บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2014

อำเภอชะอำ

รูปภาพ
      อำเภอชะอำ เดิมมีชื่อว่า “ ชะอาน ” เล่ากันว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ยกทัพมาทางใต้ ทรงนำทัพมาทางใต้ ทรงนำทัพมาที่เมืองนี้เพื่อไพร่พล ช้าง ม้าและล้างอานม้า จึงได้ชื่อว่า “ ชะอาน ” ต่อมาชื่อนี้จึงเพี้ยนมาเป็น “ ชะอำ ”       อำเภอชะอำ  เริ่มมีความเจริญทางด้านทางท่องเที่ยว ตั้งแต่ทางรถไฟสายใต้สร้างมาถึงในราวปี 2459 ชายหาดชะอำเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักกันมานานแล้ว แต่ในอดีตยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร จนกระทั่งปี พ.ศ. 2464 พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพารในสมัยนั้นได้ออกสำรวจพื้นที่ชายทะเลที่ชะอำ ได้ทรงมาจับจองที่ดินชายทะเลตำบลชะอำ ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นตำบลในเขตการปกครองของอำเภอนายาง พื้นที่ ชายทะเลชะอำเมื่อสำรวจครั้งแรกยังเป็นป่าอยู่ ส่วนด้านชายทะเลเป็นดงกระบองเพชรป่าหนามเสมาสลับกับต้นมะขามเทศและต้นรัก      ในรัฐสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีมาก จนได้ให้มีการสร้างค่ายหลวงบางทะลุ ณ ที่ หาดเจ้าสำราญ อำเภอเมืองเพชรบุรี แต่ที่ตำบลบางทะลุแมล

อำเภอแก่งกระจาน

รูปภาพ
     อำเภอแก่งกระจาน เดิมเรียกว่า “ หมู่บ้านตะเคียนห้าบาท " พื้นที่เป็นป่าดงดิบมีภูเขาใหญ่น้อยเรียงรายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลากหลายชนิด เช่น ช้าง เสือ หมี กระทิง เก้ง กวาง เป็นต้น ชนชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวกระเหรี่ยงและกระหร่าง อาศัยอยู่ตามริมน้ำซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรีในปัจจุบัน การปกครองเดิมขึ้นอยู่กับอำเภอท่ายาง จากสภาพพื้นที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งมีเกาะแก่งมากมายทำให้ราษฎรส่วนใหญ่ดำรงอาชีพด้วยการหาปลา โดยชาวกระเหรี่ยงจะใช้แผ่นเงินขนาดเล็กผูกติดกับเบ็ดเป็นเหยื่อล่อปลา แผ่นเงินขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมนี้ ชาวกระเหรี่ยงเรียกว่า “ กระจาน ”  ชื่อ แก่งกระจาน จึงมีที่มาจากอาชีพชาวกระเหรี่ยง                 กรมชลประทาน ได้ทำการสำรวจพบว่าพื้นที่ดังกล่าวสามารถกั้นเขื่อนขนาดใหญ่สำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรได้ จึงได้ของบประมาณสร้างเขื่อนดินแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504   โดยมีนายช่างประสาท   โพธิปิติ   เป็นผู้ควบคุม   สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี   พ.ศ. 2509   ตั้งชื่อว่า   “ เขื่อนแก่งกระจาน ”   เป็นเขื่อนอเนกประสงค์กั้นแม่น้ำเพช

