"นางห้าม" ถวายตัวต้องตกเป็นมรดกหลวง
ธรรมเนียมในราชสำนักแต่โบราณนั้น ถือว่าบุคคลใดไม่ว่าชายหรือหญิงเมื่อได้ถวายตัวแล้วจะถือว่าบุคคลนั้นตกเป็นคนของหลวงหรือตกเป็นคนของเจ้านายพระองค์นั้น การที่จะโปรดให้ทำอย่างไรหรือย้ายไปอยู่ที่ใดจึงสุดแต่พระราชอัทธยาศัย เรื่องคนของหลวงนี้เป็นเรื่องจริงที่เคยเกิดขึ้นดังตัวอย่างที่จะยกขึ้นมาให้เห็นภาพชัดเจนได้คือ เรื่องของนายแจ่ม สุนทรเวช กับคุณอุทุมพร วีระไวทยะ
เมื่อพระยาดำรงแพทยาคุณผู้เป็นบิดาได้ถวายคุณอุทุมพรเป็นข้าหลวงในสมเด็จพระพันปีหลวงแล้ว คุณอุทุมพรก็ย้ายเข้าไปอยู่ในราชสำนักของสมเด็จพระพันปีหลวง และโปรดให้ศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนราชินี เมื่อสำเร็จการศึกษาก็กลับไปอยู่ที่วังพญาไท ต่อมาสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จสวรรคตคุณอุทุมพรจึงได้กราบบังคมลากลับมาอยู่ที่บ้านกับคุณหญิงสงวนผู้เป็นมารดา เพราะพระยาดำรงแพทยาคุณเพิ่งถึงอนิจกรรมไป ทำให้คุณอุทุมพรได้รู้เริ่มรู้จักกับนายแจ่มและเกิดชอบพอกัน
แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ให้ทั้งคู่ต้องจากกันเพราะคุณอุทุมพรต้องเดินทางไปนครปฐมกับมารดา การเดินทางไปนครปฐมคราวนี้ทำให้ท่านเจ้าคุณผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ได้พบกับคุณอุทุมพรและได้จัดคนมาสู่ขอคุณอุทุมพรไปเป็นคุณหญิงของท่าน คุณอุทุมพรไม่ยอมเพราะตนรักชอบกับนายแจ่มอยู่แล้วจึงได้แจ้งให้นายแจ่ม ทราบข่าว เมื่อนายแจ่มทราบข่าวก็ไม่รู้จะหาทางออกได้อย่างไร สุดท้ายตัดสินใจหาโอกาสนำความกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทรัชกาลที่ 6
เมื่อรัชกาลที่ 6 ทรงทราบความแล้วจึงมีรับสั่งให้คุณพนักงานไปเจรจากับคุณหญิงสงวน แต่คุณหญิงสงวนท่านว่า ได้ตกลงไปกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมแล้วว่าจะยกลูกสาวให้ เกรงจะเสียผู้ใหญ่ รัชกาลที่ 6 จึงได้มีพระบรมราชโองการให้คุณหญิงสงวนไปเฝ้าฯ ซึ่งคุณอุทุมพรได้เล่าไว้ว่า"เมื่อกลับจากเข้าเฝ้าในวันนั้นคุณแม่เล่าทั้งน้ำตาว่า ในหลวงทรงอ้างสิทธิครอบครองในตัวดิฉัน โดยคุณแม่ได้ถวายขาดให้สมเด็จพระพันปีหลวงทรงชุบเลี้ยงมา เมื่อสมเด็จพระพันปีหลวงสวรรคตแล้วดิฉันก็ต้องเป็นมรดกตกทอดกลายเป็นคนของหลวงต่อไปหรือเรียกอีกอย่างว่า”ห้าม” เหตุการณ์นี้ทำให้คุณแม่หมดสิทธิ์ที่จะเอาดิฉันไปยกให้ใคร ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสว่า พวก“ห้าม”ถ้าใครอยากจะได้ก็ต้องทำหนังสือขอพระราชทานนำความทูลเกล้าฯเข้ามา ซึ่งเป็นราชประเพณีที่ปฏิบัติมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานยกให้เสมอไป การที่จะพระราชทานหรือไม่นั้นย่อมสุดแต่พระราชวินิจฉัย แต่แล้วพระเจ้าอยู่หัวก็เห็นกับความรักของทั้งสองจึงโปรดให้นายแจ่มทำหนังสือขอเข้ารับพระราชทานคุณอุทุมพรมไปเป็นภรรยา และแล้วความรักของทั้งคู่ก็ได้สมหวังดังปรารถนา
สมเด็จพระพันปีหลวง
เมื่อรัชกาลที่ 6 ทรงทราบความแล้วจึงมีรับสั่งให้คุณพนักงานไปเจรจากับคุณหญิงสงวน แต่คุณหญิงสงวนท่านว่า ได้ตกลงไปกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมแล้วว่าจะยกลูกสาวให้ เกรงจะเสียผู้ใหญ่ รัชกาลที่ 6 จึงได้มีพระบรมราชโองการให้คุณหญิงสงวนไปเฝ้าฯ ซึ่งคุณอุทุมพรได้เล่าไว้ว่า"เมื่อกลับจากเข้าเฝ้าในวันนั้นคุณแม่เล่าทั้งน้ำตาว่า ในหลวงทรงอ้างสิทธิครอบครองในตัวดิฉัน โดยคุณแม่ได้ถวายขาดให้สมเด็จพระพันปีหลวงทรงชุบเลี้ยงมา เมื่อสมเด็จพระพันปีหลวงสวรรคตแล้วดิฉันก็ต้องเป็นมรดกตกทอดกลายเป็นคนของหลวงต่อไปหรือเรียกอีกอย่างว่า”ห้าม” เหตุการณ์นี้ทำให้คุณแม่หมดสิทธิ์ที่จะเอาดิฉันไปยกให้ใคร ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสว่า พวก“ห้าม”ถ้าใครอยากจะได้ก็ต้องทำหนังสือขอพระราชทานนำความทูลเกล้าฯเข้ามา ซึ่งเป็นราชประเพณีที่ปฏิบัติมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานยกให้เสมอไป การที่จะพระราชทานหรือไม่นั้นย่อมสุดแต่พระราชวินิจฉัย แต่แล้วพระเจ้าอยู่หัวก็เห็นกับความรักของทั้งสองจึงโปรดให้นายแจ่มทำหนังสือขอเข้ารับพระราชทานคุณอุทุมพรมไปเป็นภรรยา และแล้วความรักของทั้งคู่ก็ได้สมหวังดังปรารถนา
งานมงคลสมรสพระราชทานนายแจ่มและคุณอุทุมพร
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น