พาขุนนางกรมการเมือง และไพร่พลเข้าเฝ้าถวายบังคมขอเป็นเมืองในขอบขัณฑสีมา
สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดแต่งตั้งให้เป็น “พระยาศรีสุริยวงศ์” แล้วให้เข้าร่วมขบวนทัพ ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่
พระราชพงศาวดารฉบับหอสมุดแห่งชาติกล่าวถึงความตอนนี้ว่า
“พระยาแพร่ ผู้ชื่อว่า มังไชย พม่าจับตัวไปครั้งทัพอะแซหวุ่นกี้มาตีเมืองพิษณุโลกมากับกองทัพครั้งนี้ด้วย พระยาแพร่มีจิตคิดสวามิภักดิ์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพฯ จึงคิดอ่านชักชวนพระยายองยกกองทัพไปตีเมืองเชียงแสน เจ้าเมืองเชียงแสนสู้ไม่ได้จึงหนีไปหาพระยาเชียงราย พระยาแพร่ และพระยายอง ก็ยกทัพติดตามไปที่เชียงราย
พระยาเชียงรายเห็นว่า พระยาแพร่และพระยายองเป็นชนชาติเชื้อลาวด้วยกัน จึงจับตัว เจ้าเมืองเชียงแสนชื่อ อาปรกามณี เป็นชาวพม่าส่งให้พระยาแพร่และพระยายอง”
พระราชพงศาวดารเมืองเหนือ กล่าวถึงความตอนนี้ว่า
จุลศักราช ๑๑๓๓ พ.ศ. ๒๓๑๔ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพไปตีเชียงใหม่, มังไชยะ เจ้าเมืองแพร่มาสวามิภักดิ์จึงโปรดตั้งให้เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์แล้วเกณฑ์ไปตีเมืองเชียงใหม่ด้วย
ปีกุน เอกศก จุลศักราช ๑๑๔๑ เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ได้แต่งกองทัพหลวง ๓๐๐ คน ให้มาตรวจราชการทางเมืองแพร่ เมืองน่าน ตลอดไปจนถึงเมืองนครลำปาง
กองข้าหลวงดังกล่าวได้ทำโจรกรรมแย่งชิงทรัพย์สินของราษฎร ฉุดคร่าบุตรภรรยาของ ชาวบ้านไปทำอนาจารต่างๆ ราษฎรได้นำความเข้าร้องทุกข์ต่อพระยากาวิละ เจ้าเมืองนครลำปาง พระยากาวิละขัดใจก็ยกพวกไพร่พลออกไปขับไล่ฆ่าฟันข้าหลวงที่อยู่บ้านวังเกิง ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบข่าวจึงให้มีตราหาตัวพระยากาวิละลงไปกรุงเทพฯ แต่พระยากาวิละก็ขัดตราเสียหาไปไม่ พระยากาวิละคิดจะทำความชอบแก้โทษที่ทำผิดจึงยกกองทัพไปตีเมืองลอ เมืองเทิง กวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยจำนวนมากแล้วจึงลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงธนบุรี แต่พระยากาวิละยังถูกลงโทษอีกนั่นเองคือทรงให้เฆี่ยน ๑๐๐ ที แล้วให้จำคุกไว้
พระยากาวิละได้ร้องขออาสาไปตีเมืองเชียงแสนแก้โทษ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรง พระกรุณาโปรดพระราชทานให้ถอดออกจากคุกและให้ไปทำราชการตามเดิม
พระยากาวิละไปถึงเมืองป่าช้าง จึงแต่งให้พระยาอุปราชคุมพลร้อยเศษไปเกลี้ยกล่อม
นาขวา เมืองเชียงแสน เพราะเวลานั้นกองทัพพม่าเลิกไปหมดแล้ว ให้นาขวารักษาเมืองไว้พร้อมด้วยทหารพม่าจำนวนหนึ่ง
นาขวาปลงใจด้วยกับพระยาอุปราช พระยากาวิละจึงได้ตัวพระยาแพร่ พระยาเถินคืนจากพม่า
จุลศักราช ๑๑๔๒ พ.ศ. ๒๓๒๓ เดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำ พงศาวดารเมืองน่านฉบับหอสมุดแห่งชาติกล่าวว่า พญาจ่าบ้าน พญาละกอน พญาแพร่ และชาวเมืองหลวงพระบางได้ร่วมกันคบคิดยกทัพไปพร้อมกันที่สมกก เพื่อไปตีเมืองเชียงแสน และในที่สุดก็ตีเมืองเชียงแสนได้เมื่อเดือน ๗ ขึ้น ๙ ค่ำ วันจันทร์ยามเช้า
จุลศักราช ๑๑๔๔ พ.ศ. ๒๓๒๕ พงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหอสมุดแห่งชาติกล่าวว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากบุคคลสำคัญของอาณาจักรลานนาไทย เช่น พระยา จ่าบ้าน เจ้ากาวิละทำการขับไล่ฆ่าฟันพม่าที่ยึดครองเมืองเชียงใหม่จนพวกพม่าแตกพ่ายหนีไป หลังจากนั้นได้เข้าตีหัวเมืองอื่นๆ เช่น ลำปาง ลำพูน เชียงราย แพร่ น่าน ขับไล่พม่าไปจนหมดสิ้น
เมืองแพร่และเมืองอื่นๆ ดังกล่าวจึงอยู่ใต้อำนาจของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีอีกครั้งหนึ่ง
เมืองแพร่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ระหว่างจุลศักราช ๑๑๔๗ - จุลศักราช ๑๒๒๙ (พ.ศ. ๒๓๒๘ - พ.ศ. ๒๔๑๐)
จุลศักราช ๑๑๔๗ พ.ศ. ๒๓๒๘ พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนกล่าวว่ากษัตริย์พม่าแต่งให้กาละมังดีเป็นแม่ทัพมีกำลังหมื่นหนึ่ง ยกมาตีอาณาจักรลานนาแวะถึงเมืองเชียงแสนในเดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำวันเสาร์ เข้ายึดเมืองเชียงแสนได้แล้วยกทัพเข้าตีเมืองเทิง
ฝ่ายเมืองเชียงใหม่และละกอนลำปาง ต่างพร้อมใจกันรวบรวมไพร่พลต่อสู้กับพม่าและ ป้องกันเมืองเอาไว้ได้
ฝ่ายพญาแพร่ พญาน่าน เห็นว่ากองทัพพม่าใหญ่หลวงนักเกรงจะสู้ไม่ได้ จึงบ่สู้บ่รบ ยอมอ่อนน้อมเป็นข้าของพม่าแต่โดยดี
แม่ทัพพม่าคือ กาละมังดี จึงให้พญาแพร่ พญาน่าน ยกกองทัพไปแวดล้อมเมืองละกอนไว้ เมื่อพม่าไม่สามารถตีเอาเมืองใดได้ จึงล่าถอยทัพกลับไป
จุลศักราช ๑๑๔๘ พ.ศ. ๒๓๒๙ เดือน ๕ เพ็ญ พญาแพร่พร้อมกับเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ คิดกอบกู้เอกราชคืนจากพม่า จึงยกทัพไปตีเมืองเชียงแสน มวยหวาน ซึ่งปกครองเมืองเชียงแสนหนีพ่ายไปเชียงราย
พญาเชียงรายจับตัวได้ส่งไปยังเมืองละกอนลำปาง พญาละกอนส่งตัวมวยหวานไปยังกรุงเทพฯ
ฝ่ายพญาละกอน เมื่อส่งมวยหวานไปกรุงเทพฯ แล้ว ก็ยกกองทัพไปเมืองเชียงแสนจับตัว พญาแพร่ใส่คา จองจำส่งตัวลงกรุงเทพฯ
จุลศักราช ๑๑๖๘ พ.ศ. ๒๓๒๘ พม่าส่งกองทัพมาตีหัวเมืองอาณาจักรลานนา แต่เวลานั้นทางเมืองเชียงใหม่ยังร้างอยู่ไม่มีใครปกครอง จึงเลยลงไปตีเมืองลำปาง เจ้าเมืองลำปางคือพระยา กาวิละได้ต่อสู้ต้านทานทัพพม่า สามารถรักษาเมืองไว้ได้ พม่าจึงแต่งกองทัพให้ล้อมเมืองไว้ก่อน
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทราบข่าวศึก จึงโปรดให้กรมหลวงเจษฎายกกองทัพขึ้นมาช่วย
ฝ่ายพระยากาวิละ รู้ว่ากองทัพในกรุงขึ้นมาช่วยก็มีกำลังห้าวหาญยกกองทัพตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกจากเมือง ได้สู้รบกันตั้งแต่เช้าจนเที่ยง กองทัพพม่าจึงแตกพ่ายไป
เมื่อกองทัพพม่าถูกไล่ออกจากอาณาจักรลานนาแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้โปรดพระราชทานบำเหน็จให้แก่เจ้านายฝ่ายเหนือโดยให้พระยากาวิละเจ้าเมืองลำปางขึ้นไปครองเมืองเชียงใหม่
ส่วนพระยามังชัย เจ้าเมืองแพร่ พระองค์ทรงเห็นว่าถ้าจะให้ไปครองเมืองแพร่ก็ยังไม่ไว้วางพระราชหฤทัย เพราะพระยามังชัยเคยอยู่กับพม่ามานาน จึงโปรดให้ไปช่วยราชการอยู่ที่เมืองลำปางก่อน
จุลศักราช ๑๑๗๑ พ.ศ. ๒๓๓๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงโปรดให้ เจ้าเมืองฝ่ายเหนือยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง พระยามังชัย เจ้าเมืองแพร่ ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่เมืองลำปางได้ร่วมไปกับกองทัพด้วย พระยามังชัยได้แสดงความห้าวหาญชาญศึกอาสาเป็นนายกองหน้าเข้าตีเมืองเชียงตุง และสามารถตีเมืองเชียงตุงจนได้ชัยชนะ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงเห็นความดีและความสามารถจึงโปรดให้กลับไปครองเมืองแพร่ดังเดิม
หลังจากรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแล้ว ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองแพร่ไม่มีกล่าวถึงจนกระทั่งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมืองแพร่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง
ระหว่างจุลศักราช ๑๒๕๓ - จุลศักราช ๑๒๙๖ (พ.ศ. ๒๔๓๔ - พ.ศ. ๒๔๗๗)
จุลศักราช ๑๒๕๓ พ.ศ. ๒๔๓๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนระบอบการปกครองประเทศ เป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล มีข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลลดอำนาจเจ้าผู้ครองเมืองให้น้อยลงกว่าเดิม
เมืองแพร่ พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งปลัดมณฑลพิษณุโลก มาเป็นข้าหลวงกำกับการปกครองเมืองแพร่เป็นคนแรกในปี พ.ศ. ๒๕๔๐
หนังสือการปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพ พ.ศ. ๒๔๓๖ - พ.ศ. ๒๔๗๖ กล่าวถึงตอนนี้ว่า
เมืองแพร่จัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลหลังจากพระยาทรงสุรเดช ได้ไปตรวจ ราชการในเมืองแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ กล่าวคือ
เมื่อพระยาทรงสุรเดชไปถึงเมืองแพร่ “พระยาพิริยวิไชย” เจ้าเมืองแพร่ได้ให้การต้อนรับพระยาทรงสุรเดชเป็นอย่างดี พร้อมกับแสดงความจำนงให้พระยาทรงสุรเดชทราบว่าต้องการให้จัด ราชการ ๖ ตำแหน่งขึ้นในเมืองแพร่ให้เหมือนกับแบบแผนราชการเมืองเชียงใหม่ เหตุที่พระพิริยวิไชยเสนอเช่นนั้นก็ประสงค์จะขอพระราชทานเลื่อนยศขึ้นเป็น “เจ้า”
พระยาทรงสุรเดชเห็นว่างานราชการทั้งหมดของเมืองแพร่ตกอยู่ในอำนาจของพระยา
พิริยวิไชยทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อให้การปกครองของเมืองแพร่เรียบร้อย จึงให้ทำการทดลองจัดราชการ ๖ ตำแหน่งขึ้นในเมืองแพร่
พระยาทรงสุรเดชได้มอบหมายให้ นายราชาภักดิ์ ข้าหลวงเมืองแพร่ ทำหน้าที่เป็น ที่ปรึกษาของพระยาพิริยวิไชย จัดการราชการงานในเมืองแพร่ร่วมกัน
แทรกกล่าว มีข้อน่าสังเกตว่า
ประวัติศาสตร์เมืองเหนือของ ตรี อมาตยกุล กล่าวว่า “โปรดเกล้าฯ ให้พระยาไชยบูรณ์ไปเป็นข้าหลวงกำกับการปกครองเมืองแพร่เป็นคนแรกปี พ.ศ. ๒๔๔๐”
ส่วนปริญญานิพนธ์ของสรัสวดี ประยูรเสถียร ข้างต้นนี้กล่าวว่า พระยาทรงสุรเดชได้ มอบหมายให้ นายราชาภักดิ์ ข้าหลวงเมืองแพร่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของพระยาพิริยวิไชย จัดการ ราชการงานในเมืองแพร่ร่วมกัน
จึงทำให้เป็นที่น่าสงสัยว่า นายราชาภักดิ์ หรือพระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงเมืองแพร่ คนแรกกันแน่
กบฏเงี้ยวเมืองแพร่
จุลศักราช ๑๒๖๔ พ.ศ. ๒๔๔๕
ในขณะที่พระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงกำกับการปกครองเมืองแพร่อยู่นั้น ปรากฏว่ามีพวกเงี้ยวหรือไทยใหญ่ได้คบคิดกันก่อการจลาจลขึ้นในเมืองแพร่ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
วันศุกร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ เวลาประมาณ ๗ นาฬิกา พวกไทยใหญ่นำโดย พะกาหม่องและสะลาโปไชย หัวหน้าพวกโจรเงี้ยวนำกองโจรประมาณ ๔๐ - ๕๐ คน บุกเข้าเมืองแพร่ทางด้านประตูชัย จู่โจมสถานีตำรวจเป็นจุดแรก
ขณะนั้นสถานีตำรวจเมืองแพร่มีประมาณ ๑๒ คน จึงไม่สามารถต้านทานได้ กองโจรเงี้ยวเข้ายึดอาวุธตำรวจแล้วพากันเข้าโจมตีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข โจรเงี้ยวได้ตัดสายโทรเลขและทำลายอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เพื่อตัดปัญหาการสื่อสาร ครั้นแล้วก็มุ่งหน้าสู่บ้านพักข้าหลวงประจำเมืองแพร่ แต่ก่อนที่กองโจรเงี้ยวจะไปถึงบ้านพักข้าหลวงนั้น พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) ได้พา ครอบครัวพร้อมด้วยคุณหญิงเยื้อน ภริยาหลบหนีออกจากบ้านพักไปก่อนแล้ว
พวกโจรเงี้ยวไปถึงบ้านพักไม่พบพระยาไชยบูรณ์จึงบุกเข้าปล้นทรัพย์สินภายในบ้านพักข้าหลวง และสังหารคนใช้ที่หลงเหลืออยู่จนหมดสิ้น
จากนั้นจึงยกกำลังเข้ายึดที่ทำการเค้าสนามหลวง ทำลายคลังหลวงและกวาดเงินสดไปทั้งหมด ๔๖,๙๑๐ บาท ๓๗ อัฐ
หลังจากนั้นพวกโจรเงี้ยวก็มุ่งตรงไปยังเรือนจำเพื่อปล่อยนักโทษให้เป็นอิสระพร้อมกับ แจกจ่ายอาวุธให้แก่นักโทษเหล่านั้น ทำให้พวกกองโจรเงี้ยวได้กำลังสนับสนุนเพิ่มขึ้นอีกจนภายหลังมีกำลังถึง ๓๐๐ คน
ในระหว่างที่กองโจรเงี้ยวเข้าโจมตีสถานที่ราชการต่างๆ อยู่นั้น ราษฎรเมืองแพร่ตื่นตกใจกันมาก บางส่วนได้อพยพหลบออกไปอยู่นอกเมืองทันที กองโจรเงี้ยวจึงประกาศให้ราษฎรอยู่ในความสงบ เพราะพวกตนจะไม่ทำร้ายชาวเมืองจะฆ่าเฉพาะคนไทยภาคกลางที่มาปกครองเมืองแพร่เท่านั้น ราษฎรจึงค่อยคลายความตกใจลง และบางส่วนได้เข้าร่วมกับพวกกองโจรเงี้ยวก็มี ทำให้กองโจรเงี้ยวทำงานคล่องตัวและมีกำลังเข้มแข็งขึ้น
ขณะเดียวกันพระยาไชยบูรณ์ซึ่งพาภริยา คือ คุณหญิงเยื้อนหลบหนีออกจากบ้านพักตรงไปยังคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ หวังขอพึ่งกำลังเจ้าเมืองแพร่หรือเจ้าหลวงเมืองแพร่ คือ พระยาพิริยวิไชย
เมื่อไปถึงคุ้มเจ้าหลวง เจ้าหลวงเมืองแพร่กล่าวว่า “จะช่วยอย่างไรกัน ปืนก็ไม่มี ฉันก็จะหนีเหมือนกัน”
พระยาไชยบูรณ์ตัดสินใจพาภริยาและหญิงรับใช้หนีออกจากเมืองแพร่ไปทางบ้านมหาโพธิ์เพื่อหวังไปขอกำลังจากเมืองอื่นมาปราบ
ส่วนเจ้าเมืองแพร่นั้นหาได้หลบหนีไปตามคำอ้างไม่ ยังคงอยู่ในคุ้มตามเดิม
ตอนสายของวันที่ ๒๕ กรกฎาคม เมื่อกองโจรเงี้ยวสามารถยึดเมืองแพร่ได้แล้ว พะกาหม่องและสะลาโปไชยก็ไปที่คุ้มเจ้าหลวง เพื่อเชิญให้เจ้าเมืองแพร่ปกครองบ้านเมืองตามเดิม
ก่อนจะปกครองเมือง พะกาหม่องได้ให้เจ้าเมืองแพร่และเจ้านายบุตรหลานทำพิธีถือ น้ำสาบานก่อน โดยมีพระยาพิริยวิไชยเป็นประธานร่วมด้วยเจ้าราชบุตร เจ้าไชยสงครามและเจ้านายบุตรหลานอื่นๆ รวม ๙ คน
ในพิธีนี้มีการตกลงร่วมกันว่าจะร่วมกันต่อต้านกองทัพของรัฐบาลโดยพวกกองโจรเงี้ยวเป็นกองหน้าออกสู้รบเอง ส่วนเจ้าเมืองและคนอื่นๆ เป็นกองหลังคอยส่งอาหารและอาวุธตลอดทั้งกำลังคน
วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พวกกองโจรเงี้ยวเริ่มลงมือตามล่าฆ่าข้าราชการไทยและคนไทย ภาคกลางทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือสตรีที่หลบหนีไปโดยประกาศให้รางวัลนำจับ เฉพาะค่าหัวพระยาไชยบูรณ์และพระเสนามาตย์ยกบัตรเมืองแพร่ คนละ ๕ ชั่ง หรือ ๔๐๐ บาท นอกนั้นลดหลั่นลงตามลำดับความสำคัญ แต่อย่างต่ำจะได้ค่าหัวคนละ ๔๐ บาท
วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พระยาไชยบูรณ์ซึ่งอดอาหารมาเป็นเวลา ๓ วัน กับ ๒ คืน โดยหลบซ่อนอยู่บนต้นข่อยกลางทุ่งนาใกล้ๆ กับหมู่บ้านร่องกาด ได้ออกจากที่ซ่อนเพื่อขออาหารจากชาวบ้านร่องกาด
ราษฎรคนหนึ่งในบ้านร่องกาดชื่อหนานวงศ์ จึงนำความไปแจ้งต่อพะกาหม่องเพื่อจะเอาเงินรางวัล
พะกาหม่องนำกำลังไปล้อมจับพระยาไชยบูรณ์ทันที จับตัวได้ก็ควบคุมตัวกลับเข้าเมืองแพร่ และได้บังคับขู่เข็ญพระยาไชยบูรณ์ตลอดทาง
พระยาไชยบูรณ์จึงท้าทายให้พวกโจรเงี้ยวฆ่าตนเสียดีกว่า ดังนั้นพอมาถึงทางระหว่างร่องกวางเคา (ปัจจุบันเรียกว่าร่องคาว) โจรเงี้ยวคนหนึ่งชื่อ จองเซิน จึงคิดฆ่าพระยาไชยบูรณ์ทันที
นอกจากพระยาไชยบูรณ์แล้ว พวกโจรเงี้ยวยังได้จับข้าราชการไทยอีกหลายคนฆ่า ที่สำคัญได้แก่
พระเสนามาตย์ ยกกระบัตรศาล
หลวงวิมล ข้าหลวงผู้ช่วย
ขุนพิพิธ ข้าหลวงคลัง
นายเฟื่อง ผู้พิพากษา
นายแม้น อัยการ
นายอำเภอ ปลัดอำเภอ และสมุห์บัญชีอำเภอต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก นับเป็นการเข่นฆ่าข้าราชการไทยครั้งยิ่งใหญ่จริงๆ ในภาคเหนือ
ทางรัฐบาลไทยได้ส่งกองทัพจากเมืองใกล้เคียง เช่น พิชัย สวรรคโลก สุโขทัย ตาก น่าน และเชียงใหม่ เข้ามาปราบปรามพวกกองโจรเงี้ยวอย่างรีบด่วน โดยกำหนดให้ทุกเมืองระดมกำลังเข้าปราบปราม พวกกองโจรเงี้ยวในเมืองแพร่พร้อมกันทุกด้าน และยังได้มอบหมายให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) นำกองทัพหลวงขึ้นมาปราบปรามพร้อมทั้งให้ดำเนินการสอบสวนสาเหตุการปล้นครั้งนี้ด้วยและให้ถือว่าเป็น “กบฏ” ด้วย ดังนั้นจึงเรียกว่า กบฏเงี้ยวเมืองแพร่
ส่วนพวกกองโจรเงี้ยวเมื่อสามารถก่อการกบฏได้สำเร็จก็ไม่ได้ตระเตรียมกำลังป้องกันแต่อย่างใด
จนกระทั่งวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ เมื่อทราบข่าวว่ากองทัพรัฐบาลจะมาปราบปรามจึงได้แบ่งกำลังออกเป็น ๒ กอง กองหนึ่งนำโดยสะลาโปไชย ยกกำลังไปทางด้านใต้เพื่อขัดตาทัพ รัฐบาลที่ส่งมา อีกกองหนึ่งนำโดยพะกาหม่อง ยกกำลังไปทางด้านตะวันตกเพื่อโจมตีนครลำปางหวังยึดเมืองเป็นฐานกำลังอีกแห่งหนึ่ง
การโจมตีนครลำปางนั้น พวกกองโจรเงี้ยวต้องประสบกับความผิดหวัง เพราะนครลำปางรู้เหตุการณ์และเตรียมกำลังไว้ต่อสู้อย่างรวดเร็ว
เมื่อพวกเงี้ยวไปถึงนครลำปางในวันที่ ๓ สิงหาคม จึงถูกฝายนครลำปางตีโต้กลับทำให้ กองโจรเงี้ยวแตกพ่ายหนีกระจัดกระจายไป ตัวผู้นำคือ พะกาหม่องต้องสูญเสียชีวิตเพราะถูกยิงในระหว่างการต่อสู้
ส่วนพวกกองโจรเงี้ยวที่นำโดยสะลาโปไชยนั้น ในระยะแรกสามารถสกัดทัพเมืองพิชัยไว้ได้ชั่วคราว แต่ก็ไม่สามารถต้านทานทัพเมืองสวรรคโลกและสุโขทัยได้ จึงถอยกลับไปตั้งหลักที่เมืองแพร่ตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม
แต่ในที่สุดพวกโจรเงี้ยวก็หนีกระจัดกระจายไปเพราะต่อสู้ไม่ไหว
ดังนั้น ในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพ เนติโพธิ์) ผู้ว่าราชการเมืองพิชัย จึงนำกองกำลังตำรวจภูธรและทหารจำนวนหนึ่งบุกเข้าเมืองแพร่ได้สำเร็จ
วันที่ ๒๐ สิงหาคม เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ก็นำทัพหลวงถึงเมืองแพร่ หลังจากเหตุการณ์สงบลงหลายวันแล้ว เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงทำการสอบสวนความผิดผู้ เกี่ยวข้องทันที
ขั้นแรก ได้สั่งจับชาวเมืองแพร่ ราษฎรบ้านร่องกาด คือ หนานวงค์ ที่หวังเงินรางวัลนำจับพระยาไชยบูรณ์มาประหารชีวิตเป็นเยี่ยงอย่างก่อน
ขั้นที่สอง สั่งให้จับตัว พญายอด ผู้นำจับหลวงวิมลมาประหารชีวิตอีกคนหนึ่ง
จากนั้นเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้สอบสวนพยานหลายคน โดยยึดถือตามแนวนโยบายที่กรมหลวงดำรงราชานุภาพทรงกำชับไว้ คือ ไม่ให้ตั้งข้อสงสัย หรือกล่าวหาเจ้าเมืองแพร่และเจ้านายบุตรหลานล่วงหน้า
เมื่อสอบสวนพยานเสร็จไปหลายคน ก็พบหลักฐานต่างๆ ผูกมัดเจ้าเมืองแพร่และ เจ้านายบุตรหลานบางคน เช่น เจ้าราชบุตร เจ้าไชยสงครามอย่างแน่นหนาว่ามีส่วนรู้เห็นเป็นใจกับกบฎครั้งนี้ ดังคำให้การของพระยาเขื่อนขัณฑ์อดีตนายแคว้น (กำนัน) เมืองสอง เป็นคนที่เจ้าเมืองแพร่ไว้วางใจ ได้กล่าวให้การไว้ตอนหนึ่งว่า
“เจ้าแพร่พูดว่า เมืองแพร่ต่อไปจะเป็นของไทยนานเท่าใด จะต้องเป็นเมืองของเงี้ยว เจ้าแพร่จะคิดให้พะกาหม่อง สะลาโปไชย ซึ่งเป็นหัวหน้าเงี้ยวบ่อแก้วเข้ามาตีปล้นเมืองแพร่ พวกเงี้ยวจะจับคนไทยฆ่าเสียให้หมด แต่พะกาหม่องและสะลาโปไชยจะยกเข้าตีเมืองแพร่เมื่อใดยังไม่มีกำหนด
ถ้าจะให้พะกาหม่องและสะลาโปไชยยกเข้าตีเมืองแพร่วันใด จะได้มีหนังสือไปนัดพะกาหม่องและสะลาโปไชยทราบ เจ้าแพร่ได้สั่งข้าพเจ้าว่า เมื่อออกนอกราชการแล้ว อย่ามาเที่ยวเกะกะ วุ่นวายทำราชการกับไทย เมื่อเงี้ยวมันเข้าตีบางทีจะถูกปืนตายเสียเปล่า ผู้ที่ร่วมคิดให้เงี้ยวเข้าปล้นเมืองแพร่คราวนี้ เจ้าหลวงบอกข้าพเจ้าว่า พระยาราชบุตร พระไชยสงคราม เป็นผู้ร่วมคิดด้วย”
นอกจากนั้น ก่อนที่พวกโจรเงี้ยวเข้าปล้นเมืองแพร่ก็ได้ส่งข่าวมาบอกเจ้าเมืองแพร่ไว้แล้ว ดังคำให้การของหลวงจิตรจำนงค์ เจ้าของสัมปทานป่าไม้มีความว่า
“พระไชยสงครามไปที่บ้านข้าพเจ้าว่า วันที่ ๒๔ กรกฎาคม เวลากลางคืนประมาณ ๓ ทุ่มเศษ พวกเงี้ยวมีหนังสือมาบอกเจ้าแพร่ว่าถ้าในกลางคืนนี้ไม่ทัน ก็จะยกเข้าปล้นเวลาเช้ามืด”
เจ้าเมืองแพร่รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าจึงได้ป้องกันภัยแก่ญาติและคนสนิท ดังนายส่างกราบ ผู้ ดูแลคุ้มหลวงได้ให้การไว้ตอนหนึ่งว่า
“ครั้นข้าพเจ้าเข้านอนเฝ้าคุ้มหลวงได้ ๖ คืน เจ้าหลวงก็บอกข้าพเจ้าว่า พวกเงี้ยวจะพากันเข้ามาปล้นเมืองแพร่วันพรุ่งนี้รู้หรือเปล่า ข้าพเจ้าก็บอกว่าไม่รู้
