ปราจีนบุรี
ประวัติศาสตร์จังหวัดปราจีนบุรี
ประวัติความเป็นมา
จังหวัดปราจีนบุรีเป็นหัวเมืองชายแดน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศไทย บริเวณ
ตัวเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรียาวเหยียดจากทิศตะวันออกจนถึงทิศตะวันตก ลักษณะเป็นที่ราบ
ลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีไหลผ่านสองฟากฝั่ง จังหวัดปราจีนบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ทางด้านอำเภออรัญประเทศและอำเภอตาพระยา ดังนั้นจังหวัดปราจีนบุรีจึงเปรียบเสมือนเมืองกันชนระหว่างประเทศไทย และประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย นับได้ว่าเป็นจังหวัดที่เก่าแก่จังหวัดหนึ่ง มีอาณาเขตกว้างขวางกว่าจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกของประเทศไทย
จังหวัดปราจีนบุรีนี้เดิมเรียกกันหลายชื่อ คือ ปราจีนบุรี ปราจิณบุรี ปาจิณบุรี ตามหนังสือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คำว่า “ปราจีน” แปลว่า “ตะวันออก” ซึ่งหมายความว่าเมืองทางทิศตะวันออกของประเทศไทย จากหลักฐานดั้งเดิมตามพระราชพงศาวดารไทยปรากฏเรียกชื่อนี้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย แต่มักเรียกกันว่า “เมืองปราจิณ” แต่จากหนังสือประชุมพระราช-นิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี เรียก “เมืองประจิม” บางที่ก็เรียกว่า “เมืองปัจจิม” ซึ่งคำว่า “ปัจจิม” แปลว่า เมืองทางทิศตะวันตก ซึ่งคงหมายความถึงอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยนั่นเอง
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ยังคงเรียกกันว่า “เมืองปราจิณ” เมื่อประเทศไทยมีการปกครองส่วนภูมิภาคแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองปราจีนเป็นที่ตั้งของมณฑลปราจีณครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ แห่งจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” ทั่วประเทศ ดังนั้นทำเนียบรายชื่อของจังหวัดทั่วประเทศ จึงมีคำว่า “จังหวัดปราจีนบุรี” อยู่ในทำเนียบของกระทรวงมหาดไทย
สำหรับที่ตั้งของเมืองปราจีนบุรีนั้น ในประวัติศาสตร์ไม่ได้กล่าวถึงว่าตั้งอยู่ที่ใด แต่พอจะอนุมานตามเหตุผลที่พอจะเชื่อถือได้คือ ในสมัยอยุธยาตอนปลายต่อกับสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตาก-สินมหาราชในขณะนั้นรับราชการเป็นพระยาวชิรปราการ ได้ชักชวนสมัครพรรคพวกทั้งชาวจีนและชาวไทยแหวกวงล้อมของพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาได้ ได้เดินทางหลบหนีพม่ามาจนถึงบ้านพรานนก เมืองนครนายก จึงให้บรรดาทหารที่หลบหนีมาด้วยทั้งไทยและจีนออกหาเสบียงอาหาร ฝ่ายทหารของพม่าที่รักษาเมืองปราจิณ อยู่ที่บางคางได้ทราบข่าวการหลบหนีของพระยาวชิรปราการ จึงยกกำลังมาปราบปรามเกิดปะทะกัน ปรากฏว่าฝ่ายไทยได้รับชัยชนะ ซึ่งข้อความในตอนนี้บ่งไว้ชัดเจนว่า "บางคาง แขวงเมืองปราจิณ" ซึ่งในคำภาษาจีนภาษาแต้จิ๋วออกเสียงเรียกเมืองปราจิณ ว่า "มั่งคั้ง" ซึ่งหมายถึง "บางคาง" นั่นเอง ดังนั้นคาดว่าเมืองปราจีนบุรีเดิมนั้นคงตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านบางคางอย่างแน่นอน เพราะนอกจากสถานที่นี้แล้ว ก็ไม่ปรากฏซากเมืองในที่อื่นใด (สำหรับซากเมืองโบราณที่โคกวัด ตำบลโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี นั้นเป็นซากเมืองโบราณที่สันนิษฐานว่ามีในสมัยขอม คือ เมืองอวัธยปุระ หรือ เมือง มโหสถ ซึ่งต่อมาได้เสื่อมโทรมลงซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อไป และคงจะย้ายมาอยู่ในบริเวณบ้านบางคางนี้) และจากการสำรวจก็พบซากและร่องรอยให้เห็นว่า ปราจีนบุรี นั้น เดิมตั้งอยู่ที่บางคาง เพราะบริเวณใกล้ๆ วัดบางคาง (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลรอบเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี) ยังแลเห็นปรากฏเป็นโคกเป็นเนินอยู่บ้าง ต่อมาได้มีผู้ขุดพบโบราณวัตถุหลายอย่าง เช่น พระพุทธรูปสมัยอยุธยา (ขณะนี้อยู่ที่พระครูศีลวิสุทธาจารย์ วัดสง่างาม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี) แม้ในปัจจุบันซากและร่องรอยต่างๆ จะถูกทำลายไปบ้าง แต่ก็ยังมีเค้าเป็นชัยภูมิที่ตั้งเมืองพอจะสังเกตเห็นได้บ้าง และหลังต่อจากนั้นก็คงจะย้ายตัวเมืองมาตั้งอยู่บริเวณกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี
ในปัจจุบัน ซึ่งห่างจากแม่น้ำปราจีนบุรี ประมาณ ๒๐๐ เมตร และบริเวณนี้ก็ยังคงมีซากกำแพงเมือง
บางส่วนหลงเหลืออยู่ ส่วนอื่นๆ ไม่ปรากฏให้เห็นแล้ว
จากข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสถานที่ตั้งเมืองปราจีนบุรี ทั้งบริเวณบ้านบางคาง และกองกำกับตำรวจภูธร จังหวัดปราจีนบุรีนี้ อีกเหตุผลหนึ่งที่น่าเป็นไปได้คือ บริเวณทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่ไม่ห่างจากแหล่งน้ำทั้งนี้เพราะในการตั้งบ้านเรือน การสร้างเมืองของไทยแต่โบราณแล้วจะนิยมยึดถือในแนวทางเดียวกัน คือ ให้อยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้ำ เพื่อประกอบอาชีพในการเพาะปลูก ทำนาและการคมนาคม
สมัยก่อนกรุงสุโขทัย
จากการศึกษาและค้นคว้าของนักประวัติศาสตร์ โบราณคดี ได้พบว่า จังหวัดปราจีนบุรีเคยเป็นหัวเมืองเก่าแก่มาตั้งแต่โบราณตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุวรรณภูมิ อาณาจักรทวาราวดี อาณาจักรฟูนัน อาณาจักรอีศานปุระ อาณาจักรลพบุรี ซึ่งแต่เดิมเคยมีชื่อตามหลักศิลาจารึกว่า "เมืองอวัธยปุระ" "เมืองพระรถ" หรือ "เมืองมโหสถ" ทั้งนี้ จากหลักฐานรายงานของชุมนุมวัฒนธรรมโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร" ได้บันทึกไว้ดังต่อไปนี้ "…..เมืองอวัธยปุระ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี) …..นอกจากเมืองโบราณและโบราณสถาน โบราณวัตถุ ขนาดใหญ่และสวยงาม อันแสดงให้เห็นถึงระดับความเจริญแล้ว ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ อันเป็นที่ตั้งของเมือง ยังแสดงให้เห็นชัดมีความสำคัญเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการคมนาคม…..ในทางภูมิศาสตร์ เมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑๓๐ ํ ๕๓' ๓๐'' เหนือ และเส้นแวงที่ ๑๐๑ ๒๕ ' ตะวันออก ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าค่อนข้างรี ….ภายในเมืองมีโคกเนินที่เป็นศาสนสถาน ทั้งที่สร้างด้วยศิลาแลงและอิฐหลายแห่ง ซึ่งล้วนมีขนาดใหญ่ ….บริเวณเหล่านี้มีเศษกระเบื้องเกลื่อนกลาด เศษกระเบื้องที่พบมีหลายสมัย นับตั้งแต่สมัยทวาราวดี ลพบุรี จนถึงสุโขทัยและอยุธยา…ที่เมืองอวัธยปุระนี้ การชลประทานเพื่อกักน้ำไว้ใช้เจริญมาก …..บริเวณเมืองอวัธยปุระได้พบหลักศิลาจารึกที่เนินสระบัว ตำบลโคกปีบ อำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี มีข้อความว่า …..มหาศักราช ๖๘๓ ปีฉลูนักษัตร แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ วันพุธ (ตรงกับ พ.ศ. ๑๓๐๔)"
จากหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับซากโบราณ ศาสนสถาน ตลอดจนที่ตั้งตามตำแหน่งภูมิศาสตร์ทำให้เป็นแนวทางสันนิษฐานได้ว่า เมืองอวัธยปุระ "เมืองพระรถ" เมืองมโหสถ หรือเมืองปราจีนบุรีในปัจจุบัน ได้เกิดขึ้นในอาณาจักรสุวรรณภูมิ เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงมาได้ ๓๐๐ ปี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์แห่งอินเดีย ได้จัดส่งพระเถระ ๒ รูป คือ พระโสณะ และพระ- อุตระ เข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาในอาณาจักรสุวรรณภูมิ ลัทธิหินยาน ซึ่งเป็นลัทธิหนึ่งในพุทธศาสนา จึงอุบัติขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ และเจริญรุ่งเรืองสืบมาซึ่งจะเห็นได้จากโบราณวัตถุต่างๆ เป็นต้นว่า รูปธรรมจักรและกวาง สถูปศิลา พระพุทธรูปปางต่างๆ อันหมายถึง อุเทสิกะเจดีย์ ต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งได้พันธุ์มาจากเมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย อันหมายถึง บริโภคเจดีย์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในเมืองนี้
ตลอดมา ต่อมาเมืองอวัธยปุระได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรฟูนันระยะหนึ่ง จนกระทั่งจวบถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๑ อาณาจักรทวาราวดีได้มีอำนาจในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาโดยสืบเชื้อสายมาจากอาณาจักรสุวรรณภูมิ และได้แผ่อำนาจมาถึงเมืองอวัธยปุระ จนกระทั่งในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ อาณาจักรทวาราวดีถึงจุดเสื่อม และล่มจมลง เมืองอวัธยปุระจึงต้องตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักร
อีศานปุระ (อาณาจักรเจนละ) และจากหลักฐานการค้นพบศิลาจารึกที่บริเวณเนินสระบัว ตำบลโคกปีบ อำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งจารึกเป็นตัวอักษรขอมโบราณ จึงเป็นหลักฐานยืนยันว่าเมืองอวัธย-ปุระ น่าจะมีชนชาติขอมอาศัยอยู่ด้วย และนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เมืองอวัธยปุระในสมัยนี้มีสภาพเป็นหัวเมืองใหญ่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและการปกครอง ทั้งได้ถ่ายทอดคติความเชื่อในพุทธ-ศาสนาลัทธิมหายานและศาสนาพราหมณ์ นิกายต่างๆ เริ่มแพร่หลาย ดังนั้นพระพุทธรูปในลัทธิมหายานและรูปศิวลึงค์ เทวสถาน อันเป็นเครื่องหมายแทนรูปเคารพตามคติความเชื่อในสมัยนั้น จึงปรากฏร่องรอยทิ้งซากปรักหักพังให้เห็นดังในปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์โบราณคดี กำหนดเรียกศิลปโบราณวัตถุที่ขุดพบในจังหวัดปราจีนบุรี และแถบตะวันออกของประเทศไทยว่า "กลุ่มของโบราณดงศรีมหาโพธิ" ศิลปโบราณวัตถุดังกล่าวนี้เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ เพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๘ อาณาจักรลพบุรีเริ่มมีอำนาจขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อมาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม ได้แผ่ขยายอาณาเขตไปทั่วคาบสมุทรอินโด-จีนตลอดแหลมสุวรรณภูมิ เมืองอวัธยปุระ หรือ เมืองศรีมโหสถ จึงตกอยู่ภายใต้อำนาจด้วย เข้าใจว่ายังคงความสำคัญอยู่แต่ไม่อาจทราบสถานภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจได้แน่ชัด
สมัยสุโขทัย
ในสมัยสุโขทัยไม่พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวถึงเมืองอวัธยปุระ (ศรีมโหสถ) หรือเมืองปราจีนบุรี เข้าใจว่ามิได้มีความสัมพันธ์ทางการเมืองกับสุโขทัย หรือยังอยู่ในอำนาจขอม แต่ก็ได้พบเครื่องสังคโลกในบริเวณชุมชนโบราณ
สมัยกรุงศรีอยุธยา
เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยในปีพุทธศักราช ๑๘๙๓ ทรงนำแบบแผนการปกครองและวิธีการทหารมาจากกรุงสุโขทัย ทรงกำหนดให้มีเมืองป้อมปราการด่านชั้นในขึ้น สำหรับป้องกันราชธานีทั้ง ๔ ทิศ และกำหนดให้เมือง ปราจิณเป็นหัวเมืองชั้นในด้านตะวันออก ขึ้นอยู่ในอำนาจของเจ้าพระยาจักรี ตำแหน่งสมุหนายก เมือง ปราจิณ จัดเป็นหัวเมืองชั้นโท เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นชั้นพระยา
ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ทรงได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการปกครองกรุงศรีอยุธยาใหม่ คือ ทรงจัดแบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองชั้นใน และแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ คือ ชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี และชั้นจัตวา เมืองปราจิณ ถูกกำหนดให้เป็นเมืองจัตวา (ชั้น ๔) ใช้ขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ พระ หรือ พระยา ปกครอง
ล่วงมาถึงสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงสร้างเมืองใหม่ขึ้นหลายเมืองด้วยกัน เมือง ปราจิณถูกตัดแบ่งแยกอาณาเขตจากเดิมจัดตั้งเป็นเมืองใหม่เพิ่มขึ้น คือ ท้องที่เขตเมืองปราจิณทางด้านใต้ กับท้องที่เมืองชลบุรีด้านเหนือ ตั้งเป็นเมืองใหม่ คือ เมืองฉะเชิงเทรา* ในสมัยสมเด็จพระมหา- จักรพรรดินี้ พระเจ้าแปรกษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพมารุกรานไทย เกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่าหลายครั้ง ฝ่ายพระยาละแวกถือโอกาสที่ไทยมีศึกสงครามจึงยกกองทัพมากวาดต้อนครอบครัวชาวเมืองปรา-
จิณ และหัวเมืองด้านตะวันออกไปเป็นจำนวนมาก หลังจากสงครามพม่าสงบลงแล้ว สมเด็จพระมหา-จักรพรรดิ จึงโปรดให้พระยาพะเยาเป็นแม่ทัพยกทัพไปตีเมืองละแวก พระยาละแวกเห็นว่าจะสู้ไม่ได้จึงขอยอมรับผิด ยอมอ่อนน้อมขอเป็นเมืองออกถวายเครื่องบรรณาการ และนำครอบครัวชาวไทยที่กวาดต้อนไปจากเมืองปราจิณกลับคืน
ในสมัยของพระมหาธรรมราชา กรุงศรีอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า บ้านเมืองบอบช้ำจากพิษสงคราม เขมรฉวยโอกาสส่งกองทัพมารุกรานหัวเมืองต่างๆ ของไทยหลายครั้ง เมื่อพม่ายกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๑๒๘ พระยาละแวกได้ยกกองทัพมาช่วยโดยเดินทางมาทางด่านเมือง ปราจิณ ครั้งนี้กองทัพพม่าแตกพ่ายไป ต่อมาพระยาละแวกเริ่มเอาใจออกห่าง จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๑๓๐ พระเจ้าหงสาวดี นันทบุเรง ทรงยกกองทัพใหญ่เข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยาอีก ฝ่ายพระยาละแวกเมื่อทราบว่าไทยมีศึกกับพม่า จึงแต่งทัพเข้ามาตีหัวเมืองทางภาคตะวันออกของไทย ตีเมืองปราจิณแตก พระยาศรีไสยณรงค์และพระยาสีหราชเดโช ยกทัพออกไปตีต้านทัพทางด้านหณุมาน (ปัจจุบันคืออำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และทางด่านพระจารึกหรือด่านพระกริศ (เข้าใจว่าอยู่ในเขตอำเภอวัฒนา-นคร จังหวัดปราจีนบุรี) และแล้วจึงยกทัพกลับมาตั้งมั่นอยู่ ณ เมืองปราจิณ จนกระทั่งพม่าเลิกทัพแล้วจึงยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เข้มแข็ง ทรงร่วมกับสมเด็จพระเอกาทศรถ พระอนุชา ปรับปรุงกองทัพไทยให้เข้มแข็ง หลังจากสมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงประกาศอิสรภาพกรุงศรีอยุธยาไม่ขึ้นต่อกรุงหงสาวดีอีกต่อไป ณ เมืองแครง ใน พ.ศ. ๒๑๒๗ พระยาละแวกได้ขอเป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. ๒๑๓๕ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชโปรดให้จัดเตรียมทัพเพื่อยกเข้าตีกรุงกัมพูชา ทรงสั่งให้เจ้าเมืองทางหัวเมืองด้านตะวันออก ๔ หัวเมือง คือ พระยานครนายก พระยาปราจิณ พระวิเศษเมืองฉะเชิงเทรา และ พระสระบุรี ตั้งค่ายขุดคู ปลูกยุ้งฉางลำเลียงไว้ที่ตำบลทำนบ และให้รักษาฉางข้าว พ.ศ. ๒๑๓๖ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพหลวงไปตีเมืองละแวก ต่อมาโปรดให้ พระยาปราจิณ พระยานครนายก และพระวิเศษเข้าร่วมกระบวนทัพหลวง และโปรดให้พระยาปราจีนตั้งกองรวบรวมเสบียงอาหารอยู่ที่เมืองโพธิสัตว์พร้อมด้วยทหาร ๓,๐๐๐ คน ในที่สุดก็สามารถตีกรุงกัมพูชาเป็นผลสำเร็จ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชโปรดให้ตั้งพิธีปฐมกรรม และประหารชีวิตพระยาละแวก หลังจากนั้นมาราษฎรเมืองปราจิณก็อยู่เย็นเป็นสุข ไม่ถูกรบกวนจากพวกเขมรอีก
จวบจนถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปรากฏว่าเกิดเรื่องยุ่งยากในการสืบราชสมบัติ เนื่องจากพระราชโอรสไม่สามัคคีปรองดองกัน (โอรสทั้ง ๓ พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าเอกทัศ) และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (เจ้าฟ้าอุทุมพร) และพระโอรสเกิดจากพระสนม ๔
