อำเภอสามชุก

     บ้านสามชุกในอดีตนั้นได้ขึ้นกับอำเภอเดิมบางนางบวช เมื่อปี พ.ศ. 2437 ต่อมาปี พ.ศ. 2454 จึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งบริเวณหมู่บ้านสำเพ็ง และเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอสามชุกเมื่อปี พ.ศ. 2457 มีเนื้อที่ 362 ตารางกิโลเมตร มี 7 ตำบล 68 หมู่บ้าน


     อำเภอสามชุก ได้ชื่อว่าเป็นท่าเรือทางการค้าที่สำคัญ และเป็นศูนย์กลางของจังหวัด ผู้ที่เดินทางจากตัวเมืองไปอำเภออื่นๆ จำเป็นต้องหยุดพักที่สามชุก และ นอกจากนั้นยังมีพวกกระเหรี่ยงนำของจากป่า บรรทุกเกวียนมาขายให้พ่อค้าทางเรือ และซื้อของจำเป็นกลับไป

     อำเภอสามชุก นั้นมีประวัติจารึกไว้ว่าเคยเป็น ดินแดนที่มีความยิ่งใหญ่ในอดีต ในฐานะที่เป็นเสมือนเมืองท่าที่สำคัญของ จังหวัดสุพรรณบุรี เพราะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน และได้เคยเป็นแหล่งอารยะธรรมเก่าแก่มาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานจากการขุดพบเทวรูปยืน เนื้อหินสีเขียวขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ใน พ.ศ. 2522 ที่บ้านเนินพระ ต.บ้านสระ อ.สามชุก ทำให้นักโบราณคดีเริ่มขุดค้น และเชื่อว่า ณ ที่นี้เป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยขอมแห่งหนึ่ง ที่มีความสำคัญ โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ใน อาณาจักรทวารวดีระหว่าง พ.ศ.ที่ 16-18 จากการขุดพบ ได้พบลายปูนปั้นเป็นจำนวนมาก เช่น เศียรเทวดา พระพิมพ์เนื้อชิน นางอัปสร พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ลายเทพพนม เศียรอสูรขนาดใหญ่ รูปสัตว์ที่ประดับศาสนสถาน ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง


     ด้วยความร่วมมือกันของชุมชน ทำให้ตลาดสามชุกในปัจจุบันเป็นตลาดโบราณที่กลับมามีชีวิตอีกครั้ง และเป็นต้นแบบให้กับอีกหลายๆตลาดที่มีอายุเก่าแก่ ได้กลับมาค้าขายกันเช่นอดีต โดยปรับปรุงดูแล และยังคงรักษารูปแบบดั้งเดิมเมื่อนับร้อยปี จนกระทั้งปี พ.ศ. 2552 ชุมชนสามชุกตลาดร้อยปี ได้รับรางวัลมรดกโลก ประเภทอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียแปซิฟิก จากองค์การยูเนสโก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระเจ้าแผ่นดินสยามในรัชกาลที่ 4 มี 2 พระองค์

"นางห้าม" ถวายตัวต้องตกเป็นมรดกหลวง

สะพานพระราม 8