เจ้าหลวงจึงบอกข้าพเจ้าไปเอาปืน ๑๒ นัดที่บ้านพระไชยสงครามมาป้องกันตัวไว้ ๑ กระบอก”
ในวันที่ ๒๔ กรกฎาคมนั้น เจ้าเมืองแพร่ก็ได้เรียกตัว เจ้าพลอยแก้ว หลานสาวซึ่งไป คลุกคลีอยู่ในบ้านพักข้าหลวงกับคุณหญิงเยื้อน ภริยาของพระยาไชยบูรณ์ให้กลับคุ้มด่วน เพราะเกรงอันตรายจากพวกเงี้ยวจะเกิดแก่เจ้าพลอยแก้ว
เมื่อพวกกองโจรเงี้ยวปล้นเมืองแพร่สำเร็จแล้ว เจ้าเมืองแพร่ได้แสดงตัวเป็นผู้สนับสนุนพวกโจรเงี้ยวอย่างเด่นชัด โดยเกณฑ์ข้าวสารชาวบ้านหลังคาละ ๒ ทะนาน อาวุธปืน กระสุนดินดำ เงิน และกองกำลัง จำนวน ๕๐ คน ส่งไปช่วย พะกาหม่องต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล
จากหลักฐานต่างๆ ที่กล่าวมาทำให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเข้าใจว่า เจ้าเมืองแพร่ เจ้า ราชบุตร เจ้าไชยสงคราม มีส่วนสนับสนุนให้กองโจรเงี้ยวก่อการกบฏขึ้นอย่างแน่นอน และเชื่อว่าต้องมีการตระเตรียมการล่วงหน้ามาช้านานพอสมควร
ก่อนที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจะได้ชำระความผิดผู้ใด เจ้าราชวงษ์และภริยาก็ตกใจกลัวความผิดดื่มยาพิษฆ่าตัวตายเสียก่อน เพราะได้ข่าวลือว่ารัฐบาลจะประหารชีวิตผู้เกี่ยวข้องกับกบฏเงี้ยว ทุกคน
เมื่อเกิดอัตวินิบาตกรรมขึ้นเช่นนี้ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเกรงว่าจะเป็นการสร้างความ เข้าใจผิดกันว่ารัฐบาลกระทำการรุนแรงต่อเจ้านายเมืองแพร่ ครั้นจะสืบหาพยานต่อไปอีกหลักฐานก็จะผูกมัดเจ้าเมืองแพร่ และเจ้านายบุตรหลานที่เกี่ยวข้องยิ่งขึ้น จนในที่สุดจะต้องถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหากบฏอย่างแน่นอน หากคดีจบในรูปนั้นย่อมกระทบกระเทือนใจเจ้านายฝ่ายเมืองเหนือทุกเมือง เพราะต่างเกี่ยวพันฉันท์ญาติผู้สืบสายราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนด้วยกัน ทั้งยังสร้างความสะเทือนใจแก่ราษฎรทั้งหลายในลานนาไทย
ดังนั้นเจ้าพระยาสุรศักศ์มนตรี จึงพยายามคิดหาวิธีที่ละมุนละม่อมตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งต้องการใช้วิธีผ่อนปรนต่อเจ้านายเมืองแพร่ ขณะเดียวกันก็พยายามไม่ให้เจ้านายเมืองแพร่ตื่นตกใจหนีเข้าพึ่งอิทธิพลอังกฤษ อันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศได้
ในที่สุด เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีก็ใช้วิธีปล่อยข่าวว่าจะมีการจับกุมตัวเจ้าเมืองแพร่และ เจ้าราชบุตร ข่าวลือนี้ได้ผล เพราะตอนดึกคืนนั้น เจ้าเมืองแพร่พร้อมด้วยคนสนิทอีกสองคนก็หลบหนีออกจากเมืองแพร่ทันที
อย่างไรก็ดี การหลบหนีของเจ้าเมืองแพร่ในคืนนั้นได้รับการสนับสนุนจากเจ้าพระยา สุรศักดิ์มนตรี โดยมีคำสั่งลับมิให้กองทหารที่ตั้งสกัดอยู่รอบเมืองแพร่ขัดขวาง ทำให้การหลบหนีของ เจ้าเมืองแพร่เป็นไปอย่างสะดวกจนถึงหลวงพระบางอย่างปลอดภัย
เมื่อเจ้าเมืองแพร่หนีไปได้ ๑๕ วัน ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการ จึงเป็นโอกาสให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีสามารถออกคำสั่งถอดเจ้าพิริยเทพวงศ์ออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองแพร่ทันที พร้อมกับสั่งอายัดทรัพย์เพื่อชดใช้หนี้หลวงที่เจ้าเมืองแพร่ค้างกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สำหรับคดีความผิดฐานร่วมก่อการกบฏก็เป็นอันต้องระงับโดยปริยาย ไม่มีการรื้อฟื้นขึ้นอีก
เจ้าพิริยเทพวงศ์ เจ้าเมืองแพร่คนสุดท้ายได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายที่เมืองหลวงพระบางจนถึงแก่พิราลัย
สำหรับเจ้าราชบุตร ผู้เป็นบุตรเขยเจ้าเมืองแพร่นั้น มีพยานหลักฐานและพฤติการณ์บ่งชัดว่าได้รู้เห็นเป็นใจกับพวกเงี้ยวเพราะโดยหน้าที่ เจ้าราชบุตรเป็นร้อยตำรวจเอกจะต้องนำกำลังออกต่อสู้ต้านทานพวกโจรเงี้ยว แต่ปรากฏว่าเจ้าราชบุตรไม่ได้ทำหน้าที่อันควรกระทำ กลับไปทำสิ่งตรงกันข้ามคือ เป็นผู้เกณฑ์กำลังออกไปสนับสนุนพวกโจรเงี้ยว ทั้งยังส่งกระสุนดินดำพร้อมเสบียงอาหารให้พวกเงี้ยว พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นความผิดขั้นรุนแรงมีโทษถึงประหารชีวิต แต่เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายหลีกเลี่ยงการประหารชีวิต เพราะไม่ประสงค์จะให้กระทบกระเทือนใจเจ้านายเมืองเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าราชบุตรเป็นบุตรชายของเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าเมืองน่าน หากกระทำตามกฎเกณฑ์ก็จะกระทบกระเทือนใจเจ้าเมืองน่าน ดังนั้น เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงสั่งให้ร้อยตำรวจเอกเจ้าราชบุตรนำกองกำลังตามขึ้นไปตีพวกโจรเงี้ยวที่แตกไปอยู่ตำบลสะเอียบ อันเป็นวิธีสร้างความดีลบล้างความผิด ซึ่งร้อยตำรวจเอกเจ้าราชบุตรก็สามารถกระทำงานที่มอบหมายสำเร็จคือตีพวกกองโจรเงี้ยวจนแตกพ่ายไป ได้ริบทรัพย์จับเชลยกลับมาเป็นจำนวนมาก
ในปีต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๖ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าเมืองน่าน ได้ขอย้ายเจ้าราชบุตรไปรับราชการที่เมืองน่าน และขอรับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าราชดนัย อันเป็นตำแหน่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเห็นชอบด้วย
เมื่อพิจารณา สาเหตุกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ อาจแบ่งได้เป็น ๒ ประการ คือ
ประการแรก เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองภายในเมืองแพร่นับตั้งแต่ช่วงจัดการ ปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งเป็นตอนที่รัฐบาลยุบเลิกฐานะเมืองประเทศราชและรวมอำนาจเข้าสู่ ส่วนกลาง ดังจะเห็นได้ว่าฐานะทางการเมืองนั้น เจ้าเมืองมีแต่เกียรติยศ ไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง เพราะอำนาจสิทธิขาดตกเป็นของข้าหลวง ซึ่งเป็นข้าราชการที่ส่งมาจากส่วนกลาง
ในทางด้านเศรษฐกิจก็ถูกตัดทอนผลประโยชน์ลงสร้างความไม่พอใจแก่เจ้าเมือง และ เจ้านายบุตรหลานทั้งหลายในแต่ละเมือง จึงปรากฏปฏิกิริยาออกมาในลักษณะต่างๆ กัน เช่นที่เชียงใหม่เจ้านายบุตรหลานไม่พอใจเรื่องลดผลประโยชน์เป็นอันมาก เมืองแพร่ตกอยู่ในสภาพลำบาก เนื่องจากในช่วงที่พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้จัดการอย่าง รุนแรงและบีบบังคับยิ่งกว่าเมืองอื่นๆ โดยไม่คำนึงถึงว่าเมืองแพร่เพิ่งจะจัดการปกครองเป็นครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๓๗
ในครั้งนั้น ด้านการคลังพระยาทรงสุรเดชยังผ่อนปรน ไม่ได้แบ่งเงินผลประโยชน์ของ เจ้าเมืองออกจากเงินแผ่นดิน ดังนั้น เจ้าพิริยเทพวงศ์จึงเก็บรักษาเงินปนกันหมด และนำเงินหลวงมาจ่ายในกิจการป่าไม้ของตนก่อน โดยเข้าใจว่าเป็นเงินของตน เมื่อพระยาศรีสหเทพตรวจสอบการเงินก็พบว่าเงินหลวงขาดไป จึงสั่งกักขังเจ้าเมืองแพร่ไว้จนกว่าจะหาเงินมาชดใช้ให้ครบภายใน ๒๔ ชั่วโมง เจ้านายบุตรหลานต้องหาเงินมาชดใช้จนครบ เจ้าเมืองแพร่จึงได้รับการปล่อยตัว
นับเป็นการกระทำที่บีบคั้นจิตใจและไม่ให้เกียรติกัน นอกจากนั้นยังกำหนดอัตราการใช้จ่ายเงินของเจ้าเมืองแพร่ไม่ให้จ่ายฟุ่มเฟือย เพราะฐานะทางเศรษฐกิจตกต่ำ จนกระทั่งกำหนดให้ใช้เงินเพียงเดือนละ ๒,๐๐๐.- บาท และจะต้องขอยืมจากท้องพระคลังก่อน
ประการที่สอง เนื่องจากเงี้ยวชาวเมืองและราษฎรพื้นเมืองให้การสนับสนุนกองโจรเงี้ยว การโจมตีเมืองแพร่ มิใช่มีแต่บรรดาเจ้านายเมืองแพร่เท่านั้นที่สนับสนุนพวกโจรเงี้ยว ชาวเมืองก็จับอาวุธขึ้นช่วยพวกกองโจรเงี้ยวด้วย ทั้งนี้ มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากชาวเงี้ยวซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจาก รัฐฉานเข้ามาอาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในมณฑลพายัพเป็นเวลานานแล้ว พวกเงี้ยวส่วนใหญ่มักเป็นผู้ทำมาหากินตามปกติและปะปนอยู่กับชาวบ้านเมืองแพร่ ทำให้มีความสนิทสนมกันเป็นอันดี เมื่อเกิดความทุกข์ยากลำบากใจจึงร่วมมือสนับสนุนทันที
การจัดรูปการปกครองเมืองแพร่ตามระบอบมณฑลเทศาภิบาลของเมืองแพร่
ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ทางราชการได้ประกาศให้รวมหัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นเป็นมณฑล โดยจัดให้เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองลำปาง รวมเป็นมณฑลเรียกว่ามณฑลมหาราษฎร์และให้ตั้งที่ว่าการมณฑลขึ้นที่จังหวัดลำปาง
ผู้สำเร็จราชการมณฑล ๓ ท่าน คือ
- มหาเสวกตรี พระยาเพชรรัตนราชสงคราม (เลื่อง ภูมิรัตน)
- จางวางตรี พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (ชม โชติกะพุกกะณะ)
- มหาเสวกโท พระยาเดชานุชิต (หนา บุนนาค)
ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ทางราชการได้สั่งให้รวมมณฑลมหาราษฎร์กับมณฑลพายัพดังเดิม มีที่ว่าการมณฑลตั้งอยู่ที่เมืองเชียงใหม่
ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ทางราชการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ประกาศใช้ พระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยแบ่งเป็นภาคๆ เมืองแพร่จัดอยู่ในภาคที่ ๕ ที่ทำการภาคตั้งอยู่ที่จังหวัดลำปาง ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย
ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางราชการได้ประกาศยกเลิกการปกครองแบบภาค ให้ทุกจังหวัดขึ้นตรงรัฐบาลกลางที่กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
