พระเจ้าแผ่นดินสยามในรัชกาลที่ 4 มี 2 พระองค์


     ในประวัติศาสตร์ชาติไทย แผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้มีพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองเกิดขึ้น นั่นก็คือ พระอนุชาร่วมพระชนนี คือ เจ้าฟ้าจุฑามณี เป็นพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง ทรงได้รับพระบวรราชาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

"สมเด็จพระปวเรนทราเมศ มหิศเรศ รังสรรค์ มหรรต วรรคโชไชย มโหฬารคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ บวรจักรพรรดิราช บวรนาถบพิตร พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว"

     แต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเสด็จสวรรคตเสียก่อนที่จะสิ้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงไม่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบต่อมา พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นกษัตริย์วังหน้านั้น จึงเป็นที่ทราบกันน้อยมาก เพราะแม้พระราชประวัติของพระองค์จะเป็นเพชรเม็ดงามเลิศก็ตามจริง แต่ก็ได้ฝังจมอยู่ในประราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตลอดกาลสมัย

     เมื่อล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ขึ้นครองแผ่นดิน และทรงสถาปนาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์อีกพระองค์นั้น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นก็ทรงระมัดระวังไม่เข้าไปก้าวก่ายในการบริหารราชการแผ่นดินของพระเชษฐาธิราช ด้วยพระองค์ทรงตระหนักอยู่เสมอว่า "เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า" พระองค์จึงให้ความสนพระทัยแต่ในกิจการทหาร การต่อเรือกลไฟ การช่างต่างๆ

     พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงพระปรีชาสามารถมาก ทรงรอบรู้งานใน ด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น งานด้านกองทัพบก กองทัพเรือ ด้านต่างประเทศ วิชาช่างจักรกล และวิชาการปืนใหญ่ ทรงรอบรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ถึงขั้นทรงแปลตำราปืนใหญ่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย

     มีรายละเอีดต่างๆในหลายแง่มุมถึงเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระอนุชาร่วมพระราชชชนนีขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สอง ตามเหตุผลของพระองค์เองที่ว่า ดวงพระชะตาของสมเด็จพระอนุชานั้นแรงถึงขนาดจะต้องได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน จึงควรสถาปนาสมเด็จพระอนุชาขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินพร้อมกับพระองค์เสียเลย

     แต่ทว่าด้วยเหตุผลนี้หลายคนที่เป็นผู้รู้วิเคราะห์ว่า ทั้งหมดเป็นกุศโลบาย เพราะการที่พระองค์สถาปนาพระอนุชาให้เป็นพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับพระองค์ ก็เพื่อป้องกันปัญหามิให้เกิดความไม่เรียบร้อยขึ้นในทางการเมือง เพราะรัชกาลที่ 4 ทรงทราบดีว่า พระอนุชานั้นมีผู้คนนิยมยกย่องเป็นอันมาก มีผู้นับถืออย่างกว้างขวาง และทรงมีกำลังทหารอยู่ในบังคับบัญชาเป็นอันมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นการสถาปนาพระอนุชาให้เป็นพระเข้าแผ่นดินอีกพระองค์เสียเลย ก็จะสมปรารถนาของทุกฝ่าย และปัญหาต่างๆก็จะไม่เกิดตามมา

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

"นางห้าม" ถวายตัวต้องตกเป็นมรดกหลวง

สะพานพระราม 8