เจ้านาย ผู้มีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ ต่อจากรัชกาลที่ 7
รัชทายาทในสมัยรัชกาลที่ 7
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประสบปัญหาเรื่องรัชทายาทคล้ายคลึงกับในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เพราะถึงแม้จะทรงมีพระอัครมเหสี 1 พระองค์ คือ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี แต่ก็ไม่ทรงมีพระราชโอรสสืบสันตติวงศ์แต่อย่างใด
ประกอบกับที่ทรงมีพระสุขภาพไม่ค่อยปกตินักจึงมักมีผู้คาดการณ์เกี่ยวกับเจ้านายที่จะรับเป็นรัชทายาทแตกต่างกันออกไป โดยมีเจ้านายหลายพระองค์ที่อยู่ในข่าย หรือได้รับการสนับสนุนให้เป็นรัชทายาทดังนี้
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ตำแหน่งรัชทายาทควรจะตกอยู่กับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต้นราชสกุล “มหิดล”) พระราชโอรสพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติจากสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระพันวัสสา) พระมเหสีที่มีพระอิสริยยศรองจากสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ(สมเด็จพระพันปีหลวง) แต่ทรงมีพระชนมายุเพียง 38 พรรษาเท่านั้น ก็สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2472
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ตำแหน่งรัชทายาทควรจะตกอยู่กับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต้นราชสกุล “มหิดล”) พระราชโอรสพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติจากสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระพันวัสสา) พระมเหสีที่มีพระอิสริยยศรองจากสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ(สมเด็จพระพันปีหลวง) แต่ทรงมีพระชนมายุเพียง 38 พรรษาเท่านั้น ก็สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2472
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (ต้นราชสกุล “บริพัตร”) พระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติจากพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี (ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี) ทรงเป็นเจ้านายชั้นสูงอีกพระองค์หนึ่งที่หลายฝ่ายสนับสนุนและต้องการให้พระองค์เป็นรัชทายาท แม้จะทรงอยู่ในอันดับที่ 3 ของลำดับผู้ที่สืบสันตติวงศ์
โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ได้ทรงกล่าวถึงพระฐานะของสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตร ไว้ในหนังสือเกิดวังปารุสก์ความว่า
“...เมื่อข้าพเจ้าอยู่เมืองไทยเวลานั้น (๒๔๗๓) ตามเสียงคนพูดกันทั่วไปดูทุก ๆ คนรู้สึกกันว่า ถ้าทูลกระหม่อมอายังคงไม่มีพระราชโอรสอยู่ตราบใด ทูลหม่อมลุงบริพัตรทรงมีหวังที่จะได้รับตั้งสืบราชสมบัติต่อไปมากกว่าเจ้านายพระองค์อื่น ๆ ถึงแม้ตามกฎมณเฑียรบาลท่านทรงเป็นพระองค์ที่ ๓ อยู่แล้ว เวลานั้นท่านทรงเป็นเจ้านายที่มีตำแหน่งราชการสำคัญที่สุด
ทรงเป็นใหญ่ในอภิรัฐมนตรีสภา เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเป็นผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก ครั้นเมื่อทูลกระหม่อมอาเสด็จประพาสอเมริกาก็ได้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ปรากฏว่ามีผู้คนรักใคร่นับถือเป็นอันมาก...”
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าพงษ์จักร เป็นพระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ กับหม่อมคัทริน มีศักดิ์เป็นพระราชภาติยะ (หลานอา) ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีผู้คาดหมายว่าพระองค์อาจเป็นเจ้านายอีกพระองค์หนึ่งที่อาจจะได้รับเลือกเป็นรัชทายาท เพราะทรงเป็นเจ้านายชั้นหลานเธอเพียงพระองค์เดียวที่ได้รับการยกย่องเป็นพิเศษในฐานะที่ทรงเป็นหลานอาแท้ ๆ ของพระเจ้าอยู่หัว
เช่น เมื่อเสด็จกลับมาประทับในกรุงเทพฯ เป็นการชั่วคราวในปี พ.ศ. 2473 ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศยุโรป รัชกาลที่ 7 ได้เสด็จฯ ไปรับพระองค์จุลด้วยพระองค์เองที่สถานีรถไฟจิตรลดา ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประทับอยู่ที่พระนั่งอุดร ภายในพระราชวังดุสิต และการได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 ในขณะที่เจ้านายหลานเธอชั้นเดียวกันได้รับพระราชทานชั้นที่ 2 เป็นต้น
แต่การยกย่องเป็นพิเศษนี้พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงยืนยันว่ารัชกาลที่ 7 ไม่ได้มีพระราชประสงค์ที่จะให้พระองค์เป็นรัชทายาทแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะทรงเป็นหลานอาแท้ ๆ ที่ทรงคุ้นเคยกันมาก่อน และในความเป็นจริงพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ก็ได้ถูกตัดสิทธิ์ในการสืบราชสันตติวงศ์มาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 6 แล้ว เพราะทรงมีพระมารดาเป็นนางต่างด้าว
และรัชกาลที่ 7 เองก็ทรงแสดงพระราชประสงค์อย่างชัดเจนที่จะปฏิบัติตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 6 ในการที่จะไม่ยกพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์เป็นรัชทายาท ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาถึงพระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ ลงวันที่ 15 มกราคม 2471 ความว่า
“...ฉันจะพูดกับแกตรง ๆ และหวังว่าแกจะพยายามเข้าใจความคิดของฉัน ฉันรู้สึกสะอิดสะเอียนอย่างยิ่งที่ต้องเอามาพูด แต่เป็นการจำเป็นและแกก็รู้ตัวดี คือแกเป็นคนครึ่งชาติและเพราะเหตุผลนั้นจึงถูกยกเว้นจากการสืบราชสมบัติ ฉันไม่ต้องการให้แกได้เข้าเฝ้าพระเจ้ายอร์ช (แห่งอังกฤษ) เพราะแกไม่อยู่ในขอบเจตสืบสันตติวงศ์ ฐานะของแกในเมืองไทยคือเป็นเจ้านายและเป็นหลานแท้ ๆ ของฉัน แต่ต้องถูกยกเว้นจากการได้ขึ้นราชบัลลังก์
ฉันเห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ก่อน (ร.6) ท่านทำผิดในการที่ทรงตั้งแกเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ เพราะท่านได้ตั้งพระทัยจะยกเว้นแกมาตั้งแต่แรก การเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอมีแต่จะทำให้ฐานะแกครึ่งๆ กลางๆ แต่เดี๋ยวนี้ก็แก้ไขไม่ได้เสียแล้ว...”
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล
พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าอานันทมหิดล เป็นพระโอรสองค์โตในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ กับหม่อมสังวาลย์ เมื่อพระราชบิดาสิ้นพระชนม์พระองค์จึงได้ทรงอยู่ในอันดับที่ 1 ของลำดับการสืบสันตติวงศ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงพระนิพนธ์ไว้ในเกิดวังปารุสก์ ดังนี้
“...ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ หากทูลกระหม่อมอาเอียดน้อยมิได้ทรงแต่งตั้งเจ้านายพระองค์อื่น องค์ชายอานันท์ก็ย่อมจะเป็นรัชทายาท แต่ทูลหม่อมอายังมิได้ประกาศรับรองว่าเป็นเช่นนั้น...”
ดังนั้นในขณะที่รัชกาลที่ 7 ยังไม่ทรงตั้งเจ้านายพระองค์หนึ่งพระองค์ใดเป็นรัชทายาท พระองค์เจ้าอานันทมหิดลจึงเป็นเจ้านายอีกพระองค์หนึ่งที่คาดกันว่าอาจจะได้เป็นผู้สืบราชบัลลังก์ต่อไปตามกฎมณเฑียรบาล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น