เมืองพัทยา

รูปภาพ
     เมืองพัทยา มีตำนานเล่าขานถึงที่มา ไว้ 2 กระแส  คือ กระแสหนึ่งพูดถึงพัทยาในฐานะที่มีส่วนเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของชาติไทยว่า ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินได้ตีฝ่าวงล้อมพม่ามารวบรวมพลฝั่งตะวันออก ได้หยุดพักแรมที่นาจอมเทียนและทุ่งไก่เตี้ยสัตหีบ ซึ่งภายหลังชาวบ้านเรียกตำบลนี้ว่า "ทัพพระยา" ต่อมาเรียกใหม่เป็น "ทัพธยา" และกลายเป็น "พัทยา" ในที่สุด ส่วนอีกกระแส ได้กล่าวถึงตำนานไว้ว่า “พัทยา” ตรงบริเวณที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาแวะพักทัพ นั้น เป็นบริเวณที่มีทำเลดีและมีลมทะเลชนิดหนึ่งชื่อว่า “ ลมพัทธยา ” เป็นลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้พัดผ่านเข้ามาที่นี่เป็นประจำทุกปีในตอนต้นฤดูฝน จึงได้เรียกสถานที่บริเวณนี้ว่า “หมู่บ้านพัทธยา” และต่อมาได้เรียกเป็น “พัทยา” ในที่สุด        ในปี พ.ศ. 2504 ระหว่างสงคราวเวียดนาม ทหารอเมริกัน ซึ่งเข้ามาตั้งฐานทัพในไทยได้มาพักผ่อนที่ชายหาดพัทยา โดยได้เช่าบ้านตากอากาศของพระยา สุนทร แล้วผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมา สัปดาห์ละครั้งเป็นประจำ นับเป็นจุ

สะพานพระราม 8

รูปภาพ
     สะพานพระราม 8 เป็น สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แห่งที่ 13 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปลายถนนอรุณอัมรินทร์ ฝั่งธนบุรี กับปลายถนนวิสุทธิษัตริย์ ฝั่งพระนคร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2538 เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานพระปิ่นเกล้า รองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนฯ และเป็นจุดเชื่อมต่อตามโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้ผิวการจราจรเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2545       สะพานพระราม 8 นั้นปแบบโดดเด่นสวยงามเพราะได้ออกแบบเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตร ซึ่งหมายความว่า มีเสาสะพานหลักเสาเดียวบนฝั่งธนบุรี และมีเสารับน้ำหนัก 1 ต้นบนฝั่งพระนคร จึงไม่มีเสารับน้ำหนักตั้งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาทำให้ไม่มีปัญหาต่อการสัญจรทางน้ำ      สะพานพระราม 8 นั้นสร้างเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) กรุงเทพมหานครจึงได้อัญเชิญ พระราชลัญจกร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์มาเป็นต้นแบบในการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ส่วนประกอบต่างๆ ของสะพานเน้นความโปร่งบาง เรียบง่าย และสวยงาม วั

ท่าพระจันทร์

รูปภาพ
    ท่าพระจันทร์ เป็นท่าเรือริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่บริเวณสุดถนนพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ให้บริการเฉพาะเรือข้ามฟากในเส้นทางท่าพระจันทร์-วังหลัง และท่าพระจันทร์-พระปิ่นเกล้า      ชื่อของ ท่าพระจันทร์ มาจากการที่บริเวณท่าเรือแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์ ซึ่งเป็นป้อมแห่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามแนวกำแพงพระนครด้านตะวันตก ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ใช้บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นท้องสนามหลวง ถนนหน้าพระธาตุ ป้อมต่าง ๆ รอบกำแพงพระราชวังบวรสถานมงคลถูกรื้อลงหมดรวมถึงป้อมพระจันทร์ด้วย ถนนที่ตัดตรงสู่บริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์จึงมีชื่อว่า "ถนนพระจันทร์" และท่าน้ำในบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์จึงเรียกว่า " ท่าพระจันทร์ " มาจนถึงปัจจุบัน ใช้เป็นท่าเรือโดยสารซึ่งมีบริษัทเอกชนเป็นผู้ดำเนินกิจการเดินเรือข้ามฟากที่ประมูลมาจากกรุงเทพมหานคร