* ความนี้ปรากฏในหนังสือแสดงบรรยายพงศาวดารสยามของสมเด็จกรมดำรงราชานุภาพ
พระองค์ คือ กรมหมื่นเทพพิพิธ กรมหมื่นจิตสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพย์ภักดี) ต่อมาพระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ได้รับพระราชอาญาให้ประหารชีวิตเนื่องจากลักลอบเป็นชู้กับพระสนม ส่วนราชโอรสองค์กลางคือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าเอกทัศ) นั้น พระปรีชาและพระอุปนิสัยไม่เหมาะแก่การปกครองบ้านเมือง โปรดให้ออกผนวชและทรงแต่งตั้งให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตเป็นอุปราช เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ทรงขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าอุทุมพร ต่อมากรมหมื่นจิตสุนทร กรมหมื่นสุนทร-เทพ และกรมหมื่นเสพย์ภักดี คบคิดกันช่วงชิงราชสมบัติแต่ไม่สำเร็จ ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ หลังจากนั้นพระเจ้าอุทุมพรทรงถวายราชสมบัติให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ หรือเรียกกันว่าขุนหลวงขี้เรื้อน ส่วนพระเจ้าอุทุมพรเมื่อมอบราชสมบัติให้แก่พระเชษฐาแล้ว ก็ทรงออกผนวชและก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียให้แก่พม่าเป็นครั้งที่ ๒ ในพุทธศักราช ๒๓๐๙ ปีจอ กรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งถูกพระเจ้าเอกทัศ เนรเทศไปอยู่เมืองจันทบุรีได้ชักชวนรวบรวมกำลังจัดกองทัพมาช่วยรบพม่าซึ่งขณะนั้นกำลังล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ กองทัพได้ยกกำลังมาถึงเมือง ปราจิณ และให้นายทองอยู่น้อย เป็นแม่ทัพหน้ายกพลไปตั้งมั่นอยู่ปากน้ำโยทะกา แขวงเมืองนครนายก ต่อมาพม่าได้ยกกองทัพมาตีทัพหน้าของกรมหมื่นเทพพิพิธแตกพ่ายไป กรมหมื่นเทพพิพิธจึงเสด็จหนีไปยังเมืองนครราชสีมา จากเหตุการณ์ที่กรมหมื่นเทพพิพิธได้ชักชวนกำลังราษฎรไปรบกับพม่าช่วย กรุงศรีอยุธยาและได้ยกกองทัพมาถึงเมืองปราจิณนั้น คาดว่าบรรดาชายฉกรรจ์ของเมืองปราจิณ ซึ่งมีเลือดรักชาติและเป็นนักรบอยู่แล้ว คงอาสาร่วมรบพม่าในครั้งนี้ด้วยเป็นแน่แท้
สมัยกรุงธนบุรี
หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้ว พม่าตั้งใจจะมิให้ไทยตั้งตัวได้อีก จึงเผาผลาญทำลายปราสาทราชวัง วัดวาอาราม ตลอดจนบ้านเรือนของราษฎรเสียหายยับเยิน ทั้งยังกวาดต้อนผู้คนเก็บทรัพย์สมบัติไปจนหมดสิ้น กรุงศรีอยุธยาซึ่งเคยเป็นราชธานีของไทยที่ยืนยาวมาหลายร้อยปี ก็ถึงกาลพินาศล่มจมนับพระมหากษัตริย์ปกครองกรุงศรีอยุธยารวมทั้งสิ้น ๓๔ พระองค์
จากข้อความตอนหนึ่งในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า “…..พม่ายกทัพเรือออกไปตีเมืองปราจิณแตก…..” ก็แสดงให้เห็นว่า ในการสงครามครั้งนี้ เมืองปราจิณต้องถูกพม่าทำลายบ้านเมืองด้วย และคงกวาดต้อนราษฎรไปด้วยเป็นอันมาก จากซากกำแพงเมืองที่หลงเหลืออยู่ก็พอจะสันนิษฐานได้ว่า เมืองปราจิณซึ่งถูกกองทัพพม่าบุกยึดเมืองได้ คงถูกทำลายเสียหายย่อยยับเช่นเดียวกันกับกรุงศรีอยุธยา
ในช่วงเหตุการณ์ก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ นี้ เมืองปราจิณได้มีส่วนเกี่ยวพันกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ คือ พระยาตาก ขณะนั้นเป็นพระยาวชิรปราการ ได้รวบรวมสมัครพรรคพวกทั้งชาวไทยและชาวจีน ตีฝ่าวงล้อมของทหารพม่าที่ล้อมกรุงศรีอยุธยาออกมาได้ขณะหยุดประทับ ณ บ้านพรานนก ความทราบถึงกองกำลังของทหารพม่าซึ่งตั้งมั่นรักษาเมืองปราจิณอยู่ที่บ้านบางคาง (ปัจจุบันคือบ้านบางคาง ตำบลรอบเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวัน-ตกห่างจากตัวเมืองปราจิณประมาณ ๒ กิโลเมตรเศษ จึงนำกำลังไปปราบปราม ปะทะกับทหารไทย-จีน ของพระยาตากที่ออกมาหาเสบียงอาหาร ผลปรากฏว่าฝ่ายพระยาตากได้รับชัยชนะ ทำให้พระยาตากเป็นที่เลื่อมใสของบรรดาชาวไทยทั่วๆ ไป และเป็นที่ยำเกรงของพม่า ตลอดจนหมู่คนไทยจากชุมนุมต่างๆ ต่อมาพระยาตากได้ยกกองทัพมาถึงเมืองปราจิณ ข้ามแม่น้ำปราจีนบุรีที่ด่านกบแจะ (ปัจจุบันคือ วัดกระแจะ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี) แล้วเดินทัพตัดออกทางบ้านคู้ลำพัน (ตำบลคู้ลำพัน อำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี) และหยุดพักไพร่พลเพื่อหุงหาอาหารทางด้านฟากตะวันออกที่ชายดงศรีมหาโพธิ (บริเวณลานต้นโพธิ์ อำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี) หลังจากนั้นก็เดินทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทรา เมืองชลบุรี ต่อไปจนถึงเมืองระยองเข้ายึดเมืองจันทบุรีได้สำเร็จยึดเป็นที่มั่นรวบรวมซ่องสุมกำลังเพื่อกู้ราชธานี กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า
ท้ายที่สุดพระยาตาก* ก็รวบรวมและปราบปรามชุมนุมต่างๆ จนราบคาบและสามารถกู้ อิสรภาพให้พ้นจากอำนาจของพม่าได้ ดังนั้นในวันอังคาร แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑ ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๓๑๑ พระยาตากจึงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยา และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา ซึ่งปัจจุบันได้ถวายพระราชสมญาว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ในสมัยกรุงธนบุรีนั้น พระราชพงศาวดารหรือประวัติศาสตร์ไม่ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองปราจิณเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทั้งนี้ เพราะในสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุง ธนบุรีหรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นช่วงระยะฟื้นฟูประเทศ ตลอดช่วงรัชสมัยของพระองค์ถ้าไม่ทำสงครามกับพม่าก็ต้องปราบปรามชุมนุมต่างๆ ของไทย เพื่อรวบรวมชาติไทยให้เป็นปึกแผ่น แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทยของพระบริหารเทพธานี ได้เขียนไว้ว่าใน พ.ศ. ๒๓๑๒ พระรามราชาเกิดผิดใจกับพระนารายณ์ราชา พระรามราชากษัตริย์ของเขมร จึงขอเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงโปรดฯ ให้พระยาโกษาธิบดี (ล่าย) ยกทัพไปปราบพระนารายณ์ราชา พระยาโกษาธิบดียึดได้เมืองพระตะบอง เสียมราฐ กลับมาได้ใน พ.ศ. ๒๓๑๓ ในการปราบเขมรครั้งนี้ เมืองปราจิณซึ่งเป็นหัวเมืองชายแดนทางตะวันออกคงถูกเกณฑ์ชายฉกรรจ์ไปร่วมสงครามด้วย นอกจากนี้ยังปรากฏในสำเนาท้องตรา พ.ศ. ๒๓๑๖ ว่า พระปราจิณบุรีได้มีท้องตราแจ้งว่าพม่าและลาวยกพลมาตั้งที่ตำบลท่ากระเล็บนอกด่านพระจารึก จึงได้โปรดให้เกณฑ์ทัพหัวเมืองต่างๆ ในภาคกลางและภาคตะวันออกไปช่วยรบ จึงอาจสรุปได้ว่าเมืองปราจิณคงได้รับการบูรณะ
ในฐานะเป็นหัวเมืองหน้าด่านทางตะวันออกของกรุงธนบุรี และคงอยู่ในฐานะเมืองหน้าด่านทางด้านเขมรจวบจนสิ้นสมัยกรุงธนบุรี
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีของไทย ไม่มีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวข้องกับเมืองปราจิณมากนัก ทั้งนี้เพราะเขมรถูกญวนรุกราน และกองทัพไทยก็ปราบปรามเขมรจนราบคาบ จะมีก็แต่ในช่วงที่กรุงธนบุรีเกิดเหตุการณ์จราจล เพราะเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงเสด็จกลับกรุงธนบุรีเพื่อปราบปรามการจราจลและจัดการพระนครนั้น เจ้าพระยาสุรสีห์ให้กองทัพไปล้อมกรมขุนอินทรพิทักษ์พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไว้ที่เมืองพุทธไธเพชร แต่กรมขุนอินทร-พิทักษ์สามารถตีหักออกจากที่ล้อมได้ ยกกำลังหนีไปเมืองปราจิณ ต่อมาถูกจับกุมได้และถูก