การจัดรูปการปกครองเมืองแพร่ในสมัยปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๒๘)
ส่วนภูมิภาค จังหวัดแพร่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ซึ่งมี รายละเอียด ดังนี้
อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ที่ตั้งห่างจากจังหวัด
เมืองแพร่ ๑๖ ๙๓ ที่ตั้งจังหวัด
สูงเม่น ๑๑ ๖๙ ๑๒
ร้องกวาง ๑๓ ๘๕ ๓๐
สอง ๗ ๔๘ ๔๙
ลอง ๗ ๖๖ ๔๓
เด่นชัย ๕ ๓๖ ๒๔
วังชิ้น ๕ ๔๗ ๗๙
รวม ๖๔
๔๔๔
ส่วนท้องถิ่น แบ่งออกเป็น
องค์การบริหารส่วนจังหวัด ๑ แห่ง
เทศบาลเมืองแพร่ ๑ แห่ง
สุขาภิบาล ๙ แห่ง
สภาตำบล ๖๓ แห่ง
ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดแพร่. ปทุมธานี. โรงพิมพ์สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด, ๒๕๒๘
เมืองแพร่เป็นเมืองโบราณสร้างมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตกาล แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐาน แน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง
เมืองแพร่เป็นเมืองที่ไม่มีประวัติของตนเองจารึกไว้ในที่ใดๆ โดยเฉพาะ นอกจากปรากฏในตำนาน พงศาวดาร และจารึกของเมืองอื่นๆ บ้างเพียงเล็กน้อย ดังจะกล่าวรายละเอียดในตอนต่อไป
จากการศึกษาค้นคว้าและตรวจสอบหลักฐานจากตำนานเมืองเหนือ พงศาวดารโยนก และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เมืองแพร่น่าจะสร้างยุคเดียวกันกับกรุงสุโขทัย เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา น่าน ซึ่งบ้านเมืองของเมืองแพร่ในยุคนั้นคงไม่กว้างขวางและมีผู้คนมากมายเหมือนปัจจุบัน
เมืองแพร่มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง ตำนานเมืองเหนือเรียกว่า “พลนคร” หรือ “เมืองพล”
ดังปรากฏในตำนานสร้างพระธาตุลำปางหลวงว่า
“เบื้องหน้าแต่นั้นนานมา ยังมีพระยาสามนตราชองค์หนึ่ง เสวยราชสมบัติในพลรัฐนคร อันมีในที่ใกล้กันกับลัมภกัปปะนคร (ลำปาง) นี่ ทราบว่าสรีรพระธาตุพระพุทธเจ้ามีในลัมภกัปปะนคร
ก็ปรารถนาจะใคร่ได้”
ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ราว พ.ศ. ๑๔๗๐ - ๑๕๔๐ นั้น พระนางจามเทวีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในเขตลานนา ได้เปลี่ยนชื่อเมืองในเขตลานนาเป็นภาษาเขมร เช่น ลำพูนเป็น หริภุญไชย น่านเป็นนันทบุรี เมืองแพร่เป็นโกศัยนคร หรือนครโกศัย
ชื่อที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เรียกว่า “เมืองพล” และได้กลายเสียงตามหลักภาษาศาสตร์เป็น “แพร่” ชาวเมืองนิยมออกเสียงว่า “แป้”
เมืองแพร่สมัยก่อนกรุงสุโขทัย
จุลศักราช ๔๒๑-๔๘๐ (พ.ศ. ๑๖๕๔-พ.ศ. ๑๗๗๓) พงศาวดารโยนก กล่าวถึงเมืองแพร่ว่า
“จุลศักราช ๔๖๑ (พ.ศ. ๑๖๕๔) ขุนจอมธรรมผู้ครองเมืองพะเยา เมื่อครองเมืองพะเยาได้ ๓ ปี ก็เกิดโอรสองค์หนึ่ง ขนานนามว่า เจื๋อง ต่อมาได้เป็น ขุนเจื๋อง”
พอขุนเจื๋องอายุได้ ๑๖ ปี ไปคล้องช้าง ณ เมืองน่าน พระยาน่านตนชื่อว่า “พละเทวะ” ยกราชธิดาผู้ชื่อว่า นางจันทร์เทวีให้เป็นภรรยาขุนเจื๋อง แล้วขุนเจื๋องก็ไปคล้องช้าง ณ เมืองแพร่ พระยาแพร่คนชื่อ พรหมวงศ์ ยกราชธิดาผู้ชื่อว่า นางแก้วกษัตรีย์ให้ขุนเจื๋อง
พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนกล่าวถึงความตอนนี้ว่า เมื่อตติยศักราช ๔๒๑ ขุนเจียงประสูติ ครั้นอายุได้ ๑๗ ปี ไปคล้องช้างที่เมืองแพร่ พญาแพร่ชื่อ พรหมวังโส ยกลูกสาวชื่อ นางแก้วอิสัตรีให้ขุนเจียงพร้อมกับช้างอีก ๕๐ เชือก
แทรกกล่าว จากพงศาวดารทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเมืองแพร่เป็นเมืองที่สร้างขึ้นแล้วในระหว่างจุลศักราช ๔๒๑ - ๔๖๑ (พ.ศ. ๑๖๑๔ - ๑๖๕๔) แต่คงเป็นเมืองขนาดเล็กและจะต้องเล็กกว่าเมืองพะเยาด้วย
อนึ่ง ในระหว่างจุลศักราช ๔๖๒ - ๔๘๐ (พ.ศ. ๑๖๕๕ - พ.ศ. ๑๗๗๓) เมืองแพร่อยู่ในอำนาจการปกครองของขอมเพราะในระยะเวลาดังกล่าว ขอมเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรลานนาไทย
มีข้อน่าสังเกตว่าในระยะที่ขอมเรืองอำนาจได้เปลี่ยนชื่อเมืองแพร่เป็นโกศัยนคร (โกศัยหมายถึงผ้าแพรเนื้อดี) แต่ไม่มีเหตุการณ์สำคัญอะไรปรากฏให้เห็น
เมืองแพร่สมัยกรุงสุโขทัย (จุลศักราช ๔๘๐ - ๖๒๙ พ.ศ. ๑๗๗๓ - พ.ศ. ๑๙๒๒)
จุลศักราช ๔๘๐ พ.ศ. ๑๗๗๓ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง พ่อขุนบางกลางท่าวและขุนผาเมืองได้รวมกันลงเข้าด้วยกันยกเข้าตีกรุงสุโขทัย ซึ่งตอนนั้นเป็นเมืองหน้าด่านของขอม
จุลศักราช ๕๐๗ พ.ศ. ๑๘๐๐ ฝ่ายไทย คือ พ่อขุนบางกลางท่าวมีชัยชนะแก่พวกขอม พ่อขุนบางกลางท่าวประกาศตนเป็นอิสระ ยกเมืองสุโขทัยเป็นราชธานีของเมืองไทย
หัวเมืองต่างๆ ในเขตลานนา ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน จึงต่างเป็นอิสระไม่ยอมขึ้นแก่ใคร
จุลศักราช ๕๒๗ พ.ศ. ๑๘๒๐ พ่อขุนรามคำแหงได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่าง กว้างขวางดังปรากฏในศิลาจารึก กล่าวว่า
“๐ …. เบ๋อง ( ตนนวนรอด เมองแพล เมองม่าน เมองน …. เมองพลาว ….)”
หอสมุดแห่งชาติถอดความได้ว่า
“เบื้องตีนนอนรอดเมืองแพล เมืองม่าน เมืองน่าน เมืองพลัว”
แทรกกล่าว เมื่อพิจารณาตามสภาพภูมิศาสตร์ “เมืองแพล” ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของกรุงสุโขทัย และเมืองที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองแพร่ คือ เมืองน่าน
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า “เมืองแพล” ที่ปรากฏในศิลาจารึกก็คือ “เมืองแพร่” นั่นเอง
จุลศักราช ๖๒๙ พ.ศ. ๑๙๒๒ แผ่นดินสมัยพระเจ้าไสยลือไท สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพขึ้นมาตีกรุงสุโขทัยและได้ชัยชนะ กรุงสุโขทัยจึงตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา เมืองแพร่จึงตั้งตนเป็นอิสระอีกครั้งหนึ่ง
พงศาวดารเมืองน่าน กล่าวถึงเมืองแพร่ว่า
จุลศักราช ๖๕๒ พ.ศ. ๑๙๕๔ สมัยเจ้าศรีจันต๊ะครองเมืองน่านได้ ๑ ปี ก็มีพระยาแพร่สองคนพี่น้อง คนพี่ชื่อพระยาเถร คนน้องชื่อพระยาอุ่นเมือง ยกกองทัพไปตีเมืองน่าน จับตัวเจ้าศรีจันต๊ะฆ่าเสียแล้วพระยาเถรก็ขึ้นครองเมืองน่านแทน
ฝ่ายอนุชาของเจ้าศรีจันต๊ะ ชื่อเจ้าหุง หนีไปพึ่งพระยาชะเลียงที่เมืองชะเลียง (ซึ่งขณะนั้นเมืองชะเลียงขึ้นต่อพระเจ้าไสยฤาไท แห่งกรุงสุโขทัย)
พระยาเถร ครองเมืองน่านได้ ๖ เดือนกับ ๙ วัน ก็ล้มป่วยเป็นไข้โลหิตออกจากรูขุมขนถึงแก่กรรม พระยาอุ่นเมืองผู้น้องจึงครองเมืองน่านแทน
พระยาอุ่นเมือง ครองเมืองน่านได้เพียง ๑ ปี เจ้าหุงอนุชาของเจ้าศรีจันต๊ะก็คุมพลชาว
ชะเลียงยกมารบพุ่งชิงเอาเมืองคืน เจ้าหุงจับตัวพระยาอุ่นเมืองได้นำไปถวายพระยาใต้และถูกกักตัวไว้ที่เมืองชะเลียงเป็นเวลาถึง ๑๐ ปี และถึงแก่กรรมที่นั่นด้วย
ตำนานเมืองเหนือ กล่าวว่า
ในสมัยพระเจ้าติโลกราช จุลศักราช ๘๐๕ พ.ศ. ๑๙๘๖ กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ยก กองทัพไปตีเมืองน่านและได้ชัยชนะ พญาอินต๊ะแก่น เจ้าเมืองน่านหนีไปเมืองชะเลียง
ขณะที่พระองค์กำลังตีเมืองน่านอยู่นั้น ได้แต่งกองทัพให้พระมหาเทวีผู้มารดายกไปตีเมืองแพร่ พระมหาเทวียกกองทัพไปถึงเมืองแพร่ก็ให้ทหารล้อมไว้
ฝ่ายท้าวแม่คุณ เจ้าเมืองแพร่ เห็นกำลังทหารของกองทัพเชียงใหม่เข้มแข็งกว่าจึงออกไปอ่อนน้อมต่อพระมหาเทวี และพระมหาเทวีก็ให้ท้าวแม่คุณครองเมืองแพร่ดังเดิม
พงศาวดารโยนก กล่าวถึงความตอนนี้และแตกต่างไปจากตำนานเมืองเหนือว่า
จุลศักราช ๘๐๕ พ.ศ. ๑๙๘๖ พระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ได้ทรงทราบว่าเจ้ามืองน่านได้กระทำเหตุหลอกลวงพระองค์ ดังนั้นก็ทรงพระพิโรธ จึงเสด็จยกทัพหลวงไปตีเมืองน่าน กองทัพยกออกจากเมืองเชียงใหม่ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน เบญจศก แล้วแบ่งกองทัพให้พระมหาเทวีผู้เป็นชนนียกไปตีเมืองแพร่อีกทัพหนึ่ง
กองทัพพระมหาเทวียกมาถึงเมืองแพร่ ก็แต่งทหารเข้าล้อมเมืองแพร่ไว้ มีหนังสือแจ้งเข้าไปให้เจ้าเมืองแพร่ออกมาถวายบังคม
ฝ่ายท้าวแม่คุณ ผู้ครองเมืองแพร่ก็แต่งพลรักษาเมืองมั่นไว้ไม่ออกไปถวายบังคมและไม่ออกต่อรบกองทัพเชียงใหม่จะหักเอาเมืองแพร่ก็มิได้ นายทัพนายกองทั้งหลายจึงคิดทำปืนปู่เจ้ายิงเข้าไปในเมืองแพร่ นัดแรกกระสุนต้องต้นตาลใหญ่ในเมืองแพร่หักเพียงคอ นัดที่สองถูกกลางต้นตาลหักโค่นลง ท้าวแม่คุณเห็นดังนั้นก็ตกใจกลัว จึงออกไปถวายบังคมต่อพระมหาเทวี พระมหาเทวีจึงให้ท้าวแม่คุณครองเมืองแพร่ดังเก่า แล้วเลิกทัพกลับเชียงใหม่
เมืองแพร่สมัยกรุงศรีอยุธยา (จุลศักราช ๘๒๒ พ.ศ. ๒๐๐๓)
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ยกทัพหลวงจากกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาตีเมืองแพร่ทางเขาพึง
หมื่นด้งนคร รักษาเมืองเชียงใหม่แทนพระเจ้าติโลกราช ซึ่งเสด็จไปตีเมืองพง ยกกองทัพไปตั้งรับไว้
พอพระเจ้าติโลกราชทรงทราบข่าว จึงเสด็จยกทัพหลวงลงไปช่วยหมื่นด้งนคร สมเด็จ พระเจ้าบรมไตรโลกนาถ จึงล่าถอยทัพกลับกรุงศรีอยุธยา
หนังสือสังคมศึกษา เขตการศึกษา ๘ กล่าวถึงความตอนนี้ว่า
ปี พ.ศ. ๒๐๐๓ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถให้ราชโอรสพระนามว่าพระอินทราชาเป็น แม่ทัพหน้ายกไปตีเมืองเชียงใหม่ ตีเมืองรายทางถึงลำปาง พระอินทราชาเข้าชนช้างกับแม่ทัพข้าศึกต้องปืนสิ้นพระชนม์ในที่รบ กองทัพพระอินทราชาและกองทัพสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจำต้องยกกลับ ขณะนั้นเมืองแพร่อยู่ในอาณาเขตของเชียงใหม่