วันลอยกระทง

รูปภาพ
     ประเพณี ลอยกระทง ของไทยนั้นมีมาแต่สมัยโบราณ โดยมีความเชื่อหลายอย่าง เช่น เชื่อว่าเป็นการบูชาและขอขมาแม่พระคงคา เป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็นการบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น การลอยกระทงนิยมทำกันในวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุก ๆ ปี อันเป็นช่วงที่น้ำในแม่น้ำลำคลองขึ้นสูงและอากาศเริ่มเย็นลง ตามพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน และตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้กล่าวว่า นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์กระทงสำหรับลอยประทีปเป็นรูปดอกบัวบานขึ้น ซึ่งคนทั่วไปนิยมทำตามสืบต่อมา นอกจากนั้นในศิลาจารึกหลักที่ 1 ยังได้กล่าวถึง งานเผาเทียน เล่นไฟ ของกรุงสุโขทัยไว้ด้วยว่า เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้ผู้รู้ทั้งหลายสันนิษฐานต้องตรงกันว่า งานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน       วันลอยกระทง นั้นมีประวัติความเป็นมา ตังแต่สมัยสุโขทัย โดย นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทงรูปดอกบัว และรูปต่างๆถวาย พระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล  ลืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน          ปัจจุบันประเพณี ล

อำเภอเชียงแสน

รูปภาพ
     อำเภอเชียงแสน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ซึ่งเรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ อันเป็นบริเวณที่บรรจบกันของชายแดนสามประเทศ คือ ไทย ลาว และพม่า ตามประวัติเริ่มมีบันทึกไว้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยบันทึกไว้ว่า พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (พระเจ้านครเชียงใหม่) ได้ทรงส่งใบบอกข้อราชการไปยังกรุงเทพมหานครว่า มีชาวพม่า ไทลื้อ และไทเขินจากเมืองเชียงตุงประมาณ 300 ครอบครัวได้อพยพลงมาอยู่เมืองเชียงแสนและตั้งตนเป็นอิสระไม่ยอมอยู่ใต้การปกครองของสยามและล้านนา จึงแต่งคนไปว่ากล่าวให้ถอยออกจากเมือง ถ้าอยากจะอยู่ ให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเมืองเชียงรายและนครเชียงใหม่ แต่ก็ไม่ได้ผล ไม่มีใครยอมออกไป      ในปี พ.ศ. 2417 พระเจ้านครเชียงใหม่จึงทรงเกณฑ์กำลัง 4,500 คน จากเมืองต่าง ๆ ยกทัพจากนครเชียงใหม่มาเมืองเชียงรายและ เมืองเชียงแสน ไล่ชนเหล่านั้นออกจากเมืองเชียงแสน จึงทำให้เชียงแสนกลายเป็นเมืองร้าง จนถึงปี พ.ศ. 2423 ได้ทรงให้เจ้าอินต๊ะ ราชโอรสในพระเจ้าบุญมาเมือง พระเจ้าผู้ครองนครลำพูนมาเป็นเจ้าเมือง (ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์) องค์แรก และให้พระเจ้าผู้ครองนครลำพูนทรงเกณฑ์ราษฎ

อำเภอดอยหลวง

รูปภาพ
     อำเภอดอยหลวง เป็นอีกอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอแม่จัน ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่ง อำเภอดอยหลวง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกัน  และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอดอยหลวง ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน       อำเภอดอยหลวง แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 33 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลปงน้อย ตำบลโชคชัย และตำบลหนองป่าก่อ