ประหารชีวิต สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาเป็นกรุงรัตนโกสินทร์และได้มีการถวายพระนามว่า
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
จากที่ได้กล่าวมาแล้วถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองปราจิณ ในสมัย รัตนโกสินทร์ก็ไม่มีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเมืองปราจิณมากนัก ทั้งนี้เมืองปราจิณเป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกที่จัดว่าสำคัญ เพราะเป็นทางผ่านในการเดินทัพไปมาระหว่างการสงครามไทยกับเขมร คือ เขมรคอยหาโอกาสและจังหวะที่ไทยอ่อนแอ หรือเกิดความจลาจลวุ่นวายในบ้านเมือง ยกกองทัพมาซ้ำเติมและกวาดต้อนผู้คนบริเวณหัวเมืองชายแดนไทย ซึ่งจากเหตุผลนี้คาดว่าครอบครัวและราษฎรไทยในเมืองปราจิณ ก็คงจะถูกกวาดต้อนไปบ้างและในกรณีที่ไทยยกกองทัพไปปราบปรามเขมร เนื่องจากเขมรแข็งเมืองบ้าง เขมรทะเลาะวิวาทกันเองบ้าง ราษฎรในเมืองปราจิณก็ต้องถูกเกณฑ์ไปรบด้วย สำหรับเมืองปราจิณมีด่านสำคัญอยู่ด่านหนึ่งคือ "ด่านหณุมาน" (ในเขตอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี) เป็นด่านหน้าสำหรับคอยป้องกันเขมรทางด้านตะวันออก คำว่าหณุมาน เป็นทั้งชื่อด่านและแควลำน้ำหณุมาณด้วย เป็นแควน้อยที่คู่กับแควใหญ่ เรียกว่า "แควพระปรง" สำหรับด่านหณุมานนี้สันนิษฐานว่าตั้งมาก่อนสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี เพราะในสมัยนี้ได้ยกฐานะด่านหณุมานตั้งเป็นเมืองกบินทร์บุรีขึ้น (ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เปลี่ยนเป็นอำเภอกบินทร์-บุรี) และในสมัยรัชกาลที่ ๓ นี้ โปรดให้ยกฐานะบ้านที่เป็นชุมชนหนาแน่นเป็นเมือง ขึ้นกรมมหาดไทย คือ เมืองประจันตคาม เมืองกบินทร์บุรี เมืองอรัญประเทศ เมืองวัฒนานคร ฯลฯ
และเมื่อครั้งเจ้าอนุวงศ์ นครเวียงจันทน์ เป็นกบฏในสมัยรัชกาลที่ ๓ ราว พ.ศ. ๒๓๖๘ ทรงโปรดให้กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์ เป็นจอมทัพไปปราบปราม กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์ได้ตั้งประชุมพลที่เมือง
ปราจิณและยกกองทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์ เป็นผลสำเร็จ
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๗๕ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองเขมร ในการเดินทัพครั้งนี้ กองทัพได้เดินทางออกจากพระนคร ผ่านบ้านบัวลอยและหยุดทัพพักกองเกวียนอยู่ที่บ้านบัวลอยแห่งนี้ และเดินทางต่อไปโดยพักที่บ้านกระโดน อำเภอกบินทร์บุรี โดยได้ตัดถนนจากกบินทร์บุรีไปจนถึงเมืองพระตะบอง เมื่อเสร็จศึกเขมรแล้ว เจ้าพระยาบดินทร์เดชาได้สร้างวัดขึ้นที่บ้านกระโดน อำเภอกบินทร์บุรี ให้ชื่อว่า "วัดพระยาทำ" (ปัจจุบันก็ยังคงอยู่ในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี) และบริเวณที่เดินทัพมาถึงบริเวณที่ตั้งวัดแจ้งในปัจจุบัน ก็เป็นเวลารุ่งแจ้งพอดี จึงได้สร้างวัดขึ้นในบริเวณดังกล่าว เรียกว่า "วัดแจ้ง" (ปัจจุบันก็ยังคงอยู่ในอำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี) สำหรับบริเวณที่หยุดพักเกวียนที่บริเวณบ้านบัวลาย ให้สร้างวัดขึ้นเรียกว่า “วัดโรงเกวียน” (ปัจจุบันคือ วัดอุดมวิทยาราม (โรงเกวียน) แล้วจึงยกกองทัพกลับพระนคร สำหรับถนนที่ตัดจากกบินทร์ไปจนถึงเมืองพระตะบองเพื่อไปปราบเขมรนั้น บัดนี้ยังคงอยู่ เรียกว่า “ถนนเจ้าพระยาบดินทร์”
ในปีพุทธศักราช ๒๔๒๑ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมือง ปราจิณมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นตรี บรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองคือ “พระ” ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยากระสาปน์กิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) มาควบคุมการทำเหมืองทองที่ตำบลบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้หลวงปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) ผู้บุตร เป็นข้าหลวงเมือง ปราจิณ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระปรีชากลการ เพื่อช่วยทำเหมืองทองคำ พระปรีชากลการได้สมรสกับ มิสแฟนนี่ น๊อกซ์ ธิดาของเซอร์โธมัส ยอร์ช น๊อกซ์ กงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย ต่อมาพระปรีชากลการถูกราษฎรร้องทุกข์ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าฉ้อโกงเงินหลวง กระทำทารุณกรรมราษฎรด้วยความไม่เป็นธรรมหลายประการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งคณะกรรมการตุลาการขึ้นชำระความ ปรากฏว่าพระปรีชากลการมีความผิดตามที่ราษฎรร้องเรียน จึงจับตัวพระปรีชากลการสอบสวน เซอร์โธมัส ยอร์ช น๊อกซ์ ขอร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวพระปรีชากลการ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงโทรเลขเรียกเรือรบอังกฤษเข้ามาในน่านน้ำไทยเพื่อข่มขู่รัฐบาล รัฐบาลไทยจึงส่งคณะทูตพิเศษออกไปเจรจาความกับรัฐบาลอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษเห็นว่าการกระทำของกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทยไม่เป็นการสมควร จึงเรียกเรือรบกลับและมีคำสั่งให้เซอร์โธมัส ยอร์ช น๊อกซ์ พ้นจากตำแหน่งกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย ดังนั้นคณะลูกขุนตุลาการของศาลไทยจึงพิพากษาลงโทษประหารชีวิตประปรีชากลการ และจำคุกสมัครพรรคพวกอีกหลายคน
พ.ศ. ๒๔๓๗ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ปฏิรูปการปกครองประเทศไทย ส่วนภาคเป็นระบบมณฑล เทศาภิบาล มณฑลปราจีนมีที่ตั้งที่บัญชาการมณฑลอยู่ที่เมืองปราจีนบุรี มีหัวเมืองขึ้นอยู่ในความปกครอง คือ เมืองนครนายก เมืองฉะเชิงเทรา เมืองชลบุรี มีพลตรี พระยาฤทธิ์รงค์รณเฉท (ศุข ชูโต) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลคนแรก
ในสมัยนั้นเมืองปราจีนบุรีมีที่บัญชาการมณฑลเป็นตึก ๒ ชั้น ๔ หลัง หันเข้าบรรจบกันเป็น ๔ เหลี่ยม รูปคล้ายศาลายุทธนาธิการ กว้างขวางมาก ระหว่างกลางสามารถปลูกต้นไม้ทำเป็นสนามได้
สำหรับการปกครองในสมัยนั้น เมืองปราจีนบุรีแบ่งเขตการปกครองเป็น ๕ อำเภอ ๓ สาขา คือ
๑. อำเภอเมือง
๒. อำเภอบ้านสร้าง
๓. อำเภอศรีมหาโพธิ แยกสาขาเป็นอำเภอท่าประชุม
๔. อำเภอประจันตคาม
๕. อำเภอกระบิล แยกสาขาเป็น อำเภอวัฒนา ๑ อำเภอสระแก้ว ๑
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดให้สร้างทางรถไฟสายตะวันออกจากสถานีกรุงเทพ
(หัวลำโพง) ถึงสถานีแม่น้ำ จังหวัดฉะเชิงเทรา) ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างต่อจนถึงสถานีอรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงตั้งกรมทหารราบที่ ๑๙ ขึ้น โดยจัดสร้างอาคารทหารทางด้านทิศตะวันออกของศาลากลางจังหวัดหลังเก่า (บริเวณริมเรือนจำในปัจจุบัน) ถึงคลองดักรอบ (ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนอนุบาลปราจีนบุรี โรงเรียนปราจีนกัลยาณี โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง และวิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรีในปัจจุบัน) ต่อมาได้ย้ายกรมทหารไปตั้งใหม่ที่ดงพระรามให้ชื่อว่า “ค่ายจักรพงษ์” มณฑลทหารบกที่ ๒ เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้เปลี่ยนจาก “เมือง” เป็น “จังหวัด” และใน พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้มีการยุบเลิกมณฑลปราจีน ดังนั้นในทำเนียบรายชื่อจังหวัดในประเทศไทย จึงปรากฏเป็น “จังหวัดปราจีนบุรี” ซึ่งหมายถึงเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศไทย
ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดปราจีนบุรี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์หอรัตนชัยการ พิมพ์, ๒๕๒๙.