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระนพรัตนวัดพระเชตุพนกล่าวถึงตอนนี้ว่า ศักราช ๘๐๙ ปีเถาะ นพศก พระยาเชลียงนำมหาราชมาเอาเมืองพระพิษณุโลกเข้าปล้นเมืองเป็นสามารถเอามิได้ จึงยกทัพไปเอาเมืองกำแพงเพชร เข้าปล้นเมืองถึงเจ็ดวันมิได้ สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถเจ้า และสมเด็จพระอินทราชาเสด็จขึ้นไปช่วยเมืองกำแพงเพชรทันและสมเด็จพระอินท-ราชาตีทัพพระยาเกียรติแตก ทัพท่านมาปะทะทัพหมื่นนครได้ชนช้างด้วยหมื่นนคร และข้าศึกลาวทั้งสี่เข้ารุมเอาช้างพระที่นั่งข้างเดียว ครั้งนั้นพระอินทราชาเจ้าต้องปืน ณ พระพักตร์ ทัพมหาราชนั้นเลิกทัพคืนไป
จุลศักราช ๘๖๘ พ.ศ. ๒๐๔๙
แผ่นดินสมัยพระเมืองแก้วครองเมืองเชียงใหม่ ท้าวเมืองคำข่าย นำบริวารหมู่จุมมาเป็นข้า พระเมืองแก้วจึงให้ไปกินเมืองแพร่ (กิน = ครอง)
จุลศักราช ๘๗๐ พ.ศ. ๒๐๕๑ แม่ทัพกรุงใต้ (กรุงศรีอยุธยา) ชื่อพระยากลาโหมยกเอา รี้พลมารบเมืองแพร่ หมื่นจิตรเจ้าเมืองน่านยกทัพมาช่วยต่อสู้ด้วยจนได้ชัยชนะ
จุลศักราช ๘๗๒ พ.ศ. ๒๐๕๓
แม่ทัพกรุงใต้ชื่อ ขราโห (เพี้ยนมาจากคำว่า “กลาโหม”) ยกทัพมารบเมืองแพร่อีก หมื่นคำคาย เจ้าเมืองละกอน (ลำปาง) ยกทัพไปช่วยเมืองแพร่ รบกันจนทัพเมืองใต้แตกพ่ายหนีกลับไป
ในปีเดียวกัน คือ จุลศักราช ๘๗๒ พ.ศ. ๒๐๕๓
พระเมืองแก้วให้เจ้าเมืองแพร่สร้อยไปกินเมืองน่าน แทนท้าวเมืองคำข่าย (หมื่นสามล้าน)
ครั้นจุลศักราช ๘๗๘ พ.ศ. ๒๐๕๙ พระเมืองแก้วให้เจ้าเมืองแพร่คำยอดฟ้าไปครองเมืองน่าน และทรงย้ายเจ้าเมืองน่านไปครองเมืองพะเยา
พระยาแพร่ยอดคำฟ้าครองเมืองน่าน (พ.ศ. ๒๐๕๙, พ.ศ. ๒๐๖๒, พ.ศ. ๒๐๖๙) ต่อมายกทัพไปรบศึกที่เชียงใหม่ป่วยเป็นฝีเนื้อร้ายจนถึงแก่กรรม
จุลศักราช ๙๘๕ พ.ศ. ๒๐๖๖
ขณะที่พม่าเข้าครอบครองลานนาไทย เจ้าอุ่นเฮือนผู้ครองเมืองน่านได้รบกับพม่า สู้พม่า ไม่ได้หนีไปพึ่งเมืองชะเลียง
พอถึงจุลศักราช ๙๘๖ พ.ศ. ๒๐๖๗ เจ้าอุ่นเฮือนก็คุมพวกเข้าหักเอาเมืองน่าน ไล่ข้าศึกหนีจากเมืองน่านไปอยู่เมืองแพร่
จุลศักราช ๙๐๗ พ.ศ. ๒๐๘๘
เมืองเชียงใหม่เกิดจลาจล ทางกรุงศรีอยุธยาแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาได้ยกกองทัพขึ้นมาตีเมืองเชียงใหม่
พระนางจิระประภา ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้นำเอาเครื่องราชบรรณาการไปถวาย พระไชยราชาจึงยกกองทัพกลับ เมืองแพร่จึงตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาไปด้วย
จุลศักราช ๙๑๒ พ.ศ. ๒๐๙๓
พระยาแพร่ เป็นที่พระยาสามล้านเชียงใหม่ได้ร่วมกันคบคิดจะเป็นใหญ่ในนครพิงค์กับ พระยาล้านช้าง พระยาหัวเวียงล้านช้างรวบรวมไพร่พลยกกำลังเข้าไปถึงนครพิงค์จักกระทำร้ายแก่เมือง ครั้นกระทำมิได้ก็ออกหนีไป
ฝ่ายเจ้าขุนทั้งหลายในนครพิงค์ต่างก็แต่งทหารออกรบ พระยาสามล้าน (พระยาแพร่) และพวกก็แตกพ่ายหนีไปเมืองแพร่
จุลศักราช ๙๒๐ พ.ศ. ๒๑๐๑
พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่ายกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ ทหารเมืองเชียงใหม่มีน้อยกว่าพม่า อีกทั้งกองทัพพระเจ้าบุเรงนองเข้มแข็งชาญศึกสงครามกว่าพม่าจึงได้ชัยชนะ
เชียงใหม่ตกเป็นประเทศราชของพม่า เมืองแพร่จึงตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าด้วย
พม่าปกครองประเทศราชในอาณาจักรลานนาไทย อันได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ด้วยการให้ขุนนางของพม่าพร้อมด้วยทหารจำนวนหนึ่งอยู่เป็นข้าหลวงอยู่กำกับเมือง
จุลศักราช ๙๓๑ พ.ศ. ๒๑๑๑
อาณาจักรลานนาไทยถูกพม่าเกณฑ์ให้ยกกองทัพไปช่วยรบกรุงศรีอยุธยา เมืองแพร่ก็ยกกองทัพร่วมไปกับพม่าครั้งนี้ด้วย
และในที่สุด จุลศักราช ๙๓๒ พ.ศ. ๒๑๑๒ กรุงศรีอยุธยาก็แตก ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า อาณาจักรลานนาไทยจึงตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าดังเดิม
จุลศักราช ๙๘๓ พ.ศ. ๒๑๖๓
แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม กรุงศรีอยุธยามีกองทัพไม่ค่อยเข้มแข็งเกรียงไกร อาณาจักรลานนาจึงตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา
จุลศักราช ๙๙๗ พ.ศ. ๒๑๗๗
พระเจ้าสุทโธธรรมราชา กษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่และจับกุมเอาตัว พระเจ้าเชียงใหม่ไปคุมขังไว้ที่เมืองหงสาวดี
เมื่อจัดการปกครองในเมืองเชียงใหม่เรียบร้อยแล้ว พระเจ้าสุทโธธรรมราชายกทัพไปปราบเมืองต่างๆ ในเขตลานนาไทยยึดเมืองทุกเมืองไว้ในอำนาจ เมืองแพร่จึงตกอยู่ในอำนาจของพม่าอีกครั้ง
จุลศักราช ๑๐๒๔ พ.ศ. ๒๒๐๕
แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้ยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ พระองค์ทรงเป็นจอมทัพตีหัวเมืองรายทางตั้งแต่ลำปาง แพร่ ลำพูน จนถึงเมืองเชียงใหม่ โปรดให้เจ้าพระยาโกษาเหล็กถมดินทำเป็นเชิงเทินตั้งปืนใหญ่ ยิงกราดเข้าไปในเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ก็แตก
ฝ่ายกองทัพพม่ายกมาแต่เมืองอังวะเพื่อช่วยเหลือเมืองเชียงใหม่ (เพราะพม่าปกครองเมืองเชียงใหม่) ก็ถูกทัพไทยซุ่มโจมตีกระหนาบแตกพ่ายยับเยินไป
ดังนั้น อาณาจักรลานนาจึงตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา
แทรกกล่าว มีข้อน่าสังเกตว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเมืองแพร่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ขณะใดที่กองทัพเมืองเชียงใหม่เข้มแข็ง เมืองแพร่ก็จะขึ้นอยู่กับเชียงใหม่ หากขณะใดที่ กองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้มแข็ง เมืองแพร่ก็จะขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยา ระยะเวลาใดที่ทั้งสองฝ่ายอ่อนแอหรือเกิดจลาจล เมืองแพร่ก็จะตั้งตนเป็นอิสระทันที
จุลศักราช ๑๑๐๓ พ.ศ. ๒๒๘๓ พระเจ้าอังวะ กษัตริย์พม่าให้โปทัพพะการมังดีเป็นแม่ทัพยกกำลังหนึ่งหมื่นคนมาตีเมืองเทิน เมืองแพร่ เมืองน่าน กวาดต้อนผู้คนในเมืองดังกล่าวไปไว้ที่เมืองเชียงแสน
ในปีต่อมา จุลศักราช ๑๑๐๔ พ.ศ. ๒๒๘๔
พระยาแพร่พร้อมกับเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ มีพระยายองเป็นต้น ต่างรวบรวมไพร่พล ยกเข้ารบพุ่งฆ่าฟันพม่าที่ปกครองเมืองเชียงแสน พม่าทราบข่าวจึงส่งกองทัพใหญ่ลงมาช่วย พระนครลำปางจึงกวาดต้อนผู้คนของตนไปไว้ที่เมืองเทิง
ส่วนพระยายองและพระยาแพร่ ได้นำผู้คนของตนไปไว้ที่เมืองภูคา (อำเภอปัว จ.น่าน) แต่ก็ถูกพม่าตามตีแตกพ่ายจนต้องหนีเข้าไปในเมืองน่าน
จุลศักราช ๑๑๐๕ พ.ศ. ๒๒๘๕ เจ้าเมืองแพร่ และเจ้าเมืองน่านพร้อมด้วยเจ้าเมืองฝ่ายลานนา มีพระยายองเป็นหัวหน้า ต่างรวมกำลังไพร่พลยกไปรบพม่าที่ปกครองเมืองเชียงแสนแล้วตั้งตนเป็นอิสระนครอีกครั้งหนึ่ง
จุลศักราช ๑๑๒๑ พ.ศ. ๒๓๐๒
เจ้าชายแก้ว โอรสพระยาสุละวะฤาไชยสงคราม (ทิพช้าง) เจ้าเมืองละกอน (ลำปาง) พาครอบครัวญาติพี่น้องและบริวารหนีท้าวลิ้นก่านไปซ่องสุมผู้คนอยู่เมืองแพร่ แล้วยกกองทัพไปรบกับท้าวลิ้นก่านที่เมืองลำปางแต่สู้ไม่ได้จึงหนีไปพึ่งพม่า
จุลศักราช ๑๑๒๓ พ.ศ. ๒๓๐๔
กองทัพพม่ายกมาตีเมืองเชียงใหม่ ครั้นแล้วก็ยกกองทัพเข้าตีเมืองลำปาง (เจ้าชายแก้วซึ่งหนีไปพีงพม่าเมื่อคราวก่อนร่วมมากับกองทัพพม่าด้วย) พม่ายึดเมืองลำปางได้ เจ้าชายแก้วจึงจับท้าวลิ้นก่านประหารชีวิตเสีย
กองทัพพม่ายกมายึดครองเมืองแพร่ เมืองน่าน และลานนาไทยเกือบทั้งหมด ครั้นปีต่อมาพม่าจำต้องยกกองทัพกลับเพราะเกิดจลาจลในเมืองอังวะ
จุลศักราช ๑๑๒๙ พ.ศ. ๒๓๑๐ พวกชาวลานนาไทย ถูกพม่าข่มเหงรังแกเบียดเบียน บ่อยครั้งจึงคิดจะกอบกู้อิสรภาพ พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าทราบข่าวได้นำกองทัพใหญ่ลงมาปราบ อาณาจักรลานนาไว้ได้ทั้งหมด
หลังจากปราบปรามหัวเมืองฝ่ายเหนือแล้ว พระเจ้ามังระก็กรีฑาทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยา และในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็เสียอิสรภาพแก่พม่า
เมืองแพร่จึงตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าอีกครั้งหนึ่ง จนถึงจุลศักราช พ.ศ. ๑๑๓๑ พ.ศ. ๒๓๑๒
เมืองแพร่สมัยกรุงธนบุรี
จุลศักราช ๑๑๓๑ พ.ศ. ๒๓๑๒ พงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหอสมุดแห่งชาติกล่าวว่า
หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกเพียงปีเดียว สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ได้รวบรวมกำลังไพร่พล ต่อสู้กับพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น กรุงศรีอยุธยา พิษณุโลก พิชัย สวรรคโลกจนข้าศึกแตกพ่ายหนีไป
จุลศักราช ๑๑๓๒ พ.ศ. ๒๓๑๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเห็นว่าอาณาจักรลานนายังมีพม่ายึดครองอยู่มาก จึงโปรดให้ยกกองทัพขึ้นไปตีพม่าที่ครองเมืองเชียงใหม่
ขณะเดินทางเรือมาถึงเมืองพิชัยก็มีเจ้ามังชัย ผู้ปกครองเมืองแพร่พาขุนนางกรมการเมือง และไพร่พลเข้าเฝ้าถวายบังคมขอเป็นเมืองในขอบขัณฑสีมา
สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดแต่งตั้งให้เป็น “พระยาศรีสุริยวงศ์” แล้วให้เข้าร่วมขบวนทัพ ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่
พระราชพงศาวดารฉบับหอสมุดแห่งชาติกล่าวถึงความตอนนี้ว่า
“พระยาแพร่ ผู้ชื่อว่า มังไชย พม่าจับตัวไปครั้งทัพอะแซหวุ่นกี้มาตีเมืองพิษณุโลกมากับกองทัพครั้งนี้ด้วย พระยาแพร่มีจิตคิดสวามิภักดิ์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพฯ จึงคิดอ่านชักชวนพระยายองยกกองทัพไปตีเมืองเชียงแสน เจ้าเมืองเชียงแสนสู้ไม่ได้จึงหนีไปหาพระยาเชียงราย พระยาแพร่ และพระยายอง ก็ยกทัพติดตามไปที่เชียงราย