อำเภอเวียงชัย

รูปภาพ
     ประวัติ อำเภอเวียงชัย ตามพงศาวดารหลายฉบับกล่าวว่า เมื่อราวปี พ.ศ. 1460 พระเจ้าไชยนารายณ์ ได้ทรงสร้างเมืองขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ตำบลเมืองชุม เรียกชื่อว่า “เวียงชัยนารายณ์” ต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างเนื่องจากภัยสงครามจนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งปรากฏเรื่องราวในประวัติศาสตร์อีกว่าเมืองร้างแห่งนั้นเรียกว่า ปงเวียงชัย อยู่ห่างจากเมืองเชียงรายไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร ได้มีผู้คนเริ่มทยอยเข้าไปทำมาหากินตั้งบ้านเรือนอยู่จนกลายเป็นหมู่บ้านเรียกว่า บ้านเวียงชัย ต่อมาได้มีผู้อพยพเข้าอยู่ในพื้นที่นั้นมากขึ้นจนกระทั่งทางการได้ตั้งเป็นตำบลเรียกว่า ตำบลเวียงชัย      ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2508 อำเภอเมืองเชียงรายได้ดำเนินการขอแยกตำบลเวียงชัย ตำบลทุ่งก่อ และตำบลผางาม ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 ให้แบ่งท้องที่ 3 ตำบลดังกล่าวออกจากอำเภอเมืองเชียงรายตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอเรียกว่า กิ่งอำเภอเวียงชัย ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2517 และได้ยกฐานะเป็น อำเภอเวียงชัย มื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2522 จากนั้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2

อำเภอสังขละบุรี

รูปภาพ
      อำเภอสังขละบุรี เป็นอำเภอที่ติดกับชายแดนพม่า ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรี ประมาณ 215 กิโลเมตร เมืองชายแดนแห่งนี้ รายล้อมด้วยธรรมชาติและขุนเขา มีแม่น้ำซองกาเลีย ไหลจากต้นกำเนิดในประเทศพม่า ผ่านอำเภอสังขละบุรีหล่อเลี้ยงผู้คนสองฟากฝั่งแม่น้ำ และเชื่อมสัมพันธ์ ชนชาติิมอญทั้งสองประเทศ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน      แม่น้ำซองกาเลียจึงเป็นชื่อเรียก จากภาษามอญแปลเป็น ไทยว่า“ฝั่งโน้น” แม่น้ำซองกาเลียแบ่งแผ่นดินอำเภอสังขละบุรีออกเป็น สองฝั่ง ฝั่งหนึ่งคือตัวอำเภอ ซึ่งรวม สถานที่ราชการ และสถานที่พัก สำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นคนไทยที่พูดภาษาไทย ภาคกลางส่วน อีกฝั่งหนึ่ง เป็นหมู่บ้านของชาวมอญทั้งที่ตั้งรกราก มานานนับร้อยปี และเพิ่งอพยพเข้ามาใหม่สังขละบุรีเมืองที่ มีความงามหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม ของพี่น้องต่างเผ่าพันธุ์ ทั้งมอญ กระเหรี่ยง ไทย ลาว พม่า ฯลฯ       อำเภอสังขละบุรี  มีคำขวัญว่า “เมืองสามหมอก ดินแดนสามวัฒนธรรม” คือมีทั้ง ไทย มอญ กะเหรี่ยง มีสะพานไม้อุตมานุสรณ์ เป็นสัญลักษณ์เด่น ที่ใครมาก็ต้องมาเยือน สะพานไม้ที่ยาวที่สุดอันดับ 2 ของโลกแห่งนี้ พร้อมกับสัมผัสว

อำเภอหัวหิน

รูปภาพ
      อำเภอหัวหินเ ป็นอำเภอที่มีชื่อเสียงของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีเรื่องเล่าขานกันว่าราวปี พ.ศ. 2377 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พื้นที่เกษตรกรรมบางแห่งของเมืองเพชรบุรีแห้งแล้งกันดารมาก ราษฏรกลุ่มหนึ่งจึงทิ้งถิ่นย้ายลงมาทางใต้ จนมาถึงบ้านสมอเรียงซึ่งอยู่เหนือขึ้นมาจากเขาตะเกียบและบ้านหนองแกหรือบ้านหนองสะแก ที่บ้านสมอเรียงนี้มีหาดทรายชายทะเลแปลกกว่าที่อื่น คือมีกลุ่มหินกระจัดกระจายอยู่อย่างสวยงาม ทั้งที่ดินก็มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับทำไร่ทำนาการประมง บรรพชนเหล่านี้จึงเป็นเสมือนผู้ที่ลงหลักปักเสาสร้างบ้านหัวหินขึ้น จนกลายเป็นหมู่บ้านที่เรียกกันแต่แรกว่า “ บ้านสมอเรียง ”      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ (พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร ต้นราชสกุลกฤดากร) เป็นเจ้านายพระองค์แรกที่สร้างตำหนักหลังใหญ่ชายทะเลด้านใต้ของหมู่หิน (ปัจจุบันอยู่ติดกับโรงแรมโซฟิเทลฯ) และประทานชื่อตำหนักว่า “แสนสำราญสุขเวศน์” ปัจจุบัน คือ Baan Laksasubha ต่อมาทรงปลูกอีกหลังหนึ่งแยกเป็น แสนสำราญ และ สุขเวศน์ เพื่อไว้ใช้รับเสด็จเจ้านาย พร้อมกับทรงสร้างเรือนขนาดเล็กใต้ถุนสูงอีกหลายหลัง ซึ

