บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2014

อำเภอชะอำ

รูปภาพ
      อำเภอชะอำ เดิมมีชื่อว่า “ ชะอาน ” เล่ากันว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ยกทัพมาทางใต้ ทรงนำทัพมาทางใต้ ทรงนำทัพมาที่เมืองนี้เพื่อไพร่พล ช้าง ม้าและล้างอานม้า จึงได้ชื่อว่า “ ชะอาน ” ต่อมาชื่อนี้จึงเพี้ยนมาเป็น “ ชะอำ ”       อำเภอชะอำ  เริ่มมีความเจริญทางด้านทางท่องเที่ยว ตั้งแต่ทางรถไฟสายใต้สร้างมาถึงในราวปี 2459 ชายหาดชะอำเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักกันมานานแล้ว แต่ในอดีตยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร จนกระทั่งปี พ.ศ. 2464 พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพารในสมัยนั้นได้ออกสำรวจพื้นที่ชายทะเลที่ชะอำ ได้ทรงมาจับจองที่ดินชายทะเลตำบลชะอำ ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นตำบลในเขตการปกครองของอำเภอนายาง พื้นที่ ชายทะเลชะอำเมื่อสำรวจครั้งแรกยังเป็นป่าอยู่ ส่วนด้านชายทะเลเป็นดงกระบองเพชรป่าหนามเสมาสลับกับต้นมะขามเทศและต้นรัก      ในรัฐสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีมาก จนได้ให้มีการสร้างค่ายหลวงบางทะลุ ณ ที่ หาด...

อำเภอแก่งกระจาน

รูปภาพ
     อำเภอแก่งกระจาน เดิมเรียกว่า “ หมู่บ้านตะเคียนห้าบาท " พื้นที่เป็นป่าดงดิบมีภูเขาใหญ่น้อยเรียงรายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลากหลายชนิด เช่น ช้าง เสือ หมี กระทิง เก้ง กวาง เป็นต้น ชนชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวกระเหรี่ยงและกระหร่าง อาศัยอยู่ตามริมน้ำซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรีในปัจจุบัน การปกครองเดิมขึ้นอยู่กับอำเภอท่ายาง จากสภาพพื้นที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งมีเกาะแก่งมากมายทำให้ราษฎรส่วนใหญ่ดำรงอาชีพด้วยการหาปลา โดยชาวกระเหรี่ยงจะใช้แผ่นเงินขนาดเล็กผูกติดกับเบ็ดเป็นเหยื่อล่อปลา แผ่นเงินขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมนี้ ชาวกระเหรี่ยงเรียกว่า “ กระจาน ”  ชื่อ แก่งกระจาน จึงมีที่มาจากอาชีพชาวกระเหรี่ยง                 กรมชลประทาน ได้ทำการสำรวจพบว่าพื้นที่ดังกล่าวสามารถกั้นเขื่อนขนาดใหญ่สำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรได้ จึงได้ของบประมาณสร้างเขื่อนดินแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504   โดยมีนายช่างประสาท   โพธิปิติ   เป็นผู้ควบคุม   สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี   พ.ศ....