พระยาเชียงรายเห็นว่า พระยาแพร่และพระยายองเป็นชนชาติเชื้อลาวด้วยกัน จึงจับตัว เจ้าเมืองเชียงแสนชื่อ อาปรกามณี เป็นชาวพม่าส่งให้พระยาแพร่และพระยายอง”
พระราชพงศาวดารเมืองเหนือ กล่าวถึงความตอนนี้ว่า
จุลศักราช ๑๑๓๓ พ.ศ. ๒๓๑๔ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพไปตีเชียงใหม่, มังไชยะ เจ้าเมืองแพร่มาสวามิภักดิ์จึงโปรดตั้งให้เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์แล้วเกณฑ์ไปตีเมืองเชียงใหม่ด้วย
ปีกุน เอกศก จุลศักราช ๑๑๔๑ เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ได้แต่งกองทัพหลวง ๓๐๐ คน ให้มาตรวจราชการทางเมืองแพร่ เมืองน่าน ตลอดไปจนถึงเมืองนครลำปาง
กองข้าหลวงดังกล่าวได้ทำโจรกรรมแย่งชิงทรัพย์สินของราษฎร ฉุดคร่าบุตรภรรยาของ ชาวบ้านไปทำอนาจารต่างๆ ราษฎรได้นำความเข้าร้องทุกข์ต่อพระยากาวิละ เจ้าเมืองนครลำปาง พระยากาวิละขัดใจก็ยกพวกไพร่พลออกไปขับไล่ฆ่าฟันข้าหลวงที่อยู่บ้านวังเกิง ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบข่าวจึงให้มีตราหาตัวพระยากาวิละลงไปกรุงเทพฯ แต่พระยากาวิละก็ขัดตราเสียหาไปไม่ พระยากาวิละคิดจะทำความชอบแก้โทษที่ทำผิดจึงยกกองทัพไปตีเมืองลอ เมืองเทิง กวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยจำนวนมากแล้วจึงลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงธนบุรี แต่พระยากาวิละยังถูกลงโทษอีกนั่นเองคือทรงให้เฆี่ยน ๑๐๐ ที แล้วให้จำคุกไว้
พระยากาวิละได้ร้องขออาสาไปตีเมืองเชียงแสนแก้โทษ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรง พระกรุณาโปรดพระราชทานให้ถอดออกจากคุกและให้ไปทำราชการตามเดิม
พระยากาวิละไปถึงเมืองป่าช้าง จึงแต่งให้พระยาอุปราชคุมพลร้อยเศษไปเกลี้ยกล่อม
นาขวา เมืองเชียงแสน เพราะเวลานั้นกองทัพพม่าเลิกไปหมดแล้ว ให้นาขวารักษาเมืองไว้พร้อมด้วยทหารพม่าจำนวนหนึ่ง
นาขวาปลงใจด้วยกับพระยาอุปราช พระยากาวิละจึงได้ตัวพระยาแพร่ พระยาเถินคืนจากพม่า
จุลศักราช ๑๑๔๒ พ.ศ. ๒๓๒๓ เดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำ พงศาวดารเมืองน่านฉบับหอสมุดแห่งชาติกล่าวว่า พญาจ่าบ้าน พญาละกอน พญาแพร่ และชาวเมืองหลวงพระบางได้ร่วมกันคบคิดยกทัพไปพร้อมกันที่สมกก เพื่อไปตีเมืองเชียงแสน และในที่สุดก็ตีเมืองเชียงแสนได้เมื่อเดือน ๗ ขึ้น ๙ ค่ำ วันจันทร์ยามเช้า
จุลศักราช ๑๑๔๔ พ.ศ. ๒๓๒๕ พงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหอสมุดแห่งชาติกล่าวว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากบุคคลสำคัญของอาณาจักรลานนาไทย เช่น พระยา จ่าบ้าน เจ้ากาวิละทำการขับไล่ฆ่าฟันพม่าที่ยึดครองเมืองเชียงใหม่จนพวกพม่าแตกพ่ายหนีไป หลังจากนั้นได้เข้าตีหัวเมืองอื่นๆ เช่น ลำปาง ลำพูน เชียงราย แพร่ น่าน ขับไล่พม่าไปจนหมดสิ้น
เมืองแพร่และเมืองอื่นๆ ดังกล่าวจึงอยู่ใต้อำนาจของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีอีกครั้งหนึ่ง
เมืองแพร่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ระหว่างจุลศักราช ๑๑๔๗ - จุลศักราช ๑๒๒๙ (พ.ศ. ๒๓๒๘ - พ.ศ. ๒๔๑๐)
จุลศักราช ๑๑๔๗ พ.ศ. ๒๓๒๘ พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนกล่าวว่ากษัตริย์พม่าแต่งให้กาละมังดีเป็นแม่ทัพมีกำลังหมื่นหนึ่ง ยกมาตีอาณาจักรลานนาแวะถึงเมืองเชียงแสนในเดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำวันเสาร์ เข้ายึดเมืองเชียงแสนได้แล้วยกทัพเข้าตีเมืองเทิง
ฝ่ายเมืองเชียงใหม่และละกอนลำปาง ต่างพร้อมใจกันรวบรวมไพร่พลต่อสู้กับพม่าและ ป้องกันเมืองเอาไว้ได้
ฝ่ายพญาแพร่ พญาน่าน เห็นว่ากองทัพพม่าใหญ่หลวงนักเกรงจะสู้ไม่ได้ จึงบ่สู้บ่รบ ยอมอ่อนน้อมเป็นข้าของพม่าแต่โดยดี
แม่ทัพพม่าคือ กาละมังดี จึงให้พญาแพร่ พญาน่าน ยกกองทัพไปแวดล้อมเมืองละกอนไว้ เมื่อพม่าไม่สามารถตีเอาเมืองใดได้ จึงล่าถอยทัพกลับไป
จุลศักราช ๑๑๔๘ พ.ศ. ๒๓๒๙ เดือน ๕ เพ็ญ พญาแพร่พร้อมกับเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ คิดกอบกู้เอกราชคืนจากพม่า จึงยกทัพไปตีเมืองเชียงแสน มวยหวาน ซึ่งปกครองเมืองเชียงแสนหนีพ่ายไปเชียงราย
พญาเชียงรายจับตัวได้ส่งไปยังเมืองละกอนลำปาง พญาละกอนส่งตัวมวยหวานไปยังกรุงเทพฯ
ฝ่ายพญาละกอน เมื่อส่งมวยหวานไปกรุงเทพฯ แล้ว ก็ยกกองทัพไปเมืองเชียงแสนจับตัว พญาแพร่ใส่คา จองจำส่งตัวลงกรุงเทพฯ
จุลศักราช ๑๑๖๘ พ.ศ. ๒๓๒๘ พม่าส่งกองทัพมาตีหัวเมืองอาณาจักรลานนา แต่เวลานั้นทางเมืองเชียงใหม่ยังร้างอยู่ไม่มีใครปกครอง จึงเลยลงไปตีเมืองลำปาง เจ้าเมืองลำปางคือพระยา กาวิละได้ต่อสู้ต้านทานทัพพม่า สามารถรักษาเมืองไว้ได้ พม่าจึงแต่งกองทัพให้ล้อมเมืองไว้ก่อน
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทราบข่าวศึก จึงโปรดให้กรมหลวงเจษฎายกกองทัพขึ้นมาช่วย
ฝ่ายพระยากาวิละ รู้ว่ากองทัพในกรุงขึ้นมาช่วยก็มีกำลังห้าวหาญยกกองทัพตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกจากเมือง ได้สู้รบกันตั้งแต่เช้าจนเที่ยง กองทัพพม่าจึงแตกพ่ายไป
เมื่อกองทัพพม่าถูกไล่ออกจากอาณาจักรลานนาแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้โปรดพระราชทานบำเหน็จให้แก่เจ้านายฝ่ายเหนือโดยให้พระยากาวิละเจ้าเมืองลำปางขึ้นไปครองเมืองเชียงใหม่
ส่วนพระยามังชัย เจ้าเมืองแพร่ พระองค์ทรงเห็นว่าถ้าจะให้ไปครองเมืองแพร่ก็ยังไม่ไว้วางพระราชหฤทัย เพราะพระยามังชัยเคยอยู่กับพม่ามานาน จึงโปรดให้ไปช่วยราชการอยู่ที่เมืองลำปางก่อน
จุลศักราช ๑๑๗๑ พ.ศ. ๒๓๓๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงโปรดให้ เจ้าเมืองฝ่ายเหนือยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง พระยามังชัย เจ้าเมืองแพร่ ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่เมืองลำปางได้ร่วมไปกับกองทัพด้วย พระยามังชัยได้แสดงความห้าวหาญชาญศึกอาสาเป็นนายกองหน้าเข้าตีเมืองเชียงตุง และสามารถตีเมืองเชียงตุงจนได้ชัยชนะ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงเห็นความดีและความสามารถจึงโปรดให้กลับไปครองเมืองแพร่ดังเดิม
หลังจากรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแล้ว ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองแพร่ไม่มีกล่าวถึงจนกระทั่งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมืองแพร่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง
ระหว่างจุลศักราช ๑๒๕๓ - จุลศักราช ๑๒๙๖ (พ.ศ. ๒๔๓๔ - พ.ศ. ๒๔๗๗)
จุลศักราช ๑๒๕๓ พ.ศ. ๒๔๓๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนระบอบการปกครองประเทศ เป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล มีข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลลดอำนาจเจ้าผู้ครองเมืองให้น้อยลงกว่าเดิม
เมืองแพร่ พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งปลัดมณฑลพิษณุโลก มาเป็นข้าหลวงกำกับการปกครองเมืองแพร่เป็นคนแรกในปี พ.ศ. ๒๕๔๐
หนังสือการปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพ พ.ศ. ๒๔๓๖ - พ.ศ. ๒๔๗๖ กล่าวถึงตอนนี้ว่า
เมืองแพร่จัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลหลังจากพระยาทรงสุรเดช ได้ไปตรวจ ราชการในเมืองแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ กล่าวคือ
เมื่อพระยาทรงสุรเดชไปถึงเมืองแพร่ “พระยาพิริยวิไชย” เจ้าเมืองแพร่ได้ให้การต้อนรับพระยาทรงสุรเดชเป็นอย่างดี พร้อมกับแสดงความจำนงให้พระยาทรงสุรเดชทราบว่าต้องการให้จัด ราชการ ๖ ตำแหน่งขึ้นในเมืองแพร่ให้เหมือนกับแบบแผนราชการเมืองเชียงใหม่ เหตุที่พระพิริยวิไชยเสนอเช่นนั้นก็ประสงค์จะขอพระราชทานเลื่อนยศขึ้นเป็น “เจ้า”
พระยาทรงสุรเดชเห็นว่างานราชการทั้งหมดของเมืองแพร่ตกอยู่ในอำนาจของพระยา
พิริยวิไชยทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อให้การปกครองของเมืองแพร่เรียบร้อย จึงให้ทำการทดลองจัดราชการ ๖ ตำแหน่งขึ้นในเมืองแพร่
พระยาทรงสุรเดชได้มอบหมายให้ นายราชาภักดิ์ ข้าหลวงเมืองแพร่ ทำหน้าที่เป็น ที่ปรึกษาของพระยาพิริยวิไชย จัดการราชการงานในเมืองแพร่ร่วมกัน
แทรกกล่าว มีข้อน่าสังเกตว่า
ประวัติศาสตร์เมืองเหนือของ ตรี อมาตยกุล กล่าวว่า “โปรดเกล้าฯ ให้พระยาไชยบูรณ์ไปเป็นข้าหลวงกำกับการปกครองเมืองแพร่เป็นคนแรกปี พ.ศ. ๒๔๔๐”
ส่วนปริญญานิพนธ์ของสรัสวดี ประยูรเสถียร ข้างต้นนี้กล่าวว่า พระยาทรงสุรเดชได้ มอบหมายให้ นายราชาภักดิ์ ข้าหลวงเมืองแพร่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของพระยาพิริยวิไชย จัดการ ราชการงานในเมืองแพร่ร่วมกัน
จึงทำให้เป็นที่น่าสงสัยว่า นายราชาภักดิ์ หรือพระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงเมืองแพร่ คนแรกกันแน่
กบฏเงี้ยวเมืองแพร่
จุลศักราช ๑๒๖๔ พ.ศ. ๒๔๔๕
ในขณะที่พระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงกำกับการปกครองเมืองแพร่อยู่นั้น ปรากฏว่ามีพวกเงี้ยวหรือไทยใหญ่ได้คบคิดกันก่อการจลาจลขึ้นในเมืองแพร่ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
วันศุกร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ เวลาประมาณ ๗ นาฬิกา พวกไทยใหญ่นำโดย พะกาหม่องและสะลาโปไชย หัวหน้าพวกโจรเงี้ยวนำกองโจรประมาณ ๔๐ - ๕๐ คน บุกเข้าเมืองแพร่ทางด้านประตูชัย จู่โจมสถานีตำรวจเป็นจุดแรก
