แม่ฮ่องสอน
ประวัติศาสตร์จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
แม่ฮ่องสอน เดิมเป็นชุมชนบ้านป่า ไม่มีผู้ใดปกครอง คงมีแต่ชาวไทยใหญ่จากชายแดนพม่าเข้ามาอยู่อาศัย ทำมาหากินบ้างเป็นบางฤดู ความสำคัญในสมัยนั้นเป็นเพียงทางผ่านของกองทัพพม่าที่เดินทางเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา หรือหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๗๔ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้ามโหตร-ประเทศ (เจ้าพระยาเชียงใหม่มหาวงศ์) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ประสงค์จะได้ช้างป่ามาฝึกใช้งานจึงบัญชาให้เจ้าแก้วเมืองมาควบคุมไพร่พล หมอครวญพร้อมด้วยกำลังช้างต่อ ออกเดินทางไปสำรวจและคล้องช้างป่าทางด้านดินแดนแถบนี้ เจ้าแก้วเมืองมาเดินทางรอนแรมจากเชียงใหม่ มาถึงที่แห่งหนึ่งทางทิศใต้ริมฝั่งน้ำปาย เห็นว่าทำเลดีและเหมาะสม เพราะเป็นที่ราบมีน้ำท่าบริบูรณ์ ทั้งยังเป็นป่าโปร่ง มีหมูป่าลงกินโป่งชุกชุม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นหมู่บ้านได้ จึงหยุดพักไพร่พลอยู่ ณ ที่แห่งนี้ แล้วทำการรวบรวมชาวไทยใหญ่ที่กระจัดกระจายกันอยู่ให้มาตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง และตั้งชื่อว่า "บ้านโป่ง-หมู" ซึ่งปัจจุบันได้เพี้ยนเป็น "บ้านปางหมู" ซึ่งเป็นสถานที่ที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และแต่งตั้งให้ "พระกาหม่อง" เป็นหัวหน้าบ้านปกครองดูแล เมื่อเจ้าแก้วเมืองมา ได้จัดตั้งหมู่บ้านโป่งหมูเรียบร้อยแล้ว ก็ออกเดินทางต่อไปทางใต้เพื่อคล้องช้างป่า จนถึงลำห้วยแห่งหนึ่งไม่ไกลจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนในปัจจุบันนัก ได้พบรอยเท้าช้างป่ามากมาย จึงหยุดพักพลอยู่ ณ ที่นั้นทำการคล้องช้างป่าได้หลายเชือก เมื่อได้ช้างป่ามาแล้ว ก็ได้ตั้งคอกฝึกสอนช้างป่าในลำห้วยนั้น และได้มอบให้ "แสนโกม" บุตรชายพะกาหม่อง ไปชักชวนผู้คนมาอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านและชื่อว่า "แม่ร่องสอน" ซึ่งปัจจุบันเรียกเพี้ยนเป็น "แม่ฮ่องสอน"
การจัดรูปแบบการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงประกาศรวมหัวเมืองต่างๆ ของอาณาจักรลานนาไทยเป็นมณฑลพายัพเป็นส่วนหนึ่งในผืนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทย อาณาจักรลานนาไทยจึงสิ้นสภาพของการเป็นประเทศราช พ้นจากการต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ คือ ต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน ฯลฯ และก็สูญสิ้นความเป็นอาณาจักรลงด้วยเช่นกัน เว้นแต่ยังคงมีเจ้าผู้ครองนครมีฐานันดรศักดิ์เป็น "เจ้า" เช่นเดียวกับในตอนที่เข้ารวมอยู่ในอำนาจของไทยใหม่ๆ ต่างกันแต่เพียงในสมัยที่จัดตั้งเป็นมณฑลขึ้นแล้วทางราชการได้แต่งตั้งข้าหลวงใหญ่ ต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นสมุหเทศาภิบาล และโดยเฉพาะมณฑลพายัพ เปลี่ยนเป็น อุปราช มาดำเนินการ ปกครอง และแต่งตั้งเจ้าเมืองมาปฏิบัติราชการแทนเจ้าผู้ครองนคร (ซึ่งเรียกกันว่าเจ้าหลวง) ทั้งนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็นต้นมา สำหรับตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครนั้นถือว่าเป็นตำแหน่งมีเกียรติ และมีเจ้าผู้ครองนครอยู่ทุกจังหวัดในมณฑลพายัพ ยกเว้นจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไม่มีเจ้าผู้ครองนคร เจ้าผู้ครองนครมา สิ้นสุดลงภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองประเทศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ และยุบเลิกเจ้าผู้ครองนครเสียทั้งหมด ไม่แต่งตั้งขึ้นใหม่อีก ในเมื่อเจ้าผู้ครองนครนั้นถึงแก่พิราลัยลง
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตย พ.ศ. ๒๔๗๖ มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัด และอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริการราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัด และ กรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองเป็นจังหวัด และอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย
เหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องมาจาก
๑. การคมนาคมสื่อสารสะดวก และรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อนสามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
๒. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
๓. เห็นว่าหน่วยมณฑล ซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวง เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
๔. รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑล เมื่อจังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดนี้
๑) จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบการบริหาร แห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
๒) อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรมการจังหวัดนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลเดียวคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
๓) ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการ แผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมามีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕ โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
๑) จังหวัด
๑) อำเภอ
จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลายๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น
สมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
แม่ฮ่องสอน เดิมเป็นชุมชนบ้านป่า ไม่มีผู้ใดปกครอง คงมีแต่ชาวไทยใหญ่จากชายแดนพม่าเข้ามาอยู่อาศัย ทำมาหากินบ้างเป็นบางฤดู ความสำคัญในสมัยนั้นเป็นเพียงทางผ่านของกองทัพพม่าที่เดินทางเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา หรือหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๗๔ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้ามโหตร-ประเทศ (เจ้าพระยาเชียงใหม่มหาวงศ์) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ประสงค์จะได้ช้างป่ามาฝึกใช้งานจึงบัญชาให้เจ้าแก้วเมืองมาควบคุมไพร่พล หมอครวญพร้อมด้วยกำลังช้างต่อ ออกเดินทางไปสำรวจและคล้องช้างป่าทางด้านดินแดนแถบนี้ เจ้าแก้วเมืองมาเดินทางรอนแรมจากเชียงใหม่ มาถึงที่แห่งหนึ่งทางทิศใต้ริมฝั่งน้ำปาย เห็นว่าทำเลดีและเหมาะสม เพราะเป็นที่ราบมีน้ำท่าบริบูรณ์ ทั้งยังเป็นป่าโปร่ง มีหมูป่าลงกินโป่งชุกชุม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นหมู่บ้านได้ จึงหยุดพักไพร่พลอยู่ ณ ที่แห่งนี้ แล้วทำการรวบรวมชาวไทยใหญ่ที่กระจัดกระจายกันอยู่ให้มาตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง และตั้งชื่อว่า "บ้านโป่ง-หมู" ซึ่งปัจจุบันได้เพี้ยนเป็น "บ้านปางหมู" ซึ่งเป็นสถานที่ที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และแต่งตั้งให้ "พระกาหม่อง" เป็นหัวหน้าบ้านปกครองดูแล เมื่อเจ้าแก้วเมืองมา ได้จัดตั้งหมู่บ้านโป่งหมูเรียบร้อยแล้ว ก็ออกเดินทางต่อไปทางใต้เพื่อคล้องช้างป่า จนถึงลำห้วยแห่งหนึ่งไม่ไกลจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนในปัจจุบันนัก ได้พบรอยเท้าช้างป่ามากมาย จึงหยุดพักพลอยู่ ณ ที่นั้นทำการคล้องช้างป่าได้หลายเชือก เมื่อได้ช้างป่ามาแล้ว ก็ได้ตั้งคอกฝึกสอนช้างป่าในลำห้วยนั้น และได้มอบให้ "แสนโกม" บุตรชายพะกาหม่อง ไปชักชวนผู้คนมาอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านและชื่อว่า "แม่ร่องสอน" ซึ่งปัจจุบันเรียกเพี้ยนเป็น "แม่ฮ่องสอน"
การจัดรูปแบบการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงประกาศรวมหัวเมืองต่างๆ ของอาณาจักรลานนาไทยเป็นมณฑลพายัพเป็นส่วนหนึ่งในผืนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทย อาณาจักรลานนาไทยจึงสิ้นสภาพของการเป็นประเทศราช พ้นจากการต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ คือ ต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน ฯลฯ และก็สูญสิ้นความเป็นอาณาจักรลงด้วยเช่นกัน เว้นแต่ยังคงมีเจ้าผู้ครองนครมีฐานันดรศักดิ์เป็น "เจ้า" เช่นเดียวกับในตอนที่เข้ารวมอยู่ในอำนาจของไทยใหม่ๆ ต่างกันแต่เพียงในสมัยที่จัดตั้งเป็นมณฑลขึ้นแล้วทางราชการได้แต่งตั้งข้าหลวงใหญ่ ต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นสมุหเทศาภิบาล และโดยเฉพาะมณฑลพายัพ เปลี่ยนเป็น อุปราช มาดำเนินการ ปกครอง และแต่งตั้งเจ้าเมืองมาปฏิบัติราชการแทนเจ้าผู้ครองนคร (ซึ่งเรียกกันว่าเจ้าหลวง) ทั้งนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็นต้นมา สำหรับตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครนั้นถือว่าเป็นตำแหน่งมีเกียรติ และมีเจ้าผู้ครองนครอยู่ทุกจังหวัดในมณฑลพายัพ ยกเว้นจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไม่มีเจ้าผู้ครองนคร เจ้าผู้ครองนครมา สิ้นสุดลงภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองประเทศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ และยุบเลิกเจ้าผู้ครองนครเสียทั้งหมด ไม่แต่งตั้งขึ้นใหม่อีก ในเมื่อเจ้าผู้ครองนครนั้นถึงแก่พิราลัยลง
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตย พ.ศ. ๒๔๗๖ มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัด และอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริการราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัด และ กรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองเป็นจังหวัด และอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย
เหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องมาจาก
๑. การคมนาคมสื่อสารสะดวก และรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อนสามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
๒. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
๓. เห็นว่าหน่วยมณฑล ซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวง เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
๔. รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑล เมื่อจังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดนี้
๑) จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบการบริหาร แห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
๒) อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรมการจังหวัดนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลเดียวคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
๓) ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการ แผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมามีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕ โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
๑) จังหวัด
๑) อำเภอ
จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลายๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น