ลพบุรี
ประวัติศาสตร์จังหวัดลพบุรี
ลพบุรีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ดินแดนซึ่งเป็นจังหวัดลพบุรีในปัจจุบันได้ค้นพบหลักฐานคือโครงกระดูก เครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับทำด้วยดินเผา หิน สัมฤทธิ์ เหล็ก ทองแดง กระดูกสัตว์ เปลือกหอย และแก้วของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมือง อำเภอโคกสำโรง อำเภอ ชัยบาดาล อำเภอพัฒนานิคม หลักฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ดังกล่าวส่วนใหญ่พบอยู่ตามเนินดิน น้ำท่วมไม่ถึงอยู่ไม่ไกลจากภูเขา และมีทางน้ำไหลผ่านเฉพาะส่วนน้อยเท่านั้นที่พบอยู่ตามถ้ำในภูเขา
สมัยก่อนประวัติศาสตร์มีผู้ให้คำจำกัดความว่าเป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์อักษร ขึ้นใช้ ต่อเมื่อมนุษย์รู้จักประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้แล้วจึงเรียกว่าเป็นสมัยประวัติศาสตร์ อายุสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ได้รับการศึกษาว่ามีอายุเก่าแก่ก่อน ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว จนถึงราว พ.ศ. ๑๐๐๐ ซึ่งเป็นสมัยที่อายุตัวอักษรแบบเก่าสุดได้ค้นพบในดินแดนนี้
การศึกษาเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเท่าที่เป็นมา ได้แบ่งออกเป็นยุคตามลักษณะเครื่องมือเครื่องใช้ที่พบ กล่าวคือ
ยุคหินเก่า เป็นยุคเก่าสุด มนุษย์ใช้เครื่องมือขวานหินกะเทาะ
ยุคหินกลาง มนุษย์รู้จักใช้ขวานหินกะเทาะที่ประณีตขึ้น
ยุคหินใหม่ มีเครื่องมือทำด้วยหินที่ได้รับการขัดฝนเป็นอย่างดี
ยุคโลหะ มีเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยสัมฤทธิ์ เหล็ก และทองแดง
ปัจจุบัน การศึกษาเรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากต่อลักษณะการดำรงชีพของมนุษย์ในสมัยนั้น จึงได้มีการแบ่งยุคออกเป็นสังคมก่อนเกษตรกรรม (Non-Agricultural Society) และสังคมเกษตรกรรม (Agricultural Society) ผลการขุดค้นทางโบราณคดีในประเทศไทยอาจจะสรุปในขั้นต้นนี้ได้ว่า ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์แต่ดั้งเดิมยุคหินเก่าและยุคหินกลางเป็นสังคมก่อนเกษตรกรรม ส่วนมนุษย์ยุคหินใหม่และยุคโลหะจัดเป็นพวกสังคมเกษตรกรรมรู้จักเพาะปลูก ทำภาชนะดินเผา ถลุงแร่และทอผ้า
หลักฐานมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดลพบุรี ที่พบเก่าสุดได้แก่ขวานหินกะเทาะที่ศาสตราจารย์ ฟริทซ์ สารสิน นักโบราณคดีชาวสวิส ได้สำรวจพบจากถ้ำกระดำ (กระดาน) ตำบลเขาสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ สันนิษฐานว่าเป็นเครื่องมือมนุษย์ยุคหินกลาง หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคต่อมาคือยุคหินใหม่ได้ค้นพบเครื่องมือขวานหินขัดของมนุษย์ยุคหินใหม่มากมายกระจัดกระจายเกือบทุกอำเภอในจังหวัดลพบุรี และได้รับการขุดค้นแล้วนั้นคือที่ตำบลโคกเจริญ อำเภอโคกสำโรง ใน พ.ศ. ๒๕๐๙ และ พ.ศ. ๒๕๑๐ ที่สำคัญก็คือพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยหินใหม่พร้อมเครื่องใช้และพบว่ามนุษย์ยุคหินใหม่ในแหล่งดังกล่าวรู้จักใช้ภาชนะดินเผาที่มีลักษณะคล้ายกับภาชนะดินเผาสมัยหินใหม่ที่พบที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดกาญจนบุรี
การขุดค้นอีกครั้งหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับเรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดลพบุรีก็คือการค้นพบหลักฐาน มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะ พบกระจัดกระจายมากมาย ที่ได้รับการขุดค้นและกำหนดอายุได้นั้นคือการขุดค้นแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะในศูนย์การทหารปืนใหญ่ โดยกรมศิลปากรใน พ.ศ. ๒๕๐๗ - ๒๕๐๘ กำหนดอายุจากเศษเครื่องปั้นดินเผาได้ ๗๐๐ ปี ก่อน ค.ศ. ๑๖๖ มนุษย์พวกนี้รู้จักทอผ้าใช้มีเครื่องประดับกาย เช่น แหวน กำไล ลูกปัด ทำด้วยสัมฤทธิ์ แก้วและหินมีเทคโลโลยีสูงในเรื่องการโลหะกรรม
หากกำหนดโดยลักษณะการดำรงชีพจะพบว่า มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่เขตจังหวัดลพบุรีจะมีทั้งเป็นพวกสังคมสมัยก่อนเกษตรกรรม คือ ยุคหินกลางและสังคมสมัยเกษตรกรรม คือยุคหินใหม่และยุคโลหะ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยสำหรับจังหวัดลพบุรีที่ได้ค้นพบหลักฐานของการอยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องกันมาโดยตลอด
ลพบุรีสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๘)
เมื่อเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ คือ มนุษย์รู้จักใช้ตัวอักษรนั้น ที่จังหวัดลพบุรีได้ค้นพบหลักฐานเป็นตัวอักษรชนิดที่เก่าสุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็นจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ แต่หลักฐานซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองลพบุรีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๘ มีไม่มากพอต่อการคลี่คลายเหตุการณ์ทางด้านประวัติศาสตร์เมืองลพบุรีมากนัก และเป็นดังนี้จนถึงราวศตวรรษที่ ๑๙ เพราะฉะนั้นเหตุการณ์ซึ่งพบว่าเมื่อเริ่มมีการใช้ตัวอักษรที่เมืองลพบุรี หรือปรากฏศิลปกรรมต่างๆ สะท้อนให้เห็นว่าสังคมเริ่มมีศาสนาอักษรศาสตร์ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ จนถึงช่วงแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ก่อนที่เมืองลพบุรีเป็นเมืองบริวารของอาณาจักรอยุธยา สมควรเรียกว่าเป็นสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ (Pre to History) มีระยะเวลานานราว ๘ ศตวรรษ
ในระยะ ๘ ศตวรรษของสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์สามารถแบ่งการศึกษาออกได้เป็นคาบต่างๆ โดยอาศัยข้อมูลทางด้านภาษา ศิลปกรรม ตำนาน และจดหมายเหตุจีนได้ ดังนี้
ลพบุรีในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๕ มีหลักฐานไม่มากนักที่สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มพูนความรู้เรื่องเมืองลพบุรีในระยะพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๕ กล่าวคือ พงศาวดารเหนือกล่าวถึงพระยากาฬวรรณดิศได้ให้พราหมณ์ยกพลสร้างเมืองละโว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๐๐๒ ปีที่พระองค์ครองราชย์ใช้เวลาสร้าง ๑๙ ปี แต่เรื่องดังกล่าวคงจะต้องหาหลักฐานอื่นมาสอบเทียบ เพราะพงศาวดารเหนือเขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ห่างจากเหตุการณ์ที่เป็นจริงหลายศตวรรษ รวมทั้งข้อความในพงศาวดารส่วนใหญ่ค่อนข้างสับสน ทั้งศักราชก็คลาดเคลื่อนอยู่มาก นอกจากนี้ยังมีตำนานและภาษาบาลีเหนือเขียนขึ้นราว ๕๐๐ ปีเศษมาแล้ว เนื้อเรื่องไม่สับสน ศักราชเชื่อถือได้และถูกนำมาใช้อ้างอิงกันอย่างกว้างขวางคือตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงฤษีวาสุเทพได้สร้างเมืองหริภุญไชย (ลำพูน) ใน พ.ศ. ๑๒๐๔ ต่อมาอีก ๒ ปี (พ.ศ. ๑๒๖๐) ได้ส่งทูตล่องไปตามแม่น้ำปิงไปเมืองลวปุระทูลขอเชื้อสายกษัตริย์ลวปุระให้มาปกครองกษัตริย์ลวปุระจึงได้พระราชทานพระนางจามเทวี พระราชธิดาให้ไปครองเมืองหริภุญไชย ชื่อเมืองลวปุระในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์เป็นที่ยอมรับว่าคือเมืองลพบุรีในปัจจุบัน
หลักฐานที่มีอายุในศตวรรษดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับเมืองลพบุรีอีกคือการค้นพบศิลาจารึกที่สำคัญ ๓ หลัก คือ
๑. จารึกหลักที่ ๑๘ จารึกบนเสาแปดเหลี่ยมพบที่ศาลสูง (ศาลพระกาฬ) เป็นจารึกเนื่องในพุทธศาสนาภาษามอญโบราณ ลักษณะของเสาแปดเหลี่ยมเป็นศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบหลังคุปตะของอินเดีย ศาสตราจาย์ยอร์ซ เซเดส์ นักปราชญ์ทางด้านความรู้เกี่ยวกับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ หรือ ๑๔
๒. จารึกหลักที่ ๑๖ จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืนพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต กล่าวถึง “นายกอารุซวะ เป็นอธิบดีแก่ชาวเมืองตังคุร และเป็นโอรสของพระราชาแห่งศามพูกะ ได้สร้างรูปพระมุนีองค์นี้” เมืองตังคุรและเมืองศามพูกะนี้ยังไม่ทราบแน่นอนว่าอยู่ที่แห่งใด แต่คงอยู่ในที่ราบภาคกลางของประเทศไทยเพราะลักษณะพระพุทธรูปที่พบเป็นศิลปแบบที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นในภาคกลางของประเทศไทย
๓. จารึกภาษาบาลีบนเสาแปดเหลี่ยมพบที่เมืองโบราณซับจำปา อำเภอชัยบาดาล มี ข้อความคัดลอกจากคัมภีร์พุทธสาสนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓
สำหรับศิลปกรรมที่พบในจังหวัดลพบุรีที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕ นั้น เป็นศิลปกรรมทางด้านพุทธศาสนาที่เก่าสุดแบบหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งคงได้รับอิทธิพลศิลปกรรมอินเดียแบบคุปตะและแบบหลังคุปตะ (ศิลปะอินเดียวภาคกลางและภาคตะวันตก อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๓) ชื่อเรียกศิลปกรรมแบบดังกล่าวได้เรียกว่าศิลปะแบบทวารวดี บัดนี้มีผู้เสนอให้เรียกว่า ศิลปมอญแบบภาคกลางประเทศไทย เพราะชาวมอญเป็นผู้กำเนิดเอกลักษณ์ผลงานศิลปะที่สร้างขึ้น ชนิดของศิลปกรรม ได้แก่ พระพุทธรูป พระธรรมจักรกวางหมอบ เศียรอสูร หรือเทวดา และปติมากรรมตกแต่งสถูป เท่าที่พบแกะสลักจากหินปูนและทำด้วยปูนปั้น
จึงสรุปด้วยว่าเมื่อเข้าสู่สมัยทางประวัติศาสตร์ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๕ ลพบุรีคงเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง แว่นแคว้นอื่นจึงได้ยอมรับอำนาจและขอเชื้อสายไปปกครอง สังคมเดิมแบบก่อนประวัติศาสตร์คือสังคมเผ่าได้เปลี่ยนเป็นสังคมเมืองที่มีกษัตริย์ปกครอง มีภาษาที่ใช้คือภาษาสันสกฤต ภาษาบาลี และภาษามอญโบราณ ประชาชนนับถือพุทธศาสนา
ลพบุรีในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘
ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ หลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองลพบุรีมีมากขึ้นถ้าได้เปรียบเทียบกับใน ๕ ศตวรรษแรก หลักฐานที่สำคัญ ได้แก่ จารึกซึ่งค้นพบทั้งในประเทศไทย กัมพูชาประชาธิปไตย และหลักฐานที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีน
สำหรับหลักฐานทางด้านโบราณวัตถุสถานพบในเมืองลพบุรี ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ มีความสำคัญช่วยสนับสนุนหลักฐานด้านประวัติศาสตร์ให้มั่นคงมากยิ่งขึ้น
จากหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏอาจจะกล่าวได้ว่า ในระยะราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ -๑๘ ลพบุรีตกอยู่ภายใต้อำนาจทางการของอาณาจักรกัมพูชาเป็นครั้งคราว รวมทั้งได้ยอมรับเอาศิลปวัฒนธรรมของอาณาจักรกัมพูชาซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองพระนคร กล่าวคือ
ได้ค้นพบศิลาจารึกภาษาขอมที่เมืองลพบุรีที่สำคัญคือ จารึกหลักที่ ๑๙ พบที่ศาลสูง (ศาลพระกาฬ) ระบุศักราช ๙๔๔ ตรงกับ พ.ศ. ๑๕๖๕ มีข้อความกล่าวถึงพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๕๕๕ - ๑๕๙๓) มีประกาศให้บรรดานักบวชอุทิศกุศลแห่งการบำเพ็ญตะบะของตนถวายแด่ พระองค์ และออกพระราชกำหนดเพื่อป้องกันมิให้นักบวชเหล่านั้นถูกรบกวนภายในอาวาสของตน นอกจากนั้นพบจารึกหลักที่ ๒๑ ที่ศาลเจ้าลพบุรี ศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดส์ กล่าวว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นจารึกภาษาเขมร จารึกขึ้นเพื่อให้ทราบถึงสิ่งของต่างๆ ที่อุทิศถวายแด่เทวรูปพระนารายณ์ในโอกาสที่มีการทำพิธีฉลองเทวรูป จารึกหลักนี้ออกชื่อเมือง “โลว” คือเมืองละโว้เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าที่เมืองละโว้มีผู้นับถือไวษณพนิกายของศาสนาฮินดูด้วย
การตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว จดหมายเหตุจีนระบุว่า พ.ศ. ๑๖๕๘ และ พ.ศ. ๑๖๙๘ ละโว้ส่งทูตไปจีน ศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดส์ ให้ข้อสังเกตว่า พ.ศ. ๑๖๕๘ ปีที่ละโว้ส่งทูตไปจีนคราวแรก พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ แห่งอาณาจักรกัมพูชา (ครองราชย์ราว พ.ศ. ๑๖๕๖ - ราว ๑๖๙๓) เพิ่งครองราชย์ได้เพียง ๒ ปี คงจะเป็นสมัยที่พระองค์ยังไม่มีอำนาจมั่นคงนัก ลพบุรีจึงเป็นนครอิสระส่งทูตไปจีนได้ และใน พ.ศ. ๑๖๙๘ ปีที่ละโว้ส่งทูตไปจีนคราวหลังพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ สวรรคตแล้ว การส่งทูตไปเมืองจีนอาจจะเป็นความพยายามของละโว้ที่จะตัดความสัมพันธ์ฐานเป็นประเทศราชของอาณาจักรกัมพูชา
เรื่องที่ละโว้ส่งทูตไปจีนนี้ได้รับการขยายความให้กระจ่างชัดมากยิ่งขึ้น เมื่อค้นพบศิลาจารึกที่ดงแม่นางเมืองที่จังหวัดนครสวรรค์ มีศักราชตรงกับ พ.ศ. ๑๗๑๐ ระบุเรื่องราวราชวงศ์ศรีธรรมา โศกราช ซึ่งมีนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มกล่าวกันว่า เป็นราชวงศ์อิสระในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และลงความเห็นว่าคงเป็นราชวงศ์ปกครองเมืองลพบุรี จึงได้มีการสันนิษฐานว่าราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชนั้นเองที่เป็นผู้พยายามแยกตัวเป็นอิสระจากอาณาจักรกัมพูชา
หลักฐานอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นอิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาต่อเมืองลพบุรีอีกคือ ปรากฏภาพสลักนูนต่ำทหารละโว้บนผนังระเบียงปราสาทนครวัตซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้า สุริยวรมันที่ ๒ คู่กันกับภาพทหารสยาม โดยทหารละโว้มีนายทัพเป็นแม่ทัพขอม แสดงถึงอำนาจของอาณาจักรกัมพูชาที่มีเหนืออาณาจักรละโว้ในขณะนั้น จารึกปราสาทพระขรรค์ พ.ศ. ๑๗๓๔ ตรงกับ รัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๗๒๔ - ราว ๑๗๖๒) กล่าวถึงเมืองลโวทยะปุระซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในจำนวน ๒๓ เมืองที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้พระราชทานพระชัยพุทธมหานาถ ซึ่งเป็น พระพุทธรูปฉลองพระองค์ไปประดิษฐาน นอกจากนั้นในจดหมายเหตุจีนของ เจา ซู กัว แต่งขึ้นใน พ.ศ. ๑๗๖๘ กล่าวว่า ละโว้เป็นประเทศราชประเทศหนึ่งของอาณาจักรกัมพูชา
อิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาต่อเมืองละโว้และประเทศราชอื่นๆ ลดน้อยลงหลังรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดส์ กล่าวว่า ในคริสศตวรรษที่ ๑๓ (ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙) กัมพูชาเริ่มประสบความลำบากเนื่องจากได้ขยายเขตออกไปมากเกินไปและโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีภาระหนักในศตวรรษที่ ๑๒ (กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗ กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘) เพราะประชาชนถูกกษัตริย์ยิ่งใหญ่ ๒ พระองค์ ซึ่งเป็นทั้งนักรบและนัก ก่อสร้างเกณฑ์ไปใช้ กอปรกับได้ถูกพวกจับปารุกรานเมื่อ ค.ศ. ๑๑๗๗ (พ.ศ. ๑๗๒๐) กัมพูชาจึงอ่อนแอลงจนถึงกับเข้าสู่ยุคไม่มีขื่อไม่มีแป เมืองขึ้นและประเทศราชของกัมพูชาสามารถแข็งเมืองใน พ.ศ. ๑๘๓๙ โจว ตา กวน ทูตจีนได้ไปเยือนอาณาจักรกัมพูชาและได้เขียนหนังสือบทความเกี่ยวกับประเพณีของอาณาจักรกัมพูชชา มีข้อความหลายแห่งกล่าวถึงบทบาทของชาวสยามที่มีต่อาณาจักรกัมพูชา ทั้งทางด้านการทำสงครามศาสนาและเศรษฐกิจ
หลักฐานทางด้านโบราณวัตถุสถานที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘ มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีกับหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ กล่าวคือ ปรางค์แขกเป็นสถาปัตยกรรมแบบขอมได้รับการกำหนดอายุว่าอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ ต่อจากนั้นได้ค้นพบเศียรพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเทวรูป ศิลปขอมแบบต่างๆ ที่เมืองลพบุรี มีอายุไล่เรี่ยกันมาคือ แบบบาปวน (อายุราว พ.ศ. ๑๕๕๓ - ๑๖๒๓) แบบนครวัต (อายุราว พ.ศ. ๑๖๔๓ - ๑๗๑๕) และแบบบายน (อายุราว พ.ศ. ๑๗๒๐ - ๑๗๗๓) พระปรางค์สามยอดศาสนสถานที่สำคัญและเป็นสัญญลักษณ์ของเมืองลพบุรีมีแบบและผังเป็นสถาปัตยกรรมขอมแบบบายน
ศิลปกรรมแบบต่างๆ ที่พบแสดงให้เห็นว่ามีการนับถือพุทธศาสนาควบคู่กันไปกับศาสนาพราหมณ์ และที่สำคัญคือขอมคงนำพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาฝังรากให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ในที่ราบภาคกลางประเทศไทยจึงได้ค้นพบประติมากรรมพระโพธิสัตว์หลายองค์ที่เป็นศิลปกรรมแบบขอม
ลพบุรีในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - พ.ศ. ๑๘๙๓
ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เกิดความอ่อนแอภายในอาณาจักรกัมพูชาทำให้รัฐต่างๆ ที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจปลีกตัวเป็นอิสระ ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่าละโว้ได้ต่อสู้เพื่อเป็นเอกราชตั้งแต่เมื่อใด ถ้าได้เปรียบเทียบกับสุโขทัยซึ่งมีหลักฐานว่าพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางท่าวได้ร่วมมือกันขับไล่ “ขอมสมาดโขลญลำพง” ขุนนางขอมออกไปจากอาณาจักรได้ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ แต่ความอ่อนแอภายในของอาณาจักรกัมพูชาเอง จึงอาจจะกล่าวได้ว่าละโว้คงหลุดพ้นจากอิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรขอมในศตวรรษเดียวกับสุโขทัย
เมื่ออิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาหมดไป เกิดรัฐต่างๆ ที่มีบทบาทของตัวเองขึ้นทั่วไปในภาคเหนือและภาคกลางประเทศไทย ที่สำคัญคือรัฐพะเยา รัฐเชียงใหม่ รัฐสุโขทัย รัฐละโว้ รัฐต่างๆ เหล่านี้มีรูปการปกครองแบบนครรัฐ มีอาณาเขตในการปกครองไม่กว้างขวางมากนักและมีหลักฐานว่าได้เป็นไมตรีกันในระยะแรกๆ เช่น ตำนานทางภาคเหนือกล่าวถึงการร่วมปรึกษาหารือกันในการสร้างเมืองเชียงใหม่ ระหว่างผู้ปกครอง รัฐพะเยา รัฐสุโขทัย และรัฐเชียงใหม่ ในพงศาวดารโยนกกล่าวถึงพระยางำเมืองและพระร่วงเคยไปเรียนในสำนักพระสุกทันตฤษี ณ กรุงละโว้ เป็นต้น
ลพบุรีในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นรัฐอิสระเช่นเดียวกับเชียงใหม่และสุโขทัย ทั้งนี้มีหลักฐานที่สำคัญคือในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ กล่าวถึงอาณาเขตสุโขทัยในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง (ครองราชย์ราว พ.ศ. ๑๘๒๒ - ราว ๑๘๔๒) ทางทิศใต้ว่ามีเมืองคณฑี (อยู่ใกล้กำแพงเพชร) เมืองพระบาง (นครสวรรค์) เมืองแพรก (สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรีหรืออ่างทอง) เมืองเพชรบุรี และเมืองนครศรีธรรมราช จะเห็นได้ว่าเว้นกล่าวถึงเมืองลพบุรีเมืองใหญ่ซึ่งอยู่ทางใต้ มีผู้สันนิษฐานว่าอาจจะมีการทำสัญญาเป็นมิตรกันระหว่างสุโขทัยกับลพบุรี เช่นเดียวกับสุโขทัยได้ทำกับเมืองน่านใน พ.ศ. ๑๘๓๐ นอกจากนี้ในจดหมายเหตุจีนกล่าวถึงละโว้ส่งทูตไปจีนใน พ.ศ. ๑๘๓๒ และ พ.ศ. ๑๘๔๒ เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นถึงความเป็นอิสระของรัฐลพบุรีในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙
ราชวงศ์หรือพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเป็นผู้ปกครองเมืองลพบุรี ในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ยังขาดหลักฐานที่หนักแน่นเพื่อไขความกระจ่างแจ้งอยู่มาก นอกจากในตำนานภาคเหนือกล่าวถึงพระรามาธิบดีผู้เป็นใหญ่ ในแคว้นกัมโพชและอโยชณปุระกับเรื่องพระรามาธิบดีกษัตริย์อโยชณปุระเสด็จมาจากกัมโพชทรงยึดเมืองชัยนาท เป็นที่ยอมรับกันว่าพระรามาธิบดีในตำนานภาคเหนือหมายถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นที่อยุธยาใน พ.ศ. ๑๘๙๓ แคว้นกัมโพช หมายถึงลพบุรีและอโยชณปุระหมายถึงอยุธยา จะเห็นได้ว่าตำนานภาคเหนือกล่าวถึงความเกี่ยวเนื่องระหว่างสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เมืองลพบุรี และเมืองอยุธยา และทราบต่อมาว่าเมื่อสมเด็จพระรามา ธิบดีที่ ๑ ครองอยุธยาแล้ว ได้โปรดให้พระราชบุตรคือพระราเมศวรขึ้นไปครองเมืองลพบุรี อาจจะเป็นได้ว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ครองเมืองลพบุรีมาก่อนแล้วจึงได้เสด็จย้ายไปครองเมืองอยุธยาและจึงให้พระราเมศวรครองเมืองลพบุรีแทน เรื่องดังกล่าวอาจจะสัมพันธ์กับข้อสังเกตของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ทว่าอุดมการณ์ทางการเมืองของกษัตริย์อยุธยาตั้งแต่แรกเริ่มสถาปนาอาณาจักรต่างกับ อุดมการณ์ทางการเมืองของกษัตริย์สุโขทัย สำหรับกษัตริย์สุโขทัยโปรดให้ค้าขายได้โดยเสรีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมภาษีเก็บพอประมาณ การเกณฑ์คนก็เป็นไปตามส่วนกำลังที่มีและไม่ใช้แรงคนชรา มรดกก็ยอมให้ตกทอดไปยังทายาทได้เต็มที่ ไม่มีการชักประโยชน์ไว้สำหรับกษัตริย์ แต่สำหรับกษัตริย์อยุธยาเป็นเทพเจ้าบนพิภพเช่นเดียวกับที่กัมพูชาหรือมิฉะนั้นอย่างน้อยก็เป็นเสมือนพระพุทธองค์ที่ยัง พระชนม์ชีพอยู่ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ จึงสรุปไว้ว่าราชวงศ์สยามวงศ์ใหม่ (ราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑) รับมรดกระบอบกษัตริย์จากนครวัตมาทั้งหมดน่าจะเป็นได้ว่าเพราะระบอบกษัตริย์ของสยามใหม่นี้ได้เกิดขึ้นในแวดวงที่ได้รับอารยธรรมเขมร เมืองที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ได้รับมรดกระบอบกษัตริย์จากนครวัตอย่างเต็มที่นั้นควรจะเป็นที่เมืองลพบุรี
การย้ายศูนย์กลางการปกครองจากเมืองลพบุรีไปอยุธยานั้นคงเกี่ยวเนื่องกับความ เหมาะสมของอยุธยาในทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ กล่าวคืออยุธยาตั้งอยู่ริมแม่น้ำใหญ่ เรือสินค้าขนาดใหญ่สามารถแล่นเข้าออกไปจนถึงเมือง นอกจากนั้นทำเลที่ตั้งอยุธยาอยู่ในจุดที่สามารถควบคุมเมืองใหญ่ใกล้เคียง เช่น เมืองสุพรรณบุรี เพชรบุรีได้ง่าย
เมื่อมีการสถาปนาอยุธยาใน พ.ศ. ๑๘๙๓ แล้ว เมืองลพบุรีมีฐานะกลายเป็นเมืองลูกหลวงที่อุปราชปกครอง จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระราเมศวรซึ่งเปรียบได้กับตำแหน่งรัชทายาทขึ้นปกครอง
จากการศึกษาเรื่องศิลปกรรมในเมืองลพบุรีทั้งทางด้านประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ เป็นศิลปที่ได้รับอิทธิพลศิลปขอมแบบบายน และได้วิวัฒนาการจนมีลักษณะเฉพาะเรียกว่า ศิลปะแบบลพบุรีที่เห็นได้ชัดเจนคือปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และคงเป็นต้นเค้าของบรรดาพระปรางค์ ทั้งหลายในประเทศไทยในศตวรรษต่อมา
ลพบุรีในสมัยอยุธยา (ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๓๑๐)
เมืองสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง คนไทยทางใต้ก็ตั้งแข็งเมืองไม่ยอมเป็นประเทศราช และ พระเจ้าอู่ทองก็สร้างพระนครศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๙๓ และทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่อเมืองสุโขทัย ลพบุรีจึงกลายเป็นเมืองหน้าด่านที่คอยป้องกันพวกขอมทางตะวันออก และพวกสุโขทัยทางเหนือในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ก็ได้โปรดให้สมเด็จพระราเมศวรราชโอรสขึ้นไปครองเมืองลพบุรี ซึ่งอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวงและใช้เป็นเครื่องถ่วงดุลย์อำนาจทางการเมืองกับสุพรรณบุรีซึ่งขุนหลวงพะงั่ว พี่ของพระมเหสีไปครองอยู่
ต่อมาในสมัยของสมเด็จพระบรมราชาที่ ๑ (พ.ศ. ๑๙๒๑) อาณาจักรอยุธยาได้ขยายตัวออกไปกว้างขวางและรวมเอาสุโขทัยเป็นอาณาจักรเดียวกัน ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่เขมรอ่อนกำลังลงและได้ยกทัพไปตีเขมรถึงนครธมซึ่งเป็นราชธานีเขมร และเมื่อสมเด็จพระราเมศวรได้ครองราชย์เป็นครั้งที่ ๒ ก็ไม่ปรากฏว่าส่งพระราชโอรสขึ้นไปครองเมืองลพบุรี และในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงปรับปรุงการปกครอง โปรดให้ยกเลิกเมืองลูกหลวงทั้ง ๔ ด้านของราชธานีออก ลพบุรีจึงกลายเป็น หัวเมืองที่อยู่ในเขตราชธานีแต่นั้นมา
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ รองจากพระนครศรีอยุธยา สถานที่สร้างพระราชวังนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชา-ภาพทรงสันนิษฐานว่า คงสร้างในที่ที่เป็นที่ประทับเดิมของสมเด็จพระราเมศวร สาเหตุที่สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีอีกแห่งหนึ่งก็เนื่องจากในปี พ.ศ. ๒๒๐๗ ได้เกิดวิกฤติการณ์ทางการค้ากับฮอลันดา พระองค์จึงหาทางป้องกันเหตุการณ์ต่างๆ อีกทั้งทรงเห็นว่าลพบุรีมีชัยภูมิเหมาะแก่การป้องกันตนเอง และลพบุรีมีแม่น้ำไหลผ่านแต่ไม่ลึกพอที่เรือขนาดใหญ่จะผ่านเข้าไปได้ สามารถติดต่อกับราชธานีสะดวก ซึ่งทำให้พระองค์สร้างลพบุรีเป็นเมืองสำคัญ พระองค์ทรงแปรพระราชฐานมาประทับที่เมืองลพบุรีเป็นเวลายาวนาน ในแต่ละปีเสด็จประทับยังพระนครศรีอยุธยาเพียงระยะเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมเท่านั้น และได้พระราชทานวังที่เมืองลพบุรีเป็นที่ว่าราชการ รวมทั้งต้อนรับแขกต่างประเทศที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีอีกด้วย
ตอนปลายสมัยของสมเด็จพระนารายณ์เมืองลพบุรีเกิดความวุ่นวายขึ้นเนื่องจากอิทธิพลของพวกขุนนางต่างชาติ ทำให้พระเพทราชาได้เข้ายึดอำนาจทางการปกครอง ในขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงประชวรหนัก และเสด็จสวรรคตไปท่ามกลางเหตุการณ์วุ่นวายในขณะนั้น เมื่อสิ้นรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์ เมืองลพบุรีจึงมีความสำคัญลดลงไม่มีความสำคัญทางการเมืองจนสิ้นสมัยอยุธยา
ลพบุรีสมัยรัตนโกสินทร์
ลพบุรีขาดความสำคัญลงมากตั้งแต่สิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จนกระทั่งถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งรัตนโกสินทร์ ซึ่งไทยเราได้ติดต่อกับต่างชาติมากขึ้น และชาติตะวันตกในยุคนั้นได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมรุกรานบ้านเมืองทางตะวันออก ใช้กำลังกับประเทศต่างๆ พระองค์ก็ได้ตระหนักถึงอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น จึงโปรดให้สถาปนาเมืองลพบุรีขึ้นเป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่ง โดยปฏิสังขรณ์พระราชวังเดิมของสมเด็จพระนารายณ์ที่ชำรุดทรุดโทรมให้กลับมีสภาพดีขึ้นดังเดิม และโปรดให้สร้างหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎขึ้นเป็นที่ประทับ และได้พระราชทานนามพระราชวังที่เมืองลพบุรีนี้ว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์”