ขณะนั้นสถานีตำรวจเมืองแพร่มีประมาณ ๑๒ คน จึงไม่สามารถต้านทานได้ กองโจรเงี้ยวเข้ายึดอาวุธตำรวจแล้วพากันเข้าโจมตีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข โจรเงี้ยวได้ตัดสายโทรเลขและทำลายอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เพื่อตัดปัญหาการสื่อสาร ครั้นแล้วก็มุ่งหน้าสู่บ้านพักข้าหลวงประจำเมืองแพร่ แต่ก่อนที่กองโจรเงี้ยวจะไปถึงบ้านพักข้าหลวงนั้น พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) ได้พา ครอบครัวพร้อมด้วยคุณหญิงเยื้อน ภริยาหลบหนีออกจากบ้านพักไปก่อนแล้ว
พวกโจรเงี้ยวไปถึงบ้านพักไม่พบพระยาไชยบูรณ์จึงบุกเข้าปล้นทรัพย์สินภายในบ้านพักข้าหลวง และสังหารคนใช้ที่หลงเหลืออยู่จนหมดสิ้น
จากนั้นจึงยกกำลังเข้ายึดที่ทำการเค้าสนามหลวง ทำลายคลังหลวงและกวาดเงินสดไปทั้งหมด ๔๖,๙๑๐ บาท ๓๗ อัฐ
หลังจากนั้นพวกโจรเงี้ยวก็มุ่งตรงไปยังเรือนจำเพื่อปล่อยนักโทษให้เป็นอิสระพร้อมกับ แจกจ่ายอาวุธให้แก่นักโทษเหล่านั้น ทำให้พวกกองโจรเงี้ยวได้กำลังสนับสนุนเพิ่มขึ้นอีกจนภายหลังมีกำลังถึง ๓๐๐ คน
ในระหว่างที่กองโจรเงี้ยวเข้าโจมตีสถานที่ราชการต่างๆ อยู่นั้น ราษฎรเมืองแพร่ตื่นตกใจกันมาก บางส่วนได้อพยพหลบออกไปอยู่นอกเมืองทันที กองโจรเงี้ยวจึงประกาศให้ราษฎรอยู่ในความสงบ เพราะพวกตนจะไม่ทำร้ายชาวเมืองจะฆ่าเฉพาะคนไทยภาคกลางที่มาปกครองเมืองแพร่เท่านั้น ราษฎรจึงค่อยคลายความตกใจลง และบางส่วนได้เข้าร่วมกับพวกกองโจรเงี้ยวก็มี ทำให้กองโจรเงี้ยวทำงานคล่องตัวและมีกำลังเข้มแข็งขึ้น
ขณะเดียวกันพระยาไชยบูรณ์ซึ่งพาภริยา คือ คุณหญิงเยื้อนหลบหนีออกจากบ้านพักตรงไปยังคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ หวังขอพึ่งกำลังเจ้าเมืองแพร่หรือเจ้าหลวงเมืองแพร่ คือ พระยาพิริยวิไชย
เมื่อไปถึงคุ้มเจ้าหลวง เจ้าหลวงเมืองแพร่กล่าวว่า “จะช่วยอย่างไรกัน ปืนก็ไม่มี ฉันก็จะหนีเหมือนกัน”
พระยาไชยบูรณ์ตัดสินใจพาภริยาและหญิงรับใช้หนีออกจากเมืองแพร่ไปทางบ้านมหาโพธิ์เพื่อหวังไปขอกำลังจากเมืองอื่นมาปราบ
ส่วนเจ้าเมืองแพร่นั้นหาได้หลบหนีไปตามคำอ้างไม่ ยังคงอยู่ในคุ้มตามเดิม
ตอนสายของวันที่ ๒๕ กรกฎาคม เมื่อกองโจรเงี้ยวสามารถยึดเมืองแพร่ได้แล้ว พะกาหม่องและสะลาโปไชยก็ไปที่คุ้มเจ้าหลวง เพื่อเชิญให้เจ้าเมืองแพร่ปกครองบ้านเมืองตามเดิม
ก่อนจะปกครองเมือง พะกาหม่องได้ให้เจ้าเมืองแพร่และเจ้านายบุตรหลานทำพิธีถือ น้ำสาบานก่อน โดยมีพระยาพิริยวิไชยเป็นประธานร่วมด้วยเจ้าราชบุตร เจ้าไชยสงครามและเจ้านายบุตรหลานอื่นๆ รวม ๙ คน
ในพิธีนี้มีการตกลงร่วมกันว่าจะร่วมกันต่อต้านกองทัพของรัฐบาลโดยพวกกองโจรเงี้ยวเป็นกองหน้าออกสู้รบเอง ส่วนเจ้าเมืองและคนอื่นๆ เป็นกองหลังคอยส่งอาหารและอาวุธตลอดทั้งกำลังคน
วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พวกกองโจรเงี้ยวเริ่มลงมือตามล่าฆ่าข้าราชการไทยและคนไทย ภาคกลางทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือสตรีที่หลบหนีไปโดยประกาศให้รางวัลนำจับ เฉพาะค่าหัวพระยาไชยบูรณ์และพระเสนามาตย์ยกบัตรเมืองแพร่ คนละ ๕ ชั่ง หรือ ๔๐๐ บาท นอกนั้นลดหลั่นลงตามลำดับความสำคัญ แต่อย่างต่ำจะได้ค่าหัวคนละ ๔๐ บาท
วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พระยาไชยบูรณ์ซึ่งอดอาหารมาเป็นเวลา ๓ วัน กับ ๒ คืน โดยหลบซ่อนอยู่บนต้นข่อยกลางทุ่งนาใกล้ๆ กับหมู่บ้านร่องกาด ได้ออกจากที่ซ่อนเพื่อขออาหารจากชาวบ้านร่องกาด
ราษฎรคนหนึ่งในบ้านร่องกาดชื่อหนานวงศ์ จึงนำความไปแจ้งต่อพะกาหม่องเพื่อจะเอาเงินรางวัล
พะกาหม่องนำกำลังไปล้อมจับพระยาไชยบูรณ์ทันที จับตัวได้ก็ควบคุมตัวกลับเข้าเมืองแพร่ และได้บังคับขู่เข็ญพระยาไชยบูรณ์ตลอดทาง
พระยาไชยบูรณ์จึงท้าทายให้พวกโจรเงี้ยวฆ่าตนเสียดีกว่า ดังนั้นพอมาถึงทางระหว่างร่องกวางเคา (ปัจจุบันเรียกว่าร่องคาว) โจรเงี้ยวคนหนึ่งชื่อ จองเซิน จึงคิดฆ่าพระยาไชยบูรณ์ทันที
นอกจากพระยาไชยบูรณ์แล้ว พวกโจรเงี้ยวยังได้จับข้าราชการไทยอีกหลายคนฆ่า ที่สำคัญได้แก่
พระเสนามาตย์ ยกกระบัตรศาล
หลวงวิมล ข้าหลวงผู้ช่วย
ขุนพิพิธ ข้าหลวงคลัง
นายเฟื่อง ผู้พิพากษา
นายแม้น อัยการ
นายอำเภอ ปลัดอำเภอ และสมุห์บัญชีอำเภอต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก นับเป็นการเข่นฆ่าข้าราชการไทยครั้งยิ่งใหญ่จริงๆ ในภาคเหนือ
ทางรัฐบาลไทยได้ส่งกองทัพจากเมืองใกล้เคียง เช่น พิชัย สวรรคโลก สุโขทัย ตาก น่าน และเชียงใหม่ เข้ามาปราบปรามพวกกองโจรเงี้ยวอย่างรีบด่วน โดยกำหนดให้ทุกเมืองระดมกำลังเข้าปราบปราม พวกกองโจรเงี้ยวในเมืองแพร่พร้อมกันทุกด้าน และยังได้มอบหมายให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) นำกองทัพหลวงขึ้นมาปราบปรามพร้อมทั้งให้ดำเนินการสอบสวนสาเหตุการปล้นครั้งนี้ด้วยและให้ถือว่าเป็น “กบฏ” ด้วย ดังนั้นจึงเรียกว่า กบฏเงี้ยวเมืองแพร่
ส่วนพวกกองโจรเงี้ยวเมื่อสามารถก่อการกบฏได้สำเร็จก็ไม่ได้ตระเตรียมกำลังป้องกันแต่อย่างใด
จนกระทั่งวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ เมื่อทราบข่าวว่ากองทัพรัฐบาลจะมาปราบปรามจึงได้แบ่งกำลังออกเป็น ๒ กอง กองหนึ่งนำโดยสะลาโปไชย ยกกำลังไปทางด้านใต้เพื่อขัดตาทัพ รัฐบาลที่ส่งมา อีกกองหนึ่งนำโดยพะกาหม่อง ยกกำลังไปทางด้านตะวันตกเพื่อโจมตีนครลำปางหวังยึดเมืองเป็นฐานกำลังอีกแห่งหนึ่ง
การโจมตีนครลำปางนั้น พวกกองโจรเงี้ยวต้องประสบกับความผิดหวัง เพราะนครลำปางรู้เหตุการณ์และเตรียมกำลังไว้ต่อสู้อย่างรวดเร็ว
เมื่อพวกเงี้ยวไปถึงนครลำปางในวันที่ ๓ สิงหาคม จึงถูกฝายนครลำปางตีโต้กลับทำให้ กองโจรเงี้ยวแตกพ่ายหนีกระจัดกระจายไป ตัวผู้นำคือ พะกาหม่องต้องสูญเสียชีวิตเพราะถูกยิงในระหว่างการต่อสู้
ส่วนพวกกองโจรเงี้ยวที่นำโดยสะลาโปไชยนั้น ในระยะแรกสามารถสกัดทัพเมืองพิชัยไว้ได้ชั่วคราว แต่ก็ไม่สามารถต้านทานทัพเมืองสวรรคโลกและสุโขทัยได้ จึงถอยกลับไปตั้งหลักที่เมืองแพร่ตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม
แต่ในที่สุดพวกโจรเงี้ยวก็หนีกระจัดกระจายไปเพราะต่อสู้ไม่ไหว
ดังนั้น ในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพ เนติโพธิ์) ผู้ว่าราชการเมืองพิชัย จึงนำกองกำลังตำรวจภูธรและทหารจำนวนหนึ่งบุกเข้าเมืองแพร่ได้สำเร็จ
วันที่ ๒๐ สิงหาคม เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ก็นำทัพหลวงถึงเมืองแพร่ หลังจากเหตุการณ์สงบลงหลายวันแล้ว เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงทำการสอบสวนความผิดผู้ เกี่ยวข้องทันที
ขั้นแรก ได้สั่งจับชาวเมืองแพร่ ราษฎรบ้านร่องกาด คือ หนานวงค์ ที่หวังเงินรางวัลนำจับพระยาไชยบูรณ์มาประหารชีวิตเป็นเยี่ยงอย่างก่อน
ขั้นที่สอง สั่งให้จับตัว พญายอด ผู้นำจับหลวงวิมลมาประหารชีวิตอีกคนหนึ่ง
จากนั้นเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้สอบสวนพยานหลายคน โดยยึดถือตามแนวนโยบายที่กรมหลวงดำรงราชานุภาพทรงกำชับไว้ คือ ไม่ให้ตั้งข้อสงสัย หรือกล่าวหาเจ้าเมืองแพร่และเจ้านายบุตรหลานล่วงหน้า
เมื่อสอบสวนพยานเสร็จไปหลายคน ก็พบหลักฐานต่างๆ ผูกมัดเจ้าเมืองแพร่และ เจ้านายบุตรหลานบางคน เช่น เจ้าราชบุตร เจ้าไชยสงครามอย่างแน่นหนาว่ามีส่วนรู้เห็นเป็นใจกับกบฎครั้งนี้ ดังคำให้การของพระยาเขื่อนขัณฑ์อดีตนายแคว้น (กำนัน) เมืองสอง เป็นคนที่เจ้าเมืองแพร่ไว้วางใจ ได้กล่าวให้การไว้ตอนหนึ่งว่า
“เจ้าแพร่พูดว่า เมืองแพร่ต่อไปจะเป็นของไทยนานเท่าใด จะต้องเป็นเมืองของเงี้ยว เจ้าแพร่จะคิดให้พะกาหม่อง สะลาโปไชย ซึ่งเป็นหัวหน้าเงี้ยวบ่อแก้วเข้ามาตีปล้นเมืองแพร่ พวกเงี้ยวจะจับคนไทยฆ่าเสียให้หมด แต่พะกาหม่องและสะลาโปไชยจะยกเข้าตีเมืองแพร่เมื่อใดยังไม่มีกำหนด
ถ้าจะให้พะกาหม่องและสะลาโปไชยยกเข้าตีเมืองแพร่วันใด จะได้มีหนังสือไปนัดพะกาหม่องและสะลาโปไชยทราบ เจ้าแพร่ได้สั่งข้าพเจ้าว่า เมื่อออกนอกราชการแล้ว อย่ามาเที่ยวเกะกะ วุ่นวายทำราชการกับไทย เมื่อเงี้ยวมันเข้าตีบางทีจะถูกปืนตายเสียเปล่า ผู้ที่ร่วมคิดให้เงี้ยวเข้าปล้นเมืองแพร่คราวนี้ เจ้าหลวงบอกข้าพเจ้าว่า พระยาราชบุตร พระไชยสงคราม เป็นผู้ร่วมคิดด้วย”
นอกจากนั้น ก่อนที่พวกโจรเงี้ยวเข้าปล้นเมืองแพร่ก็ได้ส่งข่าวมาบอกเจ้าเมืองแพร่ไว้แล้ว ดังคำให้การของหลวงจิตรจำนงค์ เจ้าของสัมปทานป่าไม้มีความว่า
“พระไชยสงครามไปที่บ้านข้าพเจ้าว่า วันที่ ๒๔ กรกฎาคม เวลากลางคืนประมาณ ๓ ทุ่มเศษ พวกเงี้ยวมีหนังสือมาบอกเจ้าแพร่ว่าถ้าในกลางคืนนี้ไม่ทัน ก็จะยกเข้าปล้นเวลาเช้ามืด”
เจ้าเมืองแพร่รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าจึงได้ป้องกันภัยแก่ญาติและคนสนิท ดังนายส่างกราบ ผู้ ดูแลคุ้มหลวงได้ให้การไว้ตอนหนึ่งว่า
“ครั้นข้าพเจ้าเข้านอนเฝ้าคุ้มหลวงได้ ๖ คืน เจ้าหลวงก็บอกข้าพเจ้าว่า พวกเงี้ยวจะพากันเข้ามาปล้นเมืองแพร่วันพรุ่งนี้รู้หรือเปล่า ข้าพเจ้าก็บอกว่าไม่รู้
เจ้าหลวงจึงบอกข้าพเจ้าไปเอาปืน ๑๒ นัดที่บ้านพระไชยสงครามมาป้องกันตัวไว้ ๑ กระบอก”
ในวันที่ ๒๔ กรกฎาคมนั้น เจ้าเมืองแพร่ก็ได้เรียกตัว เจ้าพลอยแก้ว หลานสาวซึ่งไป คลุกคลีอยู่ในบ้านพักข้าหลวงกับคุณหญิงเยื้อน ภริยาของพระยาไชยบูรณ์ให้กลับคุ้มด่วน เพราะเกรงอันตรายจากพวกเงี้ยวจะเกิดแก่เจ้าพลอยแก้ว
เมื่อพวกกองโจรเงี้ยวปล้นเมืองแพร่สำเร็จแล้ว เจ้าเมืองแพร่ได้แสดงตัวเป็นผู้สนับสนุนพวกโจรเงี้ยวอย่างเด่นชัด โดยเกณฑ์ข้าวสารชาวบ้านหลังคาละ ๒ ทะนาน อาวุธปืน กระสุนดินดำ เงิน และกองกำลัง จำนวน ๕๐ คน ส่งไปช่วย พะกาหม่องต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล
จากหลักฐานต่างๆ ที่กล่าวมาทำให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเข้าใจว่า เจ้าเมืองแพร่ เจ้า ราชบุตร เจ้าไชยสงคราม มีส่วนสนับสนุนให้กองโจรเงี้ยวก่อการกบฏขึ้นอย่างแน่นอน และเชื่อว่าต้องมีการตระเตรียมการล่วงหน้ามาช้านานพอสมควร
ก่อนที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจะได้ชำระความผิดผู้ใด เจ้าราชวงษ์และภริยาก็ตกใจกลัวความผิดดื่มยาพิษฆ่าตัวตายเสียก่อน เพราะได้ข่าวลือว่ารัฐบาลจะประหารชีวิตผู้เกี่ยวข้องกับกบฏเงี้ยว ทุกคน
เมื่อเกิดอัตวินิบาตกรรมขึ้นเช่นนี้ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเกรงว่าจะเป็นการสร้างความ เข้าใจผิดกันว่ารัฐบาลกระทำการรุนแรงต่อเจ้านายเมืองแพร่ ครั้นจะสืบหาพยานต่อไปอีกหลักฐานก็จะผูกมัดเจ้าเมืองแพร่ และเจ้านายบุตรหลานที่เกี่ยวข้องยิ่งขึ้น จนในที่สุดจะต้องถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหากบฏอย่างแน่นอน หากคดีจบในรูปนั้นย่อมกระทบกระเทือนใจเจ้านายฝ่ายเมืองเหนือทุกเมือง เพราะต่างเกี่ยวพันฉันท์ญาติผู้สืบสายราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนด้วยกัน ทั้งยังสร้างความสะเทือนใจแก่ราษฎรทั้งหลายในลานนาไทย
ดังนั้นเจ้าพระยาสุรศักศ์มนตรี จึงพยายามคิดหาวิธีที่ละมุนละม่อมตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งต้องการใช้วิธีผ่อนปรนต่อเจ้านายเมืองแพร่ ขณะเดียวกันก็พยายามไม่ให้เจ้านายเมืองแพร่ตื่นตกใจหนีเข้าพึ่งอิทธิพลอังกฤษ อันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศได้
ในที่สุด เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีก็ใช้วิธีปล่อยข่าวว่าจะมีการจับกุมตัวเจ้าเมืองแพร่และ เจ้าราชบุตร ข่าวลือนี้ได้ผล เพราะตอนดึกคืนนั้น เจ้าเมืองแพร่พร้อมด้วยคนสนิทอีกสองคนก็หลบหนีออกจากเมืองแพร่ทันที
อย่างไรก็ดี การหลบหนีของเจ้าเมืองแพร่ในคืนนั้นได้รับการสนับสนุนจากเจ้าพระยา สุรศักดิ์มนตรี โดยมีคำสั่งลับมิให้กองทหารที่ตั้งสกัดอยู่รอบเมืองแพร่ขัดขวาง ทำให้การหลบหนีของ เจ้าเมืองแพร่เป็นไปอย่างสะดวกจนถึงหลวงพระบางอย่างปลอดภัย
เมื่อเจ้าเมืองแพร่หนีไปได้ ๑๕ วัน ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการ จึงเป็นโอกาสให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีสามารถออกคำสั่งถอดเจ้าพิริยเทพวงศ์ออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองแพร่ทันที พร้อมกับสั่งอายัดทรัพย์เพื่อชดใช้หนี้หลวงที่เจ้าเมืองแพร่ค้างกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สำหรับคดีความผิดฐานร่วมก่อการกบฏก็เป็นอันต้องระงับโดยปริยาย ไม่มีการรื้อฟื้นขึ้นอีก
เจ้าพิริยเทพวงศ์ เจ้าเมืองแพร่คนสุดท้ายได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายที่เมืองหลวงพระบางจนถึงแก่พิราลัย
สำหรับเจ้าราชบุตร ผู้เป็นบุตรเขยเจ้าเมืองแพร่นั้น มีพยานหลักฐานและพฤติการณ์บ่งชัดว่าได้รู้เห็นเป็นใจกับพวกเงี้ยวเพราะโดยหน้าที่ เจ้าราชบุตรเป็นร้อยตำรวจเอกจะต้องนำกำลังออกต่อสู้ต้านทานพวกโจรเงี้ยว แต่ปรากฏว่าเจ้าราชบุตรไม่ได้ทำหน้าที่อันควรกระทำ กลับไปทำสิ่งตรงกันข้ามคือ เป็นผู้เกณฑ์กำลังออกไปสนับสนุนพวกโจรเงี้ยว ทั้งยังส่งกระสุนดินดำพร้อมเสบียงอาหารให้พวกเงี้ยว พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นความผิดขั้นรุนแรงมีโทษถึงประหารชีวิต แต่เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายหลีกเลี่ยงการประหารชีวิต เพราะไม่ประสงค์จะให้กระทบกระเทือนใจเจ้านายเมืองเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าราชบุตรเป็นบุตรชายของเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าเมืองน่าน หากกระทำตามกฎเกณฑ์ก็จะกระทบกระเทือนใจเจ้าเมืองน่าน ดังนั้น เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงสั่งให้ร้อยตำรวจเอกเจ้าราชบุตรนำกองกำลังตามขึ้นไปตีพวกโจรเงี้ยวที่แตกไปอยู่ตำบลสะเอียบ อันเป็นวิธีสร้างความดีลบล้างความผิด ซึ่งร้อยตำรวจเอกเจ้าราชบุตรก็สามารถกระทำงานที่มอบหมายสำเร็จคือตีพวกกองโจรเงี้ยวจนแตกพ่ายไป ได้ริบทรัพย์จับเชลยกลับมาเป็นจำนวนมาก
ในปีต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๖ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าเมืองน่าน ได้ขอย้ายเจ้าราชบุตรไปรับราชการที่เมืองน่าน และขอรับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าราชดนัย อันเป็นตำแหน่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเห็นชอบด้วย
เมื่อพิจารณา สาเหตุกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ อาจแบ่งได้เป็น ๒ ประการ คือ
ประการแรก เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองภายในเมืองแพร่นับตั้งแต่ช่วงจัดการ ปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งเป็นตอนที่รัฐบาลยุบเลิกฐานะเมืองประเทศราชและรวมอำนาจเข้าสู่ ส่วนกลาง ดังจะเห็นได้ว่าฐานะทางการเมืองนั้น เจ้าเมืองมีแต่เกียรติยศ ไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง เพราะอำนาจสิทธิขาดตกเป็นของข้าหลวง ซึ่งเป็นข้าราชการที่ส่งมาจากส่วนกลาง
ในทางด้านเศรษฐกิจก็ถูกตัดทอนผลประโยชน์ลงสร้างความไม่พอใจแก่เจ้าเมือง และ เจ้านายบุตรหลานทั้งหลายในแต่ละเมือง จึงปรากฏปฏิกิริยาออกมาในลักษณะต่างๆ กัน เช่นที่เชียงใหม่เจ้านายบุตรหลานไม่พอใจเรื่องลดผลประโยชน์เป็นอันมาก เมืองแพร่ตกอยู่ในสภาพลำบาก เนื่องจากในช่วงที่พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้จัดการอย่าง รุนแรงและบีบบังคับยิ่งกว่าเมืองอื่นๆ โดยไม่คำนึงถึงว่าเมืองแพร่เพิ่งจะจัดการปกครองเป็นครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๓๗
ในครั้งนั้น ด้านการคลังพระยาทรงสุรเดชยังผ่อนปรน ไม่ได้แบ่งเงินผลประโยชน์ของ เจ้าเมืองออกจากเงินแผ่นดิน ดังนั้น เจ้าพิริยเทพวงศ์จึงเก็บรักษาเงินปนกันหมด และนำเงินหลวงมาจ่ายในกิจการป่าไม้ของตนก่อน โดยเข้าใจว่าเป็นเงินของตน เมื่อพระยาศรีสหเทพตรวจสอบการเงินก็พบว่าเงินหลวงขาดไป จึงสั่งกักขังเจ้าเมืองแพร่ไว้จนกว่าจะหาเงินมาชดใช้ให้ครบภายใน ๒๔ ชั่วโมง เจ้านายบุตรหลานต้องหาเงินมาชดใช้จนครบ เจ้าเมืองแพร่จึงได้รับการปล่อยตัว
นับเป็นการกระทำที่บีบคั้นจิตใจและไม่ให้เกียรติกัน นอกจากนั้นยังกำหนดอัตราการใช้จ่ายเงินของเจ้าเมืองแพร่ไม่ให้จ่ายฟุ่มเฟือย เพราะฐานะทางเศรษฐกิจตกต่ำ จนกระทั่งกำหนดให้ใช้เงินเพียงเดือนละ ๒,๐๐๐.- บาท และจะต้องขอยืมจากท้องพระคลังก่อน
ประการที่สอง เนื่องจากเงี้ยวชาวเมืองและราษฎรพื้นเมืองให้การสนับสนุนกองโจรเงี้ยว การโจมตีเมืองแพร่ มิใช่มีแต่บรรดาเจ้านายเมืองแพร่เท่านั้นที่สนับสนุนพวกโจรเงี้ยว ชาวเมืองก็จับอาวุธขึ้นช่วยพวกกองโจรเงี้ยวด้วย ทั้งนี้ มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากชาวเงี้ยวซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจาก รัฐฉานเข้ามาอาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในมณฑลพายัพเป็นเวลานานแล้ว พวกเงี้ยวส่วนใหญ่มักเป็นผู้ทำมาหากินตามปกติและปะปนอยู่กับชาวบ้านเมืองแพร่ ทำให้มีความสนิทสนมกันเป็นอันดี เมื่อเกิดความทุกข์ยากลำบากใจจึงร่วมมือสนับสนุนทันที
การจัดรูปการปกครองเมืองแพร่ตามระบอบมณฑลเทศาภิบาลของเมืองแพร่
ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ทางราชการได้ประกาศให้รวมหัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นเป็นมณฑล โดยจัดให้เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองลำปาง รวมเป็นมณฑลเรียกว่ามณฑลมหาราษฎร์และให้ตั้งที่ว่าการมณฑลขึ้นที่จังหวัดลำปาง
ผู้สำเร็จราชการมณฑล ๓ ท่าน คือ
- มหาเสวกตรี พระยาเพชรรัตนราชสงคราม (เลื่อง ภูมิรัตน)
- จางวางตรี พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (ชม โชติกะพุกกะณะ)
- มหาเสวกโท พระยาเดชานุชิต (หนา บุนนาค)
ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ทางราชการได้สั่งให้รวมมณฑลมหาราษฎร์กับมณฑลพายัพดังเดิม มีที่ว่าการมณฑลตั้งอยู่ที่เมืองเชียงใหม่
ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ทางราชการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ประกาศใช้ พระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยแบ่งเป็นภาคๆ เมืองแพร่จัดอยู่ในภาคที่ ๕ ที่ทำการภาคตั้งอยู่ที่จังหวัดลำปาง ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย
ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางราชการได้ประกาศยกเลิกการปกครองแบบภาค ให้ทุกจังหวัดขึ้นตรงรัฐบาลกลางที่กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
การจัดรูปการปกครองเมืองแพร่ในสมัยปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๒๘)
ส่วนภูมิภาค จังหวัดแพร่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ซึ่งมี รายละเอียด ดังนี้
อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ที่ตั้งห่างจากจังหวัด
เมืองแพร่ ๑๖ ๙๓ ที่ตั้งจังหวัด
สูงเม่น ๑๑ ๖๙ ๑๒
ร้องกวาง ๑๓ ๘๕ ๓๐
สอง ๗ ๔๘ ๔๙
ลอง ๗ ๖๖ ๔๓
เด่นชัย ๕ ๓๖ ๒๔
วังชิ้น ๕ ๔๗ ๗๙
รวม ๖๔
๔๔๔
ส่วนท้องถิ่น แบ่งออกเป็น
องค์การบริหารส่วนจังหวัด ๑ แห่ง
เทศบาลเมืองแพร่ ๑ แห่ง
สุขาภิบาล ๙ แห่ง
สภาตำบล ๖๓ แห่ง
ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดแพร่. ปทุมธานี. โรงพิมพ์สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด, ๒๕๒๘
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น