บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2009

จังหวัดตราด

รูปภาพ
ประวัติศาสตร์จังหวัดตราด       จังