อำเภอแก่งกระจาน

     อำเภอแก่งกระจาน เดิมเรียกว่า หมู่บ้านตะเคียนห้าบาท" พื้นที่เป็นป่าดงดิบมีภูเขาใหญ่น้อยเรียงรายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลากหลายชนิด เช่น ช้าง เสือ หมี กระทิง เก้ง กวาง เป็นต้น ชนชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวกระเหรี่ยงและกระหร่าง อาศัยอยู่ตามริมน้ำซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรีในปัจจุบัน การปกครองเดิมขึ้นอยู่กับอำเภอท่ายาง จากสภาพพื้นที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งมีเกาะแก่งมากมายทำให้ราษฎรส่วนใหญ่ดำรงอาชีพด้วยการหาปลา โดยชาวกระเหรี่ยงจะใช้แผ่นเงินขนาดเล็กผูกติดกับเบ็ดเป็นเหยื่อล่อปลา แผ่นเงินขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมนี้ ชาวกระเหรี่ยงเรียกว่า กระจาน ชื่อแก่งกระจานจึงมีที่มาจากอาชีพชาวกระเหรี่ยง

         
     กรมชลประทาน ได้ทำการสำรวจพบว่าพื้นที่ดังกล่าวสามารถกั้นเขื่อนขนาดใหญ่สำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรได้ จึงได้ของบประมาณสร้างเขื่อนดินแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 โดยมีนายช่างประสาท โพธิปิติ เป็นผู้ควบคุม สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี  พ.ศ.2509 ตั้งชื่อว่า เขื่อนแก่งกระจาน เป็นเขื่อนอเนกประสงค์กั้นแม่น้ำเพชรบุรีที่บริเวณเขาไม้รวก มาบรรจบกันที่ตำบลสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน
       
  ในปี พ.ศ.2531 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งกิ่งอำเภอแก่งกระจาน โดยแยกออกจากอำเภอท่ายาง เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2531 ขณะนั้นมีพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลแก่งกระจาน ตำบลสองพี่น้อง และตำบลวังจันทร์ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระเจ้าแผ่นดินสยามในรัชกาลที่ 4 มี 2 พระองค์

"นางห้าม" ถวายตัวต้องตกเป็นมรดกหลวง

สะพานพระราม 8