บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2017

หมอชิต

รูปภาพ
     หากจะเดินทางไปภาคเหนือ ภาคอีสาน ต้องขึ้นรถโดยสารที่ "สถานีขนส่งหมอชิต" ซึ่งย้ายมาจากสถานีขนส่งหมอชิตเดิม ที่บริเวณสวนจตุจักร ทำไมจึงเรียก สถานีขนส่งอีสาน-เหนือ ว่า.. "หมอชิต"      หมอชิต หรือนายชิต นภาศัพท์ เป็นคนบางพระ จังหวัดชลบุรี เป็นเจ้าของพื้นที่บริเวณสถานีขนส่งหมอชิต ที่เดิมเคยเป็นตลาดนัดที่ชาวสวนเอาผลไม้ต่างๆ มาขาย จนเรียกกันว่า ตลาดนัดหมอชิตแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับซอยนภาศัพท์ บนถนนสุขุมวิท หอพักนภาศัพท์ ที่สร้างให้เป็นหอพักของนิสิตจุฬา และหาดวอนนภา ที่ชลบุรี อันมีที่มาจากชื่อภรรยาของท่าน คือ นางวอน นภาศัพท์ หมอชิตโด่งดังเป็นที่รู้จักทั่วไป ในฐานะเป็นผู้ผลิตยานัตถุ์หมอชิต อันทำให้ได้นามนำหน้าว่า หมอ แต่นั้นมา      ก่อนที่ นายชิต จะผลิตยานัตถุ์ได้เคยทำงานเป็นเสมียนที่ห้างเต็กเฮงหยู ก่อนจะย้ายมาอยู่ที่ห้างเพ็ญภาค เมื่อแต่งงานมีบุตรธิดาแล้วก็คิดขยับขยายหาความก้าวหน้ามาเปิดร้านขายยาของตัวเอง โดยเริ่มที่หน้าวัดมหรรณพาราม ใช้เครื่องหมายการค้าตรามังกร ต่อมาย้ายไปอยู่ที่เสาชิงช้า ก่อนจะมาเปิดร้านที่ปากคลองตลาด เป็นที่รู้จักข...

"นางห้าม" ถวายตัวต้องตกเป็นมรดกหลวง

รูปภาพ
     ธรรมเนียมในราชสำนักแต่โบราณนั้น ถือว่าบุคคลใดไม่ว่าชายหรือหญิงเมื่อได้ถวายตัวแล้วจะถือว่าบุคคลนั้นตกเป็นคนของหลวงหรือตกเป็นคนของเจ้านายพระองค์นั้น การที่จะโปรดให้ทำอย่างไรหรือย้ายไปอยู่ที่ใดจึงสุดแต่พระราชอัทธยาศัย เรื่องคนของหลวงนี้เป็นเรื่องจริงที่เคยเกิดขึ้นดังตัวอย่างที่จะยกขึ้นมาให้เห็นภาพชัดเจนได้คือ เรื่องของนายแจ่ม สุนทรเวช กับคุณอุทุมพร วีระไวทยะ เมื่อพระยาดำรงแพทยาคุณผู้เป็นบิดาได้ถวายคุณอุทุมพรเป็นข้าหลวงในสมเด็จพระพันปีหลวงแล้ว คุณอุทุมพรก็ย้ายเข้าไปอยู่ในราชสำนักของสมเด็จพระพันปีหลวง และโปรดให้ศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนราชินี เมื่อสำเร็จการศึกษาก็กลับไปอยู่ที่วังพญาไท ต่อมาสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จสวรรคตคุณอุทุมพรจึงได้กราบบังคมลากลับมาอยู่ที่บ้านกับคุณหญิงสงวนผู้เป็นมารดา เพราะพระยาดำรงแพทยาคุณเพิ่งถึงอนิจกรรมไป ทำให้คุณอุทุมพรได้รู้เริ่มรู้จักกับนายแจ่มและเกิดชอบพอกัน สมเด็จพระพันปีหลวง        แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ให้ทั้งคู่ต้องจากกันเพราะคุณอุทุมพรต้องเดินทางไปนครปฐมกับมารดา การเดินทางไปนครปฐมคราวนี้ทำให้ท่านเจ้าคุณผู้ว่า...

เจ้านาย ผู้มีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ ต่อจากรัชกาลที่ 7

รูปภาพ
     รัชทายาทในสมัยรัชกาลที่ 7 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประสบปัญหาเรื่องรัชทายาทคล้ายคลึงกับในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เพราะถึงแม้จะทรงมีพระอัครมเหสี 1 พระองค์ คือ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี แต่ก็ไม่ทรงมีพระราชโอรสสืบสันตติวงศ์แต่อย่างใด ประกอบกับที่ทรงมีพระสุขภาพไม่ค่อยปกตินักจึงมักมีผู้คาดการณ์เกี่ยวกับเจ้านายที่จะรับเป็นรัชทายาทแตกต่างกันออกไป โดยมีเจ้านายหลายพระองค์ที่อยู่ในข่าย หรือได้รับการสนับสนุนให้เป็นรัชทายาทดังนี้     สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช      ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ตำแหน่งรัชทายาทควรจะตกอยู่กับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต้นราชสกุล “มหิดล”) พระราชโอรสพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติจากสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระพันวัสสา) พระมเหสีที่มีพระอิสริยยศรองจากสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ(สมเด็จพระพันปีหลวง) แต่ทรงมีพระชนมายุเพียง 38 พร...

พระเจ้าแผ่นดินสยามในรัชกาลที่ 4 มี 2 พระองค์

รูปภาพ
     ในประวัติศาสตร์ชาติไทย แผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้มีพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองเกิดขึ้น นั่นก็คือ พระอนุชาร่วมพระชนนี คือ เจ้าฟ้าจุฑามณี เป็นพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง ทรงได้รับพระบวรราชาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระปวเรนทราเมศ มหิศเรศ รังสรรค์ มหรรต วรรคโชไชย มโหฬารคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ บวรจักรพรรดิราช บวรนาถบพิตร พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว"      แต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเสด็จสวรรคตเสียก่อนที่จะสิ้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงไม่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบต่อมา พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นกษัตริย์วังหน้านั้น จึงเป็นที่ทราบกันน้อยมาก เพราะแม้พระราชประวัติของพระองค์จะเป็นเพชรเม็ดงามเลิศก็ตามจริง แต่ก็ได้ฝังจมอยู่ในประราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตลอดกาลสมัย      เมื่อล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ขึ้...