จะเห็นได้ว่าจังหวัดลพบุรี มีความสำคัญติดต่อกันมานานนับพันปี คือตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์และดำรงความเป็นเมืองสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ลพบุรีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ดินแดนซึ่งเป็นจังหวัดลพบุรีในปัจจุบันได้ค้นพบหลักฐานคือโครงกระดูก เครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับทำด้วยดินเผา หิน สัมฤทธิ์ เหล็ก ทองแดง กระดูกสัตว์ เปลือกหอย และแก้วของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมือง อำเภอโคกสำโรง อำเภอ ชัยบาดาล อำเภอพัฒนานิคม หลักฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ดังกล่าวส่วนใหญ่พบอยู่ตามเนินดิน น้ำท่วมไม่ถึงอยู่ไม่ไกลจากภูเขา และมีทางน้ำไหลผ่านเฉพาะส่วนน้อยเท่านั้นที่พบอยู่ตามถ้ำในภูเขา
สมัยก่อนประวัติศาสตร์มีผู้ให้คำจำกัดความว่าเป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์อักษร ขึ้นใช้ ต่อเมื่อมนุษย์รู้จักประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้แล้วจึงเรียกว่าเป็นสมัยประวัติศาสตร์ อายุสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ได้รับการศึกษาว่ามีอายุเก่าแก่ก่อน ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว จนถึงราว พ.ศ. ๑๐๐๐ ซึ่งเป็นสมัยที่อายุตัวอักษรแบบเก่าสุดได้ค้นพบในดินแดนนี้
การศึกษาเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเท่าที่เป็นมา ได้แบ่งออกเป็นยุคตามลักษณะเครื่องมือเครื่องใช้ที่พบ กล่าวคือ
ยุคหินเก่า เป็นยุคเก่าสุด มนุษย์ใช้เครื่องมือขวานหินกะเทาะ
ยุคหินกลาง มนุษย์รู้จักใช้ขวานหินกะเทาะที่ประณีตขึ้น
ยุคหินใหม่ มีเครื่องมือทำด้วยหินที่ได้รับการขัดฝนเป็นอย่างดี
ยุคโลหะ มีเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยสัมฤทธิ์ เหล็ก และทองแดง
ปัจจุบัน การศึกษาเรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากต่อลักษณะการดำรงชีพของมนุษย์ในสมัยนั้น จึงได้มีการแบ่งยุคออกเป็นสังคมก่อนเกษตรกรรม (Non-Agricultural Society) และสังคมเกษตรกรรม (Agricultural Society) ผลการขุดค้นทางโบราณคดีในประเทศไทยอาจจะสรุปในขั้นต้นนี้ได้ว่า ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์แต่ดั้งเดิมยุคหินเก่าและยุคหินกลางเป็นสังคมก่อนเกษตรกรรม ส่วนมนุษย์ยุคหินใหม่และยุคโลหะจัดเป็นพวกสังคมเกษตรกรรมรู้จักเพาะปลูก ทำภาชนะดินเผา ถลุงแร่และทอผ้า
หลักฐานมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดลพบุรี ที่พบเก่าสุดได้แก่ขวานหินกะเทาะที่ศาสตราจารย์ ฟริทซ์ สารสิน นักโบราณคดีชาวสวิส ได้สำรวจพบจากถ้ำกระดำ (กระดาน) ตำบลเขาสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ สันนิษฐานว่าเป็นเครื่องมือมนุษย์ยุคหินกลาง หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคต่อมาคือยุคหินใหม่ได้ค้นพบเครื่องมือขวานหินขัดของมนุษย์ยุคหินใหม่มากมายกระจัดกระจายเกือบทุกอำเภอในจังหวัดลพบุรี และได้รับการขุดค้นแล้วนั้นคือที่ตำบลโคกเจริญ อำเภอโคกสำโรง ใน พ.ศ. ๒๕๐๙ และ พ.ศ. ๒๕๑๐ ที่สำคัญก็คือพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยหินใหม่พร้อมเครื่องใช้และพบว่ามนุษย์ยุคหินใหม่ในแหล่งดังกล่าวรู้จักใช้ภาชนะดินเผาที่มีลักษณะคล้ายกับภาชนะดินเผาสมัยหินใหม่ที่พบที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดกาญจนบุรี
การขุดค้นอีกครั้งหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับเรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดลพบุรีก็คือการค้นพบหลักฐาน มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะ พบกระจัดกระจายมากมาย ที่ได้รับการขุดค้นและกำหนดอายุได้นั้นคือการขุดค้นแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะในศูนย์การทหารปืนใหญ่ โดยกรมศิลปากรใน พ.ศ. ๒๕๐๗ - ๒๕๐๘ กำหนดอายุจากเศษเครื่องปั้นดินเผาได้ ๗๐๐ ปี ก่อน ค.ศ. ๑๖๖ มนุษย์พวกนี้รู้จักทอผ้าใช้มีเครื่องประดับกาย เช่น แหวน กำไล ลูกปัด ทำด้วยสัมฤทธิ์ แก้วและหินมีเทคโลโลยีสูงในเรื่องการโลหะกรรม
หากกำหนดโดยลักษณะการดำรงชีพจะพบว่า มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่เขตจังหวัดลพบุรีจะมีทั้งเป็นพวกสังคมสมัยก่อนเกษตรกรรม คือ ยุคหินกลางและสังคมสมัยเกษตรกรรม คือยุคหินใหม่และยุคโลหะ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยสำหรับจังหวัดลพบุรีที่ได้ค้นพบหลักฐานของการอยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องกันมาโดยตลอด
ลพบุรีสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๘)
เมื่อเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ คือ มนุษย์รู้จักใช้ตัวอักษรนั้น ที่จังหวัดลพบุรีได้ค้นพบหลักฐานเป็นตัวอักษรชนิดที่เก่าสุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็นจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ แต่หลักฐานซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองลพบุรีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๘ มีไม่มากพอต่อการคลี่คลายเหตุการณ์ทางด้านประวัติศาสตร์เมืองลพบุรีมากนัก และเป็นดังนี้จนถึงราวศตวรรษที่ ๑๙ เพราะฉะนั้นเหตุการณ์ซึ่งพบว่าเมื่อเริ่มมีการใช้ตัวอักษรที่เมืองลพบุรี หรือปรากฏศิลปกรรมต่างๆ สะท้อนให้เห็นว่าสังคมเริ่มมีศาสนาอักษรศาสตร์ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ จนถึงช่วงแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ก่อนที่เมืองลพบุรีเป็นเมืองบริวารของอาณาจักรอยุธยา สมควรเรียกว่าเป็นสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ (Pre to History) มีระยะเวลานานราว ๘ ศตวรรษ
ในระยะ ๘ ศตวรรษของสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์สามารถแบ่งการศึกษาออกได้เป็นคาบต่างๆ โดยอาศัยข้อมูลทางด้านภาษา ศิลปกรรม ตำนาน และจดหมายเหตุจีนได้ ดังนี้
ลพบุรีในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๕ มีหลักฐานไม่มากนักที่สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มพูนความรู้เรื่องเมืองลพบุรีในระยะพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๕ กล่าวคือ พงศาวดารเหนือกล่าวถึงพระยากาฬวรรณดิศได้ให้พราหมณ์ยกพลสร้างเมืองละโว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๐๐๒ ปีที่พระองค์ครองราชย์ใช้เวลาสร้าง ๑๙ ปี แต่เรื่องดังกล่าวคงจะต้องหาหลักฐานอื่นมาสอบเทียบ เพราะพงศาวดารเหนือเขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ห่างจากเหตุการณ์ที่เป็นจริงหลายศตวรรษ รวมทั้งข้อความในพงศาวดารส่วนใหญ่ค่อนข้างสับสน ทั้งศักราชก็คลาดเคลื่อนอยู่มาก นอกจากนี้ยังมีตำนานและภาษาบาลีเหนือเขียนขึ้นราว ๕๐๐ ปีเศษมาแล้ว เนื้อเรื่องไม่สับสน ศักราชเชื่อถือได้และถูกนำมาใช้อ้างอิงกันอย่างกว้างขวางคือตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงฤษีวาสุเทพได้สร้างเมืองหริภุญไชย (ลำพูน) ใน พ.ศ. ๑๒๐๔ ต่อมาอีก ๒ ปี (พ.ศ. ๑๒๖๐) ได้ส่งทูตล่องไปตามแม่น้ำปิงไปเมืองลวปุระทูลขอเชื้อสายกษัตริย์ลวปุระให้มาปกครองกษัตริย์ลวปุระจึงได้พระราชทานพระนางจามเทวี พระราชธิดาให้ไปครองเมืองหริภุญไชย ชื่อเมืองลวปุระในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์เป็นที่ยอมรับว่าคือเมืองลพบุรีในปัจจุบัน
หลักฐานที่มีอายุในศตวรรษดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับเมืองลพบุรีอีกคือการค้นพบศิลาจารึกที่สำคัญ ๓ หลัก คือ
๑. จารึกหลักที่ ๑๘ จารึกบนเสาแปดเหลี่ยมพบที่ศาลสูง (ศาลพระกาฬ) เป็นจารึกเนื่องในพุทธศาสนาภาษามอญโบราณ ลักษณะของเสาแปดเหลี่ยมเป็นศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบหลังคุปตะของอินเดีย ศาสตราจาย์ยอร์ซ เซเดส์ นักปราชญ์ทางด้านความรู้เกี่ยวกับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ หรือ ๑๔
๒. จารึกหลักที่ ๑๖ จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืนพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต กล่าวถึง “นายกอารุซวะ เป็นอธิบดีแก่ชาวเมืองตังคุร และเป็นโอรสของพระราชาแห่งศามพูกะ ได้สร้างรูปพระมุนีองค์นี้” เมืองตังคุรและเมืองศามพูกะนี้ยังไม่ทราบแน่นอนว่าอยู่ที่แห่งใด แต่คงอยู่ในที่ราบภาคกลางของประเทศไทยเพราะลักษณะพระพุทธรูปที่พบเป็นศิลปแบบที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นในภาคกลางของประเทศไทย
๓. จารึกภาษาบาลีบนเสาแปดเหลี่ยมพบที่เมืองโบราณซับจำปา อำเภอชัยบาดาล มี ข้อความคัดลอกจากคัมภีร์พุทธสาสนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓
สำหรับศิลปกรรมที่พบในจังหวัดลพบุรีที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕ นั้น เป็นศิลปกรรมทางด้านพุทธศาสนาที่เก่าสุดแบบหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งคงได้รับอิทธิพลศิลปกรรมอินเดียแบบคุปตะและแบบหลังคุปตะ (ศิลปะอินเดียวภาคกลางและภาคตะวันตก อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๓) ชื่อเรียกศิลปกรรมแบบดังกล่าวได้เรียกว่าศิลปะแบบทวารวดี บัดนี้มีผู้เสนอให้เรียกว่า ศิลปมอญแบบภาคกลางประเทศไทย เพราะชาวมอญเป็นผู้กำเนิดเอกลักษณ์ผลงานศิลปะที่สร้างขึ้น ชนิดของศิลปกรรม ได้แก่ พระพุทธรูป พระธรรมจักรกวางหมอบ เศียรอสูร หรือเทวดา และปติมากรรมตกแต่งสถูป เท่าที่พบแกะสลักจากหินปูนและทำด้วยปูนปั้น
จึงสรุปด้วยว่าเมื่อเข้าสู่สมัยทางประวัติศาสตร์ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๕ ลพบุรีคงเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง แว่นแคว้นอื่นจึงได้ยอมรับอำนาจและขอเชื้อสายไปปกครอง สังคมเดิมแบบก่อนประวัติศาสตร์คือสังคมเผ่าได้เปลี่ยนเป็นสังคมเมืองที่มีกษัตริย์ปกครอง มีภาษาที่ใช้คือภาษาสันสกฤต ภาษาบาลี และภาษามอญโบราณ ประชาชนนับถือพุทธศาสนา
ลพบุรีในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘
ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ หลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองลพบุรีมีมากขึ้นถ้าได้เปรียบเทียบกับใน ๕ ศตวรรษแรก หลักฐานที่สำคัญ ได้แก่ จารึกซึ่งค้นพบทั้งในประเทศไทย กัมพูชาประชาธิปไตย และหลักฐานที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีน
สำหรับหลักฐานทางด้านโบราณวัตถุสถานพบในเมืองลพบุรี ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ มีความสำคัญช่วยสนับสนุนหลักฐานด้านประวัติศาสตร์ให้มั่นคงมากยิ่งขึ้น
จากหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏอาจจะกล่าวได้ว่า ในระยะราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ -๑๘ ลพบุรีตกอยู่ภายใต้อำนาจทางการของอาณาจักรกัมพูชาเป็นครั้งคราว รวมทั้งได้ยอมรับเอาศิลปวัฒนธรรมของอาณาจักรกัมพูชาซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองพระนคร กล่าวคือ
ได้ค้นพบศิลาจารึกภาษาขอมที่เมืองลพบุรีที่สำคัญคือ จารึกหลักที่ ๑๙ พบที่ศาลสูง (ศาลพระกาฬ) ระบุศักราช ๙๔๔ ตรงกับ พ.ศ. ๑๕๖๕ มีข้อความกล่าวถึงพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๕๕๕ - ๑๕๙๓) มีประกาศให้บรรดานักบวชอุทิศกุศลแห่งการบำเพ็ญตะบะของตนถวายแด่ พระองค์ และออกพระราชกำหนดเพื่อป้องกันมิให้นักบวชเหล่านั้นถูกรบกวนภายในอาวาสของตน นอกจากนั้นพบจารึกหลักที่ ๒๑ ที่ศาลเจ้าลพบุรี ศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดส์ กล่าวว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นจารึกภาษาเขมร จารึกขึ้นเพื่อให้ทราบถึงสิ่งของต่างๆ ที่อุทิศถวายแด่เทวรูปพระนารายณ์ในโอกาสที่มีการทำพิธีฉลองเทวรูป จารึกหลักนี้ออกชื่อเมือง “โลว” คือเมืองละโว้เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าที่เมืองละโว้มีผู้นับถือไวษณพนิกายของศาสนาฮินดูด้วย
การตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว จดหมายเหตุจีนระบุว่า พ.ศ. ๑๖๕๘ และ พ.ศ. ๑๖๙๘ ละโว้ส่งทูตไปจีน ศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดส์ ให้ข้อสังเกตว่า พ.ศ. ๑๖๕๘ ปีที่ละโว้ส่งทูตไปจีนคราวแรก พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ แห่งอาณาจักรกัมพูชา (ครองราชย์ราว พ.ศ. ๑๖๕๖ - ราว ๑๖๙๓) เพิ่งครองราชย์ได้เพียง ๒ ปี คงจะเป็นสมัยที่พระองค์ยังไม่มีอำนาจมั่นคงนัก ลพบุรีจึงเป็นนครอิสระส่งทูตไปจีนได้ และใน พ.ศ. ๑๖๙๘ ปีที่ละโว้ส่งทูตไปจีนคราวหลังพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ สวรรคตแล้ว การส่งทูตไปเมืองจีนอาจจะเป็นความพยายามของละโว้ที่จะตัดความสัมพันธ์ฐานเป็นประเทศราชของอาณาจักรกัมพูชา
เรื่องที่ละโว้ส่งทูตไปจีนนี้ได้รับการขยายความให้กระจ่างชัดมากยิ่งขึ้น เมื่อค้นพบศิลาจารึกที่ดงแม่นางเมืองที่จังหวัดนครสวรรค์ มีศักราชตรงกับ พ.ศ. ๑๗๑๐ ระบุเรื่องราวราชวงศ์ศรีธรรมา โศกราช ซึ่งมีนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มกล่าวกันว่า เป็นราชวงศ์อิสระในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และลงความเห็นว่าคงเป็นราชวงศ์ปกครองเมืองลพบุรี จึงได้มีการสันนิษฐานว่าราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชนั้นเองที่เป็นผู้พยายามแยกตัวเป็นอิสระจากอาณาจักรกัมพูชา
หลักฐานอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นอิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาต่อเมืองลพบุรีอีกคือ ปรากฏภาพสลักนูนต่ำทหารละโว้บนผนังระเบียงปราสาทนครวัตซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้า สุริยวรมันที่ ๒ คู่กันกับภาพทหารสยาม โดยทหารละโว้มีนายทัพเป็นแม่ทัพขอม แสดงถึงอำนาจของอาณาจักรกัมพูชาที่มีเหนืออาณาจักรละโว้ในขณะนั้น จารึกปราสาทพระขรรค์ พ.ศ. ๑๗๓๔ ตรงกับ รัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๗๒๔ - ราว ๑๗๖๒) กล่าวถึงเมืองลโวทยะปุระซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในจำนวน ๒๓ เมืองที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้พระราชทานพระชัยพุทธมหานาถ ซึ่งเป็น พระพุทธรูปฉลองพระองค์ไปประดิษฐาน นอกจากนั้นในจดหมายเหตุจีนของ เจา ซู กัว แต่งขึ้นใน พ.ศ. ๑๗๖๘ กล่าวว่า ละโว้เป็นประเทศราชประเทศหนึ่งของอาณาจักรกัมพูชา
อิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาต่อเมืองละโว้และประเทศราชอื่นๆ ลดน้อยลงหลังรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดส์ กล่าวว่า ในคริสศตวรรษที่ ๑๓ (ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙) กัมพูชาเริ่มประสบความลำบากเนื่องจากได้ขยายเขตออกไปมากเกินไปและโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีภาระหนักในศตวรรษที่ ๑๒ (กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗ กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘) เพราะประชาชนถูกกษัตริย์ยิ่งใหญ่ ๒ พระองค์ ซึ่งเป็นทั้งนักรบและนัก ก่อสร้างเกณฑ์ไปใช้ กอปรกับได้ถูกพวกจับปารุกรานเมื่อ ค.ศ. ๑๑๗๗ (พ.ศ. ๑๗๒๐) กัมพูชาจึงอ่อนแอลงจนถึงกับเข้าสู่ยุคไม่มีขื่อไม่มีแป เมืองขึ้นและประเทศราชของกัมพูชาสามารถแข็งเมืองใน พ.ศ. ๑๘๓๙ โจว ตา กวน ทูตจีนได้ไปเยือนอาณาจักรกัมพูชาและได้เขียนหนังสือบทความเกี่ยวกับประเพณีของอาณาจักรกัมพูชชา มีข้อความหลายแห่งกล่าวถึงบทบาทของชาวสยามที่มีต่อาณาจักรกัมพูชา ทั้งทางด้านการทำสงครามศาสนาและเศรษฐกิจ
หลักฐานทางด้านโบราณวัตถุสถานที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘ มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีกับหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ กล่าวคือ ปรางค์แขกเป็นสถาปัตยกรรมแบบขอมได้รับการกำหนดอายุว่าอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ ต่อจากนั้นได้ค้นพบเศียรพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเทวรูป ศิลปขอมแบบต่างๆ ที่เมืองลพบุรี มีอายุไล่เรี่ยกันมาคือ แบบบาปวน (อายุราว พ.ศ. ๑๕๕๓ - ๑๖๒๓) แบบนครวัต (อายุราว พ.ศ. ๑๖๔๓ - ๑๗๑๕) และแบบบายน (อายุราว พ.ศ. ๑๗๒๐ - ๑๗๗๓) พระปรางค์สามยอดศาสนสถานที่สำคัญและเป็นสัญญลักษณ์ของเมืองลพบุรีมีแบบและผังเป็นสถาปัตยกรรมขอมแบบบายน
ศิลปกรรมแบบต่างๆ ที่พบแสดงให้เห็นว่ามีการนับถือพุทธศาสนาควบคู่กันไปกับศาสนาพราหมณ์ และที่สำคัญคือขอมคงนำพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาฝังรากให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ในที่ราบภาคกลางประเทศไทยจึงได้ค้นพบประติมากรรมพระโพธิสัตว์หลายองค์ที่เป็นศิลปกรรมแบบขอม
ลพบุรีในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - พ.ศ. ๑๘๙๓
ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เกิดความอ่อนแอภายในอาณาจักรกัมพูชาทำให้รัฐต่างๆ ที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจปลีกตัวเป็นอิสระ ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่าละโว้ได้ต่อสู้เพื่อเป็นเอกราชตั้งแต่เมื่อใด ถ้าได้เปรียบเทียบกับสุโขทัยซึ่งมีหลักฐานว่าพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางท่าวได้ร่วมมือกันขับไล่ “ขอมสมาดโขลญลำพง” ขุนนางขอมออกไปจากอาณาจักรได้ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ แต่ความอ่อนแอภายในของอาณาจักรกัมพูชาเอง จึงอาจจะกล่าวได้ว่าละโว้คงหลุดพ้นจากอิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรขอมในศตวรรษเดียวกับสุโขทัย
เมื่ออิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาหมดไป เกิดรัฐต่างๆ ที่มีบทบาทของตัวเองขึ้นทั่วไปในภาคเหนือและภาคกลางประเทศไทย ที่สำคัญคือรัฐพะเยา รัฐเชียงใหม่ รัฐสุโขทัย รัฐละโว้ รัฐต่างๆ เหล่านี้มีรูปการปกครองแบบนครรัฐ มีอาณาเขตในการปกครองไม่กว้างขวางมากนักและมีหลักฐานว่าได้เป็นไมตรีกันในระยะแรกๆ เช่น ตำนานทางภาคเหนือกล่าวถึงการร่วมปรึกษาหารือกันในการสร้างเมืองเชียงใหม่ ระหว่างผู้ปกครอง รัฐพะเยา รัฐสุโขทัย และรัฐเชียงใหม่ ในพงศาวดารโยนกกล่าวถึงพระยางำเมืองและพระร่วงเคยไปเรียนในสำนักพระสุกทันตฤษี ณ กรุงละโว้ เป็นต้น
ลพบุรีในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นรัฐอิสระเช่นเดียวกับเชียงใหม่และสุโขทัย ทั้งนี้มีหลักฐานที่สำคัญคือในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ กล่าวถึงอาณาเขตสุโขทัยในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง (ครองราชย์ราว พ.ศ. ๑๘๒๒ - ราว ๑๘๔๒) ทางทิศใต้ว่ามีเมืองคณฑี (อยู่ใกล้กำแพงเพชร) เมืองพระบาง (นครสวรรค์) เมืองแพรก (สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรีหรืออ่างทอง) เมืองเพชรบุรี และเมืองนครศรีธรรมราช จะเห็นได้ว่าเว้นกล่าวถึงเมืองลพบุรีเมืองใหญ่ซึ่งอยู่ทางใต้ มีผู้สันนิษฐานว่าอาจจะมีการทำสัญญาเป็นมิตรกันระหว่างสุโขทัยกับลพบุรี เช่นเดียวกับสุโขทัยได้ทำกับเมืองน่านใน พ.ศ. ๑๘๓๐ นอกจากนี้ในจดหมายเหตุจีนกล่าวถึงละโว้ส่งทูตไปจีนใน พ.ศ. ๑๘๓๒ และ พ.ศ. ๑๘๔๒ เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นถึงความเป็นอิสระของรัฐลพบุรีในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙
ราชวงศ์หรือพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเป็นผู้ปกครองเมืองลพบุรี ในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ยังขาดหลักฐานที่หนักแน่นเพื่อไขความกระจ่างแจ้งอยู่มาก นอกจากในตำนานภาคเหนือกล่าวถึงพระรามาธิบดีผู้เป็นใหญ่ ในแคว้นกัมโพชและอโยชณปุระกับเรื่องพระรามาธิบดีกษัตริย์อโยชณปุระเสด็จมาจากกัมโพชทรงยึดเมืองชัยนาท เป็นที่ยอมรับกันว่าพระรามาธิบดีในตำนานภาคเหนือหมายถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นที่อยุธยาใน พ.ศ. ๑๘๙๓ แคว้นกัมโพช หมายถึงลพบุรีและอโยชณปุระหมายถึงอยุธยา จะเห็นได้ว่าตำนานภาคเหนือกล่าวถึงความเกี่ยวเนื่องระหว่างสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เมืองลพบุรี และเมืองอยุธยา และทราบต่อมาว่าเมื่อสมเด็จพระรามา ธิบดีที่ ๑ ครองอยุธยาแล้ว ได้โปรดให้พระราชบุตรคือพระราเมศวรขึ้นไปครองเมืองลพบุรี อาจจะเป็นได้ว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ครองเมืองลพบุรีมาก่อนแล้วจึงได้เสด็จย้ายไปครองเมืองอยุธยาและจึงให้พระราเมศวรครองเมืองลพบุรีแทน เรื่องดังกล่าวอาจจะสัมพันธ์กับข้อสังเกตของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ทว่าอุดมการณ์ทางการเมืองของกษัตริย์อยุธยาตั้งแต่แรกเริ่มสถาปนาอาณาจักรต่างกับ อุดมการณ์ทางการเมืองของกษัตริย์สุโขทัย สำหรับกษัตริย์สุโขทัยโปรดให้ค้าขายได้โดยเสรีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมภาษีเก็บพอประมาณ การเกณฑ์คนก็เป็นไปตามส่วนกำลังที่มีและไม่ใช้แรงคนชรา มรดกก็ยอมให้ตกทอดไปยังทายาทได้เต็มที่ ไม่มีการชักประโยชน์ไว้สำหรับกษัตริย์ แต่สำหรับกษัตริย์อยุธยาเป็นเทพเจ้าบนพิภพเช่นเดียวกับที่กัมพูชาหรือมิฉะนั้นอย่างน้อยก็เป็นเสมือนพระพุทธองค์ที่ยัง พระชนม์ชีพอยู่ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ จึงสรุปไว้ว่าราชวงศ์สยามวงศ์ใหม่ (ราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑) รับมรดกระบอบกษัตริย์จากนครวัตมาทั้งหมดน่าจะเป็นได้ว่าเพราะระบอบกษัตริย์ของสยามใหม่นี้ได้เกิดขึ้นในแวดวงที่ได้รับอารยธรรมเขมร เมืองที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ได้รับมรดกระบอบกษัตริย์จากนครวัตอย่างเต็มที่นั้นควรจะเป็นที่เมืองลพบุรี
การย้ายศูนย์กลางการปกครองจากเมืองลพบุรีไปอยุธยานั้นคงเกี่ยวเนื่องกับความ เหมาะสมของอยุธยาในทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ กล่าวคืออยุธยาตั้งอยู่ริมแม่น้ำใหญ่ เรือสินค้าขนาดใหญ่สามารถแล่นเข้าออกไปจนถึงเมือง นอกจากนั้นทำเลที่ตั้งอยุธยาอยู่ในจุดที่สามารถควบคุมเมืองใหญ่ใกล้เคียง เช่น เมืองสุพรรณบุรี เพชรบุรีได้ง่าย
เมื่อมีการสถาปนาอยุธยาใน พ.ศ. ๑๘๙๓ แล้ว เมืองลพบุรีมีฐานะกลายเป็นเมืองลูกหลวงที่อุปราชปกครอง จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระราเมศวรซึ่งเปรียบได้กับตำแหน่งรัชทายาทขึ้นปกครอง
จากการศึกษาเรื่องศิลปกรรมในเมืองลพบุรีทั้งทางด้านประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ เป็นศิลปที่ได้รับอิทธิพลศิลปขอมแบบบายน และได้วิวัฒนาการจนมีลักษณะเฉพาะเรียกว่า ศิลปะแบบลพบุรีที่เห็นได้ชัดเจนคือปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และคงเป็นต้นเค้าของบรรดาพระปรางค์ ทั้งหลายในประเทศไทยในศตวรรษต่อมา
ลพบุรีในสมัยอยุธยา (ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๓๑๐)
เมืองสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง คนไทยทางใต้ก็ตั้งแข็งเมืองไม่ยอมเป็นประเทศราช และ พระเจ้าอู่ทองก็สร้างพระนครศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๙๓ และทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่อเมืองสุโขทัย ลพบุรีจึงกลายเป็นเมืองหน้าด่านที่คอยป้องกันพวกขอมทางตะวันออก และพวกสุโขทัยทางเหนือในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ก็ได้โปรดให้สมเด็จพระราเมศวรราชโอรสขึ้นไปครองเมืองลพบุรี ซึ่งอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวงและใช้เป็นเครื่องถ่วงดุลย์อำนาจทางการเมืองกับสุพรรณบุรีซึ่งขุนหลวงพะงั่ว พี่ของพระมเหสีไปครองอยู่
ต่อมาในสมัยของสมเด็จพระบรมราชาที่ ๑ (พ.ศ. ๑๙๒๑) อาณาจักรอยุธยาได้ขยายตัวออกไปกว้างขวางและรวมเอาสุโขทัยเป็นอาณาจักรเดียวกัน ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่เขมรอ่อนกำลังลงและได้ยกทัพไปตีเขมรถึงนครธมซึ่งเป็นราชธานีเขมร และเมื่อสมเด็จพระราเมศวรได้ครองราชย์เป็นครั้งที่ ๒ ก็ไม่ปรากฏว่าส่งพระราชโอรสขึ้นไปครองเมืองลพบุรี และในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงปรับปรุงการปกครอง โปรดให้ยกเลิกเมืองลูกหลวงทั้ง ๔ ด้านของราชธานีออก ลพบุรีจึงกลายเป็น หัวเมืองที่อยู่ในเขตราชธานีแต่นั้นมา
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ รองจากพระนครศรีอยุธยา สถานที่สร้างพระราชวังนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชา-ภาพทรงสันนิษฐานว่า คงสร้างในที่ที่เป็นที่ประทับเดิมของสมเด็จพระราเมศวร สาเหตุที่สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีอีกแห่งหนึ่งก็เนื่องจากในปี พ.ศ. ๒๒๐๗ ได้เกิดวิกฤติการณ์ทางการค้ากับฮอลันดา พระองค์จึงหาทางป้องกันเหตุการณ์ต่างๆ อีกทั้งทรงเห็นว่าลพบุรีมีชัยภูมิเหมาะแก่การป้องกันตนเอง และลพบุรีมีแม่น้ำไหลผ่านแต่ไม่ลึกพอที่เรือขนาดใหญ่จะผ่านเข้าไปได้ สามารถติดต่อกับราชธานีสะดวก ซึ่งทำให้พระองค์สร้างลพบุรีเป็นเมืองสำคัญ พระองค์ทรงแปรพระราชฐานมาประทับที่เมืองลพบุรีเป็นเวลายาวนาน ในแต่ละปีเสด็จประทับยังพระนครศรีอยุธยาเพียงระยะเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมเท่านั้น และได้พระราชทานวังที่เมืองลพบุรีเป็นที่ว่าราชการ รวมทั้งต้อนรับแขกต่างประเทศที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีอีกด้วย
ตอนปลายสมัยของสมเด็จพระนารายณ์เมืองลพบุรีเกิดความวุ่นวายขึ้นเนื่องจากอิทธิพลของพวกขุนนางต่างชาติ ทำให้พระเพทราชาได้เข้ายึดอำนาจทางการปกครอง ในขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงประชวรหนัก และเสด็จสวรรคตไปท่ามกลางเหตุการณ์วุ่นวายในขณะนั้น เมื่อสิ้นรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์ เมืองลพบุรีจึงมีความสำคัญลดลงไม่มีความสำคัญทางการเมืองจนสิ้นสมัยอยุธยา
ลพบุรีสมัยรัตนโกสินทร์
ลพบุรีขาดความสำคัญลงมากตั้งแต่สิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จนกระทั่งถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งรัตนโกสินทร์ ซึ่งไทยเราได้ติดต่อกับต่างชาติมากขึ้น และชาติตะวันตกในยุคนั้นได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมรุกรานบ้านเมืองทางตะวันออก ใช้กำลังกับประเทศต่างๆ พระองค์ก็ได้ตระหนักถึงอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น จึงโปรดให้สถาปนาเมืองลพบุรีขึ้นเป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่ง โดยปฏิสังขรณ์พระราชวังเดิมของสมเด็จพระนารายณ์ที่ชำรุดทรุดโทรมให้กลับมีสภาพดีขึ้นดังเดิม และโปรดให้สร้างหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎขึ้นเป็นที่ประทับ และได้พระราชทานนามพระราชวังที่เมืองลพบุรีนี้ว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์”
จะเห็นได้ว่าจังหวัดลพบุรี มีความสำคัญติดต่อกันมานานนับพันปี คือตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์และดำรงความเป็นเมืองสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น