วันปิยมหาราช

รูปภาพ
     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พัฒนาสยามประเทศจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างความวัฒนาให้กับชาติเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ ด้วยพระราชกรณียกิจที่ยังความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชน ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า " พระปิยมหาราช " หรือพระพุทธเจ้าหลวง      เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ได้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า      ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทางราชการได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า " วันปิยมหาราช " และ

อำเภอเบตง

รูปภาพ
     อำเภอเบตง  เป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่ในจังหวัดยะลา นับเป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศไทย  คำว่า เบตง เป็นภาษามลายู หมายถึง ไม้ไผ่ ซึ่งมีอยู่มากในท้องถิ่น ต้นไผ่ จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของ อำเภอเบตง เดิมเบตงเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของหัว เมืองมลายู ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงสุโขทัย จนมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่  2  พ.ศ.  2310  บ้านเมืองจึงเกิดความวุ่นวาย ระส่ำระสาย โจรผู้ร้ายชุกชุมเจ้าเมืองต่าง ๆ คิดแข็งเมือง และตั้งตนเป็นอิสระ ทำให้หัวเมืองมลายู ซึ่งเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น มีโอกาสรวมตัวกันแข็งเมือง ขึ้นเป็นรัฐอิสระ สร้างความเจริญรุ่งเรืองด้านต่าง ๆ ทั้งด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ โดยมีศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองปัตตานี      จนมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์   สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่  1  ทรงรวบรวมหัวเมืองมลายูที่แข็งเมืองกลับมาเป็นเมืองขึ้นได้อีกครั้งหนึ่ง และแบ่งหัวเมืองปัตตานีออกเป็น  7  หัวเมือง เมื่อพ.ศ.  2351  มีอาณาเขตชัดเจน ได้แก่ ปัตตานี ยะลา หนองจิก สายบุรี ยะหริ่ง ระแงะ และรามัน ในส่วนของเมืองรามัน นั้น คือ

อำเภอสวนผึ้ง

รูปภาพ
     อำเภอสวนผึ้ง นั้นเคยเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอจอมบึง เรียกว่า "ตำบลสวนผึ้ง"  เป็นตำบลที่มีพื้นที่ กว้างขวาง ทุรกันดาร เต็มไปด้วยภูเขา ป่าไม้ การคมนาคม ไม่สะดวก ประชาชนในตำบล ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ต่อมากระทรวงมหาดไทย  ได้ประกาศแบ่งพื้นที่อำเภอจอมบึง โดยตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า กิ่งอำเภอสวนผึ้ง เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2517  และต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอสวนผึ้ง เมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2526               ที่มาของคำว่า "สวนผึ้ง" นั้นเนื่องจากพื้นที่โดยทั่วไปของ อำเภอสวนผึ้ง  มีสภาพแวดล้อมประกอบด้วยธรรมชาติ ป่าไม้ เทือกเขา และมีต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า  “ต้นผึ้ง"   ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีสีขาวนวลไม่มีเปลือกกะเทาะหรือลอกให้เห็น และที่สำคัญที่สุดคือจะมีผึ้งจำนวนนับแสนนับล้านตัวมาอาศัยทำรังอยู่บนต้นผึ้งเท่านั้น                อำเภอสวนผึ้ง  มีเขตการปกครอง  5  ตำบล  คือ  ตำบลสวนผึ้ง  ตำบลป่าหวาย  ตำบลบ้านบึง  ตำบลท่าเคย และตำบลบ้านคา  สภาพท้องถิ่นทุรกันดาร  ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าไม้  มีภูเขาสลับซับซ้อนอยู่ทั่วไป ห่างจากตัวจั