ประวัติความเป็นมา
จังหวัดปราจีนบุรีเป็นหัวเมืองชายแดน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศไทย บริเวณ
ตัวเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรียาวเหยียดจากทิศตะวันออกจนถึงทิศตะวันตก ลักษณะเป็นที่ราบ
ลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีไหลผ่านสองฟากฝั่ง จังหวัดปราจีนบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ทางด้านอำเภออรัญประเทศและอำเภอตาพระยา ดังนั้นจังหวัดปราจีนบุรีจึงเปรียบเสมือนเมืองกันชนระหว่างประเทศไทย และประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย นับได้ว่าเป็นจังหวัดที่เก่าแก่จังหวัดหนึ่ง มีอาณาเขตกว้างขวางกว่าจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกของประเทศไทย
จังหวัดปราจีนบุรีนี้เดิมเรียกกันหลายชื่อ คือ ปราจีนบุรี ปราจิณบุรี ปาจิณบุรี ตามหนังสือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คำว่า “ปราจีน” แปลว่า “ตะวันออก” ซึ่งหมายความว่าเมืองทางทิศตะวันออกของประเทศไทย จากหลักฐานดั้งเดิมตามพระราชพงศาวดารไทยปรากฏเรียกชื่อนี้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย แต่มักเรียกกันว่า “เมืองปราจิณ” แต่จากหนังสือประชุมพระราช-นิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี เรียก “เมืองประจิม” บางที่ก็เรียกว่า “เมืองปัจจิม” ซึ่งคำว่า “ปัจจิม” แปลว่า เมืองทางทิศตะวันตก ซึ่งคงหมายความถึงอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยนั่นเอง
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ยังคงเรียกกันว่า “เมืองปราจิณ” เมื่อประเทศไทยมีการปกครองส่วนภูมิภาคแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองปราจีนเป็นที่ตั้งของมณฑลปราจีณครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ แห่งจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” ทั่วประเทศ ดังนั้นทำเนียบรายชื่อของจังหวัดทั่วประเทศ จึงมีคำว่า “จังหวัดปราจีนบุรี” อยู่ในทำเนียบของกระทรวงมหาดไทย
สำหรับที่ตั้งของเมืองปราจีนบุรีนั้น ในประวัติศาสตร์ไม่ได้กล่าวถึงว่าตั้งอยู่ที่ใด แต่พอจะอนุมานตามเหตุผลที่พอจะเชื่อถือได้คือ ในสมัยอยุธยาตอนปลายต่อกับสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตาก-สินมหาราชในขณะนั้นรับราชการเป็นพระยาวชิรปราการ ได้ชักชวนสมัครพรรคพวกทั้งชาวจีนและชาวไทยแหวกวงล้อมของพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาได้ ได้เดินทางหลบหนีพม่ามาจนถึงบ้านพรานนก เมืองนครนายก จึงให้บรรดาทหารที่หลบหนีมาด้วยทั้งไทยและจีนออกหาเสบียงอาหาร ฝ่ายทหารของพม่าที่รักษาเมืองปราจิณ อยู่ที่บางคางได้ทราบข่าวการหลบหนีของพระยาวชิรปราการ จึงยกกำลังมาปราบปรามเกิดปะทะกัน ปรากฏว่าฝ่ายไทยได้รับชัยชนะ ซึ่งข้อความในตอนนี้บ่งไว้ชัดเจนว่า "บางคาง แขวงเมืองปราจิณ" ซึ่งในคำภาษาจีนภาษาแต้จิ๋วออกเสียงเรียกเมืองปราจิณ ว่า "มั่งคั้ง" ซึ่งหมายถึง "บางคาง" นั่นเอง ดังนั้นคาดว่าเมืองปราจีนบุรีเดิมนั้นคงตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านบางคางอย่างแน่นอน เพราะนอกจากสถานที่นี้แล้ว ก็ไม่ปรากฏซากเมืองในที่อื่นใด (สำหรับซากเมืองโบราณที่โคกวัด ตำบลโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี นั้นเป็นซากเมืองโบราณที่สันนิษฐานว่ามีในสมัยขอม คือ เมืองอวัธยปุระ หรือ เมือง มโหสถ ซึ่งต่อมาได้เสื่อมโทรมลงซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อไป และคงจะย้ายมาอยู่ในบริเวณบ้านบางคางนี้) และจากการสำรวจก็พบซากและร่องรอยให้เห็นว่า ปราจีนบุรี นั้น เดิมตั้งอยู่ที่บางคาง เพราะบริเวณใกล้ๆ วัดบางคาง (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลรอบเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี) ยังแลเห็นปรากฏเป็นโคกเป็นเนินอยู่บ้าง ต่อมาได้มีผู้ขุดพบโบราณวัตถุหลายอย่าง เช่น พระพุทธรูปสมัยอยุธยา (ขณะนี้อยู่ที่พระครูศีลวิสุทธาจารย์ วัดสง่างาม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี) แม้ในปัจจุบันซากและร่องรอยต่างๆ จะถูกทำลายไปบ้าง แต่ก็ยังมีเค้าเป็นชัยภูมิที่ตั้งเมืองพอจะสังเกตเห็นได้บ้าง และหลังต่อจากนั้นก็คงจะย้ายตัวเมืองมาตั้งอยู่บริเวณกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี
ในปัจจุบัน ซึ่งห่างจากแม่น้ำปราจีนบุรี ประมาณ ๒๐๐ เมตร และบริเวณนี้ก็ยังคงมีซากกำแพงเมือง
บางส่วนหลงเหลืออยู่ ส่วนอื่นๆ ไม่ปรากฏให้เห็นแล้ว
จากข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสถานที่ตั้งเมืองปราจีนบุรี ทั้งบริเวณบ้านบางคาง และกองกำกับตำรวจภูธร จังหวัดปราจีนบุรีนี้ อีกเหตุผลหนึ่งที่น่าเป็นไปได้คือ บริเวณทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่ไม่ห่างจากแหล่งน้ำทั้งนี้เพราะในการตั้งบ้านเรือน การสร้างเมืองของไทยแต่โบราณแล้วจะนิยมยึดถือในแนวทางเดียวกัน คือ ให้อยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้ำ เพื่อประกอบอาชีพในการเพาะปลูก ทำนาและการคมนาคม
สมัยก่อนกรุงสุโขทัย
จากการศึกษาและค้นคว้าของนักประวัติศาสตร์ โบราณคดี ได้พบว่า จังหวัดปราจีนบุรีเคยเป็นหัวเมืองเก่าแก่มาตั้งแต่โบราณตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุวรรณภูมิ อาณาจักรทวาราวดี อาณาจักรฟูนัน อาณาจักรอีศานปุระ อาณาจักรลพบุรี ซึ่งแต่เดิมเคยมีชื่อตามหลักศิลาจารึกว่า "เมืองอวัธยปุระ" "เมืองพระรถ" หรือ "เมืองมโหสถ" ทั้งนี้ จากหลักฐานรายงานของชุมนุมวัฒนธรรมโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร" ได้บันทึกไว้ดังต่อไปนี้ "…..เมืองอวัธยปุระ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี) …..นอกจากเมืองโบราณและโบราณสถาน โบราณวัตถุ ขนาดใหญ่และสวยงาม อันแสดงให้เห็นถึงระดับความเจริญแล้ว ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ อันเป็นที่ตั้งของเมือง ยังแสดงให้เห็นชัดมีความสำคัญเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการคมนาคม…..ในทางภูมิศาสตร์ เมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑๓๐ ํ ๕๓' ๓๐'' เหนือ และเส้นแวงที่ ๑๐๑ ๒๕ ' ตะวันออก ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าค่อนข้างรี ….ภายในเมืองมีโคกเนินที่เป็นศาสนสถาน ทั้งที่สร้างด้วยศิลาแลงและอิฐหลายแห่ง ซึ่งล้วนมีขนาดใหญ่ ….บริเวณเหล่านี้มีเศษกระเบื้องเกลื่อนกลาด เศษกระเบื้องที่พบมีหลายสมัย นับตั้งแต่สมัยทวาราวดี ลพบุรี จนถึงสุโขทัยและอยุธยา…ที่เมืองอวัธยปุระนี้ การชลประทานเพื่อกักน้ำไว้ใช้เจริญมาก …..บริเวณเมืองอวัธยปุระได้พบหลักศิลาจารึกที่เนินสระบัว ตำบลโคกปีบ อำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี มีข้อความว่า …..มหาศักราช ๖๘๓ ปีฉลูนักษัตร แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ วันพุธ (ตรงกับ พ.ศ. ๑๓๐๔)"
จากหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับซากโบราณ ศาสนสถาน ตลอดจนที่ตั้งตามตำแหน่งภูมิศาสตร์ทำให้เป็นแนวทางสันนิษฐานได้ว่า เมืองอวัธยปุระ "เมืองพระรถ" เมืองมโหสถ หรือเมืองปราจีนบุรีในปัจจุบัน ได้เกิดขึ้นในอาณาจักรสุวรรณภูมิ เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงมาได้ ๓๐๐ ปี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์แห่งอินเดีย ได้จัดส่งพระเถระ ๒ รูป คือ พระโสณะ และพระ- อุตระ เข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาในอาณาจักรสุวรรณภูมิ ลัทธิหินยาน ซึ่งเป็นลัทธิหนึ่งในพุทธศาสนา จึงอุบัติขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ และเจริญรุ่งเรืองสืบมาซึ่งจะเห็นได้จากโบราณวัตถุต่างๆ เป็นต้นว่า รูปธรรมจักรและกวาง สถูปศิลา พระพุทธรูปปางต่างๆ อันหมายถึง อุเทสิกะเจดีย์ ต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งได้พันธุ์มาจากเมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย อันหมายถึง บริโภคเจดีย์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในเมืองนี้
