บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2014

เมืองพัทยา

รูปภาพ
     เมืองพัทยา มีตำนานเล่าขานถึงที่มา ไว้ 2 กระแส  คือ กระแสหนึ่งพูดถึงพัทยาในฐานะที่มีส่วนเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของชาติไทยว่า ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินได้ตีฝ่าวงล้อมพม่ามารวบรวมพลฝั่งตะวันออก ได้หยุดพักแรมที่นาจอมเทียนและทุ่งไก่เตี้ยสัตหีบ ซึ่งภายหลังชาวบ้านเรียกตำบลนี้ว่า "ทัพพระยา" ต่อมาเรียกใหม่เป็น "ทัพธยา" และกลายเป็น "พัทยา" ในที่สุด ส่วนอีกกระแส ได้กล่าวถึงตำนานไว้ว่า “พัทยา” ตรงบริเวณที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาแวะพักทัพ นั้น เป็นบริเวณที่มีทำเลดีและมีลมทะเลชนิดหนึ่งชื่อว่า “ ลมพัทธยา ” เป็นลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้พัดผ่านเข้ามาที่นี่เป็นประจำทุกปีในตอนต้นฤดูฝน จึงได้เรียกสถานที่บริเวณนี้ว่า “หมู่บ้านพัทธยา” และต่อมาได้เรียกเป็น “พัทยา” ในที่สุด        ในปี พ.ศ. 2504 ระหว่างสงคราวเวียดนาม ทหารอเมริกัน ซึ่งเข้ามาตั้งฐานทัพในไทยได้มาพักผ่อนที่ชายหาดพัทยา โดยได้เช่าบ้านตากอากาศของพระยา สุนทร แล้วผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมา สัปดาห์ละครั้งเป็นประจำ นับเป็นจุ

สะพานพระราม 8

รูปภาพ
     สะพานพระราม 8 เป็น สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แห่งที่ 13 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปลายถนนอรุณอัมรินทร์ ฝั่งธนบุรี กับปลายถนนวิสุทธิษัตริย์ ฝั่งพระนคร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2538 เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานพระปิ่นเกล้า รองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนฯ และเป็นจุดเชื่อมต่อตามโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้ผิวการจราจรเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2545       สะพานพระราม 8 นั้นปแบบโดดเด่นสวยงามเพราะได้ออกแบบเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตร ซึ่งหมายความว่า มีเสาสะพานหลักเสาเดียวบนฝั่งธนบุรี และมีเสารับน้ำหนัก 1 ต้นบนฝั่งพระนคร จึงไม่มีเสารับน้ำหนักตั้งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาทำให้ไม่มีปัญหาต่อการสัญจรทางน้ำ      สะพานพระราม 8 นั้นสร้างเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) กรุงเทพมหานครจึงได้อัญเชิญ พระราชลัญจกร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์มาเป็นต้นแบบในการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ส่วนประกอบต่างๆ ของสะพานเน้นความโปร่งบาง เรียบง่าย และสวยงาม วั

ท่าพระจันทร์

รูปภาพ
    ท่าพระจันทร์ เป็นท่าเรือริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่บริเวณสุดถนนพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ให้บริการเฉพาะเรือข้ามฟากในเส้นทางท่าพระจันทร์-วังหลัง และท่าพระจันทร์-พระปิ่นเกล้า      ชื่อของ ท่าพระจันทร์ มาจากการที่บริเวณท่าเรือแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์ ซึ่งเป็นป้อมแห่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามแนวกำแพงพระนครด้านตะวันตก ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ใช้บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นท้องสนามหลวง ถนนหน้าพระธาตุ ป้อมต่าง ๆ รอบกำแพงพระราชวังบวรสถานมงคลถูกรื้อลงหมดรวมถึงป้อมพระจันทร์ด้วย ถนนที่ตัดตรงสู่บริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์จึงมีชื่อว่า "ถนนพระจันทร์" และท่าน้ำในบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์จึงเรียกว่า " ท่าพระจันทร์ " มาจนถึงปัจจุบัน ใช้เป็นท่าเรือโดยสารซึ่งมีบริษัทเอกชนเป็นผู้ดำเนินกิจการเดินเรือข้ามฟากที่ประมูลมาจากกรุงเทพมหานคร

วันลอยกระทง

รูปภาพ
     ประเพณี ลอยกระทง ของไทยนั้นมีมาแต่สมัยโบราณ โดยมีความเชื่อหลายอย่าง เช่น เชื่อว่าเป็นการบูชาและขอขมาแม่พระคงคา เป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็นการบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น การลอยกระทงนิยมทำกันในวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุก ๆ ปี อันเป็นช่วงที่น้ำในแม่น้ำลำคลองขึ้นสูงและอากาศเริ่มเย็นลง ตามพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน และตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้กล่าวว่า นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์กระทงสำหรับลอยประทีปเป็นรูปดอกบัวบานขึ้น ซึ่งคนทั่วไปนิยมทำตามสืบต่อมา นอกจากนั้นในศิลาจารึกหลักที่ 1 ยังได้กล่าวถึง งานเผาเทียน เล่นไฟ ของกรุงสุโขทัยไว้ด้วยว่า เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้ผู้รู้ทั้งหลายสันนิษฐานต้องตรงกันว่า งานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน       วันลอยกระทง นั้นมีประวัติความเป็นมา ตังแต่สมัยสุโขทัย โดย นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทงรูปดอกบัว และรูปต่างๆถวาย พระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล  ลืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน          ปัจจุบันประเพณี ล