อำเภออัมพวา

รูปภาพ
     อำเภออัมพวา นั้นเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์อยู่มาก สมัยก่อนเรียกกันว่า "แขวงบางช้าง" เป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่มีความเจริญทั้งในด้านการเกษตร และการพาณิชย์ มีหลักฐานเชื่อได้ว่า ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้น แขวงบางช้างมีตลาดค้าขายเรียกว่า "ตลาดบางช้าง" นายตลาดเป็นหญิงชื่อน้อย มีบรรดาศักดิ์เป็นท้าวแก้วผลึก นายตลาดผู้นี้อยู่ในตระกูลเศรษฐีบางช้างซึ่งต่อมาเป็นราชนิกุล "ณ บางช้าง"       เมื่อ พ.ศ. 2303 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ โปรดเกล้าฯ ให้นายทองด้วง (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี ซึ่งเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา ต่อมาหลวงยกกระบัตรได้แต่งงานกับคุณนาคบุตรีเศรษฐีบางช้าง และได้ย้ายบ้านไปอยู่หลังวัดจุฬามณี ต่อมาเมื่อไฟไหม้บ้านจึงได้ย้ายไปอยู่ที่หลังวัดอัมพวันเจติยาราม อีก 3 ปี       เมื่อ พ.ศ. 2310 พม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก หลวงยกกระบัตรจึงตัดสินใจอพยพครอบครัวเข้าไปอยู่ในป่าลึก ในระหว่างนี้ ท่านแก้ว (สมเด็จกรมพระศรีสุดารักษ์) พี่สาวของหลวงยก

อำเภอสามชุก

รูปภาพ
      บ้านสามชุก ในอดีตนั้นได้ขึ้นกับอำเภอเดิมบางนางบวช เมื่อปี พ.ศ. 2437 ต่อมาปี พ.ศ. 2454 จึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งบริเวณหมู่บ้านสำเพ็ง และเปลี่ยนชื่อมาเป็น อำเภอสามชุก เมื่อปี พ.ศ. 2457 มีเนื้อที่ 362 ตารางกิโลเมตร มี 7 ตำบล 68 หมู่บ้าน      อำเภอสามชุก ได้ชื่อว่าเป็นท่าเรือทางการค้าที่สำคัญ และเป็นศูนย์กลางของจังหวัด ผู้ที่เดินทางจากตัวเมืองไปอำเภออื่นๆ จำเป็นต้องหยุดพักที่สามชุก และ นอกจากนั้นยังมีพวกกระเหรี่ยงนำของจากป่า บรรทุกเกวียนมาขายให้พ่อค้าทางเรือ และซื้อของจำเป็นกลับไป       อำเภอสามชุก นั้นมีประวัติจารึกไว้ว่าเคยเป็น ดินแดนที่มีความยิ่งใหญ่ในอดีต ในฐานะที่เป็นเสมือนเมืองท่าที่สำคัญของ จังหวัดสุพรรณบุรี เพราะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน และได้เคยเป็นแหล่งอารยะธรรมเก่าแก่มาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานจากการขุดพบเทวรูปยืน เนื้อหินสีเขียวขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ใน พ.ศ. 2522 ที่บ้านเนินพระ ต.บ้านสระ อ.สามชุก ทำให้นักโบราณคดีเริ่มขุดค้น และเชื่อว่า ณ ที่นี้เป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยขอมแห่งหนึ่ง ที่มีความสำคัญ โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ใน อาณาจักรทวารวดีระหว่าง พ.ศ.ที่ 16-18 จากก