ตลอดมา ต่อมาเมืองอวัธยปุระได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรฟูนันระยะหนึ่ง จนกระทั่งจวบถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๑ อาณาจักรทวาราวดีได้มีอำนาจในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาโดยสืบเชื้อสายมาจากอาณาจักรสุวรรณภูมิ และได้แผ่อำนาจมาถึงเมืองอวัธยปุระ จนกระทั่งในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ อาณาจักรทวาราวดีถึงจุดเสื่อม และล่มจมลง เมืองอวัธยปุระจึงต้องตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักร
อีศานปุระ (อาณาจักรเจนละ) และจากหลักฐานการค้นพบศิลาจารึกที่บริเวณเนินสระบัว ตำบลโคกปีบ อำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งจารึกเป็นตัวอักษรขอมโบราณ จึงเป็นหลักฐานยืนยันว่าเมืองอวัธย-ปุระ น่าจะมีชนชาติขอมอาศัยอยู่ด้วย และนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เมืองอวัธยปุระในสมัยนี้มีสภาพเป็นหัวเมืองใหญ่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและการปกครอง ทั้งได้ถ่ายทอดคติความเชื่อในพุทธ-ศาสนาลัทธิมหายานและศาสนาพราหมณ์ นิกายต่างๆ เริ่มแพร่หลาย ดังนั้นพระพุทธรูปในลัทธิมหายานและรูปศิวลึงค์ เทวสถาน อันเป็นเครื่องหมายแทนรูปเคารพตามคติความเชื่อในสมัยนั้น จึงปรากฏร่องรอยทิ้งซากปรักหักพังให้เห็นดังในปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์โบราณคดี กำหนดเรียกศิลปโบราณวัตถุที่ขุดพบในจังหวัดปราจีนบุรี และแถบตะวันออกของประเทศไทยว่า "กลุ่มของโบราณดงศรีมหาโพธิ" ศิลปโบราณวัตถุดังกล่าวนี้เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ เพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๘ อาณาจักรลพบุรีเริ่มมีอำนาจขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อมาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม ได้แผ่ขยายอาณาเขตไปทั่วคาบสมุทรอินโด-จีนตลอดแหลมสุวรรณภูมิ เมืองอวัธยปุระ หรือ เมืองศรีมโหสถ จึงตกอยู่ภายใต้อำนาจด้วย เข้าใจว่ายังคงความสำคัญอยู่แต่ไม่อาจทราบสถานภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจได้แน่ชัด
สมัยสุโขทัย
ในสมัยสุโขทัยไม่พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวถึงเมืองอวัธยปุระ (ศรีมโหสถ) หรือเมืองปราจีนบุรี เข้าใจว่ามิได้มีความสัมพันธ์ทางการเมืองกับสุโขทัย หรือยังอยู่ในอำนาจขอม แต่ก็ได้พบเครื่องสังคโลกในบริเวณชุมชนโบราณ
สมัยกรุงศรีอยุธยา
เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยในปีพุทธศักราช ๑๘๙๓ ทรงนำแบบแผนการปกครองและวิธีการทหารมาจากกรุงสุโขทัย ทรงกำหนดให้มีเมืองป้อมปราการด่านชั้นในขึ้น สำหรับป้องกันราชธานีทั้ง ๔ ทิศ และกำหนดให้เมือง ปราจิณเป็นหัวเมืองชั้นในด้านตะวันออก ขึ้นอยู่ในอำนาจของเจ้าพระยาจักรี ตำแหน่งสมุหนายก เมือง ปราจิณ จัดเป็นหัวเมืองชั้นโท เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นชั้นพระยา
ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ทรงได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการปกครองกรุงศรีอยุธยาใหม่ คือ ทรงจัดแบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองชั้นใน และแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ คือ ชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี และชั้นจัตวา เมืองปราจิณ ถูกกำหนดให้เป็นเมืองจัตวา (ชั้น ๔) ใช้ขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ พระ หรือ พระยา ปกครอง
ล่วงมาถึงสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงสร้างเมืองใหม่ขึ้นหลายเมืองด้วยกัน เมือง ปราจิณถูกตัดแบ่งแยกอาณาเขตจากเดิมจัดตั้งเป็นเมืองใหม่เพิ่มขึ้น คือ ท้องที่เขตเมืองปราจิณทางด้านใต้ กับท้องที่เมืองชลบุรีด้านเหนือ ตั้งเป็นเมืองใหม่ คือ เมืองฉะเชิงเทรา* ในสมัยสมเด็จพระมหา- จักรพรรดินี้ พระเจ้าแปรกษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพมารุกรานไทย เกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่าหลายครั้ง ฝ่ายพระยาละแวกถือโอกาสที่ไทยมีศึกสงครามจึงยกกองทัพมากวาดต้อนครอบครัวชาวเมืองปรา-
จิณ และหัวเมืองด้านตะวันออกไปเป็นจำนวนมาก หลังจากสงครามพม่าสงบลงแล้ว สมเด็จพระมหา-จักรพรรดิ จึงโปรดให้พระยาพะเยาเป็นแม่ทัพยกทัพไปตีเมืองละแวก พระยาละแวกเห็นว่าจะสู้ไม่ได้จึงขอยอมรับผิด ยอมอ่อนน้อมขอเป็นเมืองออกถวายเครื่องบรรณาการ และนำครอบครัวชาวไทยที่กวาดต้อนไปจากเมืองปราจิณกลับคืน
ในสมัยของพระมหาธรรมราชา กรุงศรีอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า บ้านเมืองบอบช้ำจากพิษสงคราม เขมรฉวยโอกาสส่งกองทัพมารุกรานหัวเมืองต่างๆ ของไทยหลายครั้ง เมื่อพม่ายกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๑๒๘ พระยาละแวกได้ยกกองทัพมาช่วยโดยเดินทางมาทางด่านเมือง ปราจิณ ครั้งนี้กองทัพพม่าแตกพ่ายไป ต่อมาพระยาละแวกเริ่มเอาใจออกห่าง จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๑๓๐ พระเจ้าหงสาวดี นันทบุเรง ทรงยกกองทัพใหญ่เข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยาอีก ฝ่ายพระยาละแวกเมื่อทราบว่าไทยมีศึกกับพม่า จึงแต่งทัพเข้ามาตีหัวเมืองทางภาคตะวันออกของไทย ตีเมืองปราจิณแตก พระยาศรีไสยณรงค์และพระยาสีหราชเดโช ยกทัพออกไปตีต้านทัพทางด้านหณุมาน (ปัจจุบันคืออำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และทางด่านพระจารึกหรือด่านพระกริศ (เข้าใจว่าอยู่ในเขตอำเภอวัฒนา-นคร จังหวัดปราจีนบุรี) และแล้วจึงยกทัพกลับมาตั้งมั่นอยู่ ณ เมืองปราจิณ จนกระทั่งพม่าเลิกทัพแล้วจึงยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เข้มแข็ง ทรงร่วมกับสมเด็จพระเอกาทศรถ พระอนุชา ปรับปรุงกองทัพไทยให้เข้มแข็ง หลังจากสมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงประกาศอิสรภาพกรุงศรีอยุธยาไม่ขึ้นต่อกรุงหงสาวดีอีกต่อไป ณ เมืองแครง ใน พ.ศ. ๒๑๒๗ พระยาละแวกได้ขอเป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. ๒๑๓๕ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชโปรดให้จัดเตรียมทัพเพื่อยกเข้าตีกรุงกัมพูชา ทรงสั่งให้เจ้าเมืองทางหัวเมืองด้านตะวันออก ๔ หัวเมือง คือ พระยานครนายก พระยาปราจิณ พระวิเศษเมืองฉะเชิงเทรา และ พระสระบุรี ตั้งค่ายขุดคู ปลูกยุ้งฉางลำเลียงไว้ที่ตำบลทำนบ และให้รักษาฉางข้าว พ.ศ. ๒๑๓๖ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพหลวงไปตีเมืองละแวก ต่อมาโปรดให้ พระยาปราจิณ พระยานครนายก และพระวิเศษเข้าร่วมกระบวนทัพหลวง และโปรดให้พระยาปราจีนตั้งกองรวบรวมเสบียงอาหารอยู่ที่เมืองโพธิสัตว์พร้อมด้วยทหาร ๓,๐๐๐ คน ในที่สุดก็สามารถตีกรุงกัมพูชาเป็นผลสำเร็จ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชโปรดให้ตั้งพิธีปฐมกรรม และประหารชีวิตพระยาละแวก หลังจากนั้นมาราษฎรเมืองปราจิณก็อยู่เย็นเป็นสุข ไม่ถูกรบกวนจากพวกเขมรอีก
จวบจนถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปรากฏว่าเกิดเรื่องยุ่งยากในการสืบราชสมบัติ เนื่องจากพระราชโอรสไม่สามัคคีปรองดองกัน (โอรสทั้ง ๓ พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าเอกทัศ) และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (เจ้าฟ้าอุทุมพร) และพระโอรสเกิดจากพระสนม ๔
* ความนี้ปรากฏในหนังสือแสดงบรรยายพงศาวดารสยามของสมเด็จกรมดำรงราชานุภาพ
พระองค์ คือ กรมหมื่นเทพพิพิธ กรมหมื่นจิตสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพย์ภักดี) ต่อมาพระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ได้รับพระราชอาญาให้ประหารชีวิตเนื่องจากลักลอบเป็นชู้กับพระสนม ส่วนราชโอรสองค์กลางคือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าเอกทัศ) นั้น พระปรีชาและพระอุปนิสัยไม่เหมาะแก่การปกครองบ้านเมือง โปรดให้ออกผนวชและทรงแต่งตั้งให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตเป็นอุปราช เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ทรงขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าอุทุมพร ต่อมากรมหมื่นจิตสุนทร กรมหมื่นสุนทร-เทพ และกรมหมื่นเสพย์ภักดี คบคิดกันช่วงชิงราชสมบัติแต่ไม่สำเร็จ ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ หลังจากนั้นพระเจ้าอุทุมพรทรงถวายราชสมบัติให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ หรือเรียกกันว่าขุนหลวงขี้เรื้อน ส่วนพระเจ้าอุทุมพรเมื่อมอบราชสมบัติให้แก่พระเชษฐาแล้ว ก็ทรงออกผนวชและก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียให้แก่พม่าเป็นครั้งที่ ๒ ในพุทธศักราช ๒๓๐๙ ปีจอ กรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งถูกพระเจ้าเอกทัศ เนรเทศไปอยู่เมืองจันทบุรีได้ชักชวนรวบรวมกำลังจัดกองทัพมาช่วยรบพม่าซึ่งขณะนั้นกำลังล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ กองทัพได้ยกกำลังมาถึงเมือง ปราจิณ และให้นายทองอยู่น้อย เป็นแม่ทัพหน้ายกพลไปตั้งมั่นอยู่ปากน้ำโยทะกา แขวงเมืองนครนายก ต่อมาพม่าได้ยกกองทัพมาตีทัพหน้าของกรมหมื่นเทพพิพิธแตกพ่ายไป กรมหมื่นเทพพิพิธจึงเสด็จหนีไปยังเมืองนครราชสีมา จากเหตุการณ์ที่กรมหมื่นเทพพิพิธได้ชักชวนกำลังราษฎรไปรบกับพม่าช่วย กรุงศรีอยุธยาและได้ยกกองทัพมาถึงเมืองปราจิณนั้น คาดว่าบรรดาชายฉกรรจ์ของเมืองปราจิณ ซึ่งมีเลือดรักชาติและเป็นนักรบอยู่แล้ว คงอาสาร่วมรบพม่าในครั้งนี้ด้วยเป็นแน่แท้
สมัยกรุงธนบุรี
หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้ว พม่าตั้งใจจะมิให้ไทยตั้งตัวได้อีก จึงเผาผลาญทำลายปราสาทราชวัง วัดวาอาราม ตลอดจนบ้านเรือนของราษฎรเสียหายยับเยิน ทั้งยังกวาดต้อนผู้คนเก็บทรัพย์สมบัติไปจนหมดสิ้น กรุงศรีอยุธยาซึ่งเคยเป็นราชธานีของไทยที่ยืนยาวมาหลายร้อยปี ก็ถึงกาลพินาศล่มจมนับพระมหากษัตริย์ปกครองกรุงศรีอยุธยารวมทั้งสิ้น ๓๔ พระองค์
จากข้อความตอนหนึ่งในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า “…..พม่ายกทัพเรือออกไปตีเมืองปราจิณแตก…..” ก็แสดงให้เห็นว่า ในการสงครามครั้งนี้ เมืองปราจิณต้องถูกพม่าทำลายบ้านเมืองด้วย และคงกวาดต้อนราษฎรไปด้วยเป็นอันมาก จากซากกำแพงเมืองที่หลงเหลืออยู่ก็พอจะสันนิษฐานได้ว่า เมืองปราจิณซึ่งถูกกองทัพพม่าบุกยึดเมืองได้ คงถูกทำลายเสียหายย่อยยับเช่นเดียวกันกับกรุงศรีอยุธยา
ในช่วงเหตุการณ์ก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ นี้ เมืองปราจิณได้มีส่วนเกี่ยวพันกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ คือ พระยาตาก ขณะนั้นเป็นพระยาวชิรปราการ ได้รวบรวมสมัครพรรคพวกทั้งชาวไทยและชาวจีน ตีฝ่าวงล้อมของทหารพม่าที่ล้อมกรุงศรีอยุธยาออกมาได้ขณะหยุดประทับ ณ บ้านพรานนก ความทราบถึงกองกำลังของทหารพม่าซึ่งตั้งมั่นรักษาเมืองปราจิณอยู่ที่บ้านบางคาง (ปัจจุบันคือบ้านบางคาง ตำบลรอบเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวัน-ตกห่างจากตัวเมืองปราจิณประมาณ ๒ กิโลเมตรเศษ จึงนำกำลังไปปราบปราม ปะทะกับทหารไทย-จีน ของพระยาตากที่ออกมาหาเสบียงอาหาร ผลปรากฏว่าฝ่ายพระยาตากได้รับชัยชนะ ทำให้พระยาตากเป็นที่เลื่อมใสของบรรดาชาวไทยทั่วๆ ไป และเป็นที่ยำเกรงของพม่า ตลอดจนหมู่คนไทยจากชุมนุมต่างๆ ต่อมาพระยาตากได้ยกกองทัพมาถึงเมืองปราจิณ ข้ามแม่น้ำปราจีนบุรีที่ด่านกบแจะ (ปัจจุบันคือ วัดกระแจะ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี) แล้วเดินทัพตัดออกทางบ้านคู้ลำพัน (ตำบลคู้ลำพัน อำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี) และหยุดพักไพร่พลเพื่อหุงหาอาหารทางด้านฟากตะวันออกที่ชายดงศรีมหาโพธิ (บริเวณลานต้นโพธิ์ อำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี) หลังจากนั้นก็เดินทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทรา เมืองชลบุรี ต่อไปจนถึงเมืองระยองเข้ายึดเมืองจันทบุรีได้สำเร็จยึดเป็นที่มั่นรวบรวมซ่องสุมกำลังเพื่อกู้ราชธานี กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า
ท้ายที่สุดพระยาตาก* ก็รวบรวมและปราบปรามชุมนุมต่างๆ จนราบคาบและสามารถกู้ อิสรภาพให้พ้นจากอำนาจของพม่าได้ ดังนั้นในวันอังคาร แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑ ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๓๑๑ พระยาตากจึงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยา และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา ซึ่งปัจจุบันได้ถวายพระราชสมญาว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ในสมัยกรุงธนบุรีนั้น พระราชพงศาวดารหรือประวัติศาสตร์ไม่ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองปราจิณเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทั้งนี้ เพราะในสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุง ธนบุรีหรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นช่วงระยะฟื้นฟูประเทศ ตลอดช่วงรัชสมัยของพระองค์ถ้าไม่ทำสงครามกับพม่าก็ต้องปราบปรามชุมนุมต่างๆ ของไทย เพื่อรวบรวมชาติไทยให้เป็นปึกแผ่น แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทยของพระบริหารเทพธานี ได้เขียนไว้ว่าใน พ.ศ. ๒๓๑๒ พระรามราชาเกิดผิดใจกับพระนารายณ์ราชา พระรามราชากษัตริย์ของเขมร จึงขอเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงโปรดฯ ให้พระยาโกษาธิบดี (ล่าย) ยกทัพไปปราบพระนารายณ์ราชา พระยาโกษาธิบดียึดได้เมืองพระตะบอง เสียมราฐ กลับมาได้ใน พ.ศ. ๒๓๑๓ ในการปราบเขมรครั้งนี้ เมืองปราจิณซึ่งเป็นหัวเมืองชายแดนทางตะวันออกคงถูกเกณฑ์ชายฉกรรจ์ไปร่วมสงครามด้วย นอกจากนี้ยังปรากฏในสำเนาท้องตรา พ.ศ. ๒๓๑๖ ว่า พระปราจิณบุรีได้มีท้องตราแจ้งว่าพม่าและลาวยกพลมาตั้งที่ตำบลท่ากระเล็บนอกด่านพระจารึก จึงได้โปรดให้เกณฑ์ทัพหัวเมืองต่างๆ ในภาคกลางและภาคตะวันออกไปช่วยรบ จึงอาจสรุปได้ว่าเมืองปราจิณคงได้รับการบูรณะ
ในฐานะเป็นหัวเมืองหน้าด่านทางตะวันออกของกรุงธนบุรี และคงอยู่ในฐานะเมืองหน้าด่านทางด้านเขมรจวบจนสิ้นสมัยกรุงธนบุรี
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีของไทย ไม่มีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวข้องกับเมืองปราจิณมากนัก ทั้งนี้เพราะเขมรถูกญวนรุกราน และกองทัพไทยก็ปราบปรามเขมรจนราบคาบ จะมีก็แต่ในช่วงที่กรุงธนบุรีเกิดเหตุการณ์จราจล เพราะเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงเสด็จกลับกรุงธนบุรีเพื่อปราบปรามการจราจลและจัดการพระนครนั้น เจ้าพระยาสุรสีห์ให้กองทัพไปล้อมกรมขุนอินทรพิทักษ์พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไว้ที่เมืองพุทธไธเพชร แต่กรมขุนอินทร-พิทักษ์สามารถตีหักออกจากที่ล้อมได้ ยกกำลังหนีไปเมืองปราจิณ ต่อมาถูกจับกุมได้และถูก
ประหารชีวิต สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาเป็นกรุงรัตนโกสินทร์และได้มีการถวายพระนามว่า
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
จากที่ได้กล่าวมาแล้วถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองปราจิณ ในสมัย รัตนโกสินทร์ก็ไม่มีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเมืองปราจิณมากนัก ทั้งนี้เมืองปราจิณเป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกที่จัดว่าสำคัญ เพราะเป็นทางผ่านในการเดินทัพไปมาระหว่างการสงครามไทยกับเขมร คือ เขมรคอยหาโอกาสและจังหวะที่ไทยอ่อนแอ หรือเกิดความจลาจลวุ่นวายในบ้านเมือง ยกกองทัพมาซ้ำเติมและกวาดต้อนผู้คนบริเวณหัวเมืองชายแดนไทย ซึ่งจากเหตุผลนี้คาดว่าครอบครัวและราษฎรไทยในเมืองปราจิณ ก็คงจะถูกกวาดต้อนไปบ้างและในกรณีที่ไทยยกกองทัพไปปราบปรามเขมร เนื่องจากเขมรแข็งเมืองบ้าง เขมรทะเลาะวิวาทกันเองบ้าง ราษฎรในเมืองปราจิณก็ต้องถูกเกณฑ์ไปรบด้วย สำหรับเมืองปราจิณมีด่านสำคัญอยู่ด่านหนึ่งคือ "ด่านหณุมาน" (ในเขตอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี) เป็นด่านหน้าสำหรับคอยป้องกันเขมรทางด้านตะวันออก คำว่าหณุมาน เป็นทั้งชื่อด่านและแควลำน้ำหณุมาณด้วย เป็นแควน้อยที่คู่กับแควใหญ่ เรียกว่า "แควพระปรง" สำหรับด่านหณุมานนี้สันนิษฐานว่าตั้งมาก่อนสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี เพราะในสมัยนี้ได้ยกฐานะด่านหณุมานตั้งเป็นเมืองกบินทร์บุรีขึ้น (ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เปลี่ยนเป็นอำเภอกบินทร์-บุรี) และในสมัยรัชกาลที่ ๓ นี้ โปรดให้ยกฐานะบ้านที่เป็นชุมชนหนาแน่นเป็นเมือง ขึ้นกรมมหาดไทย คือ เมืองประจันตคาม เมืองกบินทร์บุรี เมืองอรัญประเทศ เมืองวัฒนานคร ฯลฯ
และเมื่อครั้งเจ้าอนุวงศ์ นครเวียงจันทน์ เป็นกบฏในสมัยรัชกาลที่ ๓ ราว พ.ศ. ๒๓๖๘ ทรงโปรดให้กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์ เป็นจอมทัพไปปราบปราม กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์ได้ตั้งประชุมพลที่เมือง
ปราจิณและยกกองทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์ เป็นผลสำเร็จ
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๗๕ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองเขมร ในการเดินทัพครั้งนี้ กองทัพได้เดินทางออกจากพระนคร ผ่านบ้านบัวลอยและหยุดทัพพักกองเกวียนอยู่ที่บ้านบัวลอยแห่งนี้ และเดินทางต่อไปโดยพักที่บ้านกระโดน อำเภอกบินทร์บุรี โดยได้ตัดถนนจากกบินทร์บุรีไปจนถึงเมืองพระตะบอง เมื่อเสร็จศึกเขมรแล้ว เจ้าพระยาบดินทร์เดชาได้สร้างวัดขึ้นที่บ้านกระโดน อำเภอกบินทร์บุรี ให้ชื่อว่า "วัดพระยาทำ" (ปัจจุบันก็ยังคงอยู่ในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี) และบริเวณที่เดินทัพมาถึงบริเวณที่ตั้งวัดแจ้งในปัจจุบัน ก็เป็นเวลารุ่งแจ้งพอดี จึงได้สร้างวัดขึ้นในบริเวณดังกล่าว เรียกว่า "วัดแจ้ง" (ปัจจุบันก็ยังคงอยู่ในอำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี) สำหรับบริเวณที่หยุดพักเกวียนที่บริเวณบ้านบัวลาย ให้สร้างวัดขึ้นเรียกว่า “วัดโรงเกวียน” (ปัจจุบันคือ วัดอุดมวิทยาราม (โรงเกวียน) แล้วจึงยกกองทัพกลับพระนคร สำหรับถนนที่ตัดจากกบินทร์ไปจนถึงเมืองพระตะบองเพื่อไปปราบเขมรนั้น บัดนี้ยังคงอยู่ เรียกว่า “ถนนเจ้าพระยาบดินทร์”
ในปีพุทธศักราช ๒๔๒๑ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมือง ปราจิณมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นตรี บรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองคือ “พระ” ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยากระสาปน์กิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) มาควบคุมการทำเหมืองทองที่ตำบลบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้หลวงปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) ผู้บุตร เป็นข้าหลวงเมือง ปราจิณ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระปรีชากลการ เพื่อช่วยทำเหมืองทองคำ พระปรีชากลการได้สมรสกับ มิสแฟนนี่ น๊อกซ์ ธิดาของเซอร์โธมัส ยอร์ช น๊อกซ์ กงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย ต่อมาพระปรีชากลการถูกราษฎรร้องทุกข์ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าฉ้อโกงเงินหลวง กระทำทารุณกรรมราษฎรด้วยความไม่เป็นธรรมหลายประการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งคณะกรรมการตุลาการขึ้นชำระความ ปรากฏว่าพระปรีชากลการมีความผิดตามที่ราษฎรร้องเรียน จึงจับตัวพระปรีชากลการสอบสวน เซอร์โธมัส ยอร์ช น๊อกซ์ ขอร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวพระปรีชากลการ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงโทรเลขเรียกเรือรบอังกฤษเข้ามาในน่านน้ำไทยเพื่อข่มขู่รัฐบาล รัฐบาลไทยจึงส่งคณะทูตพิเศษออกไปเจรจาความกับรัฐบาลอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษเห็นว่าการกระทำของกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทยไม่เป็นการสมควร จึงเรียกเรือรบกลับและมีคำสั่งให้เซอร์โธมัส ยอร์ช น๊อกซ์ พ้นจากตำแหน่งกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย ดังนั้นคณะลูกขุนตุลาการของศาลไทยจึงพิพากษาลงโทษประหารชีวิตประปรีชากลการ และจำคุกสมัครพรรคพวกอีกหลายคน
พ.ศ. ๒๔๓๗ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ปฏิรูปการปกครองประเทศไทย ส่วนภาคเป็นระบบมณฑล เทศาภิบาล มณฑลปราจีนมีที่ตั้งที่บัญชาการมณฑลอยู่ที่เมืองปราจีนบุรี มีหัวเมืองขึ้นอยู่ในความปกครอง คือ เมืองนครนายก เมืองฉะเชิงเทรา เมืองชลบุรี มีพลตรี พระยาฤทธิ์รงค์รณเฉท (ศุข ชูโต) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลคนแรก
ในสมัยนั้นเมืองปราจีนบุรีมีที่บัญชาการมณฑลเป็นตึก ๒ ชั้น ๔ หลัง หันเข้าบรรจบกันเป็น ๔ เหลี่ยม รูปคล้ายศาลายุทธนาธิการ กว้างขวางมาก ระหว่างกลางสามารถปลูกต้นไม้ทำเป็นสนามได้
สำหรับการปกครองในสมัยนั้น เมืองปราจีนบุรีแบ่งเขตการปกครองเป็น ๕ อำเภอ ๓ สาขา คือ
๑. อำเภอเมือง
๒. อำเภอบ้านสร้าง
๓. อำเภอศรีมหาโพธิ แยกสาขาเป็นอำเภอท่าประชุม
๔. อำเภอประจันตคาม
๕. อำเภอกระบิล แยกสาขาเป็น อำเภอวัฒนา ๑ อำเภอสระแก้ว ๑
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดให้สร้างทางรถไฟสายตะวันออกจากสถานีกรุงเทพ
(หัวลำโพง) ถึงสถานีแม่น้ำ จังหวัดฉะเชิงเทรา) ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างต่อจนถึงสถานีอรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงตั้งกรมทหารราบที่ ๑๙ ขึ้น โดยจัดสร้างอาคารทหารทางด้านทิศตะวันออกของศาลากลางจังหวัดหลังเก่า (บริเวณริมเรือนจำในปัจจุบัน) ถึงคลองดักรอบ (ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนอนุบาลปราจีนบุรี โรงเรียนปราจีนกัลยาณี โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง และวิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรีในปัจจุบัน) ต่อมาได้ย้ายกรมทหารไปตั้งใหม่ที่ดงพระรามให้ชื่อว่า “ค่ายจักรพงษ์” มณฑลทหารบกที่ ๒ เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้เปลี่ยนจาก “เมือง” เป็น “จังหวัด” และใน พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้มีการยุบเลิกมณฑลปราจีน ดังนั้นในทำเนียบรายชื่อจังหวัดในประเทศไทย จึงปรากฏเป็น “จังหวัดปราจีนบุรี” ซึ่งหมายถึงเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศไทย
ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดปราจีนบุรี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์หอรัตนชัยการ พิมพ์, ๒๕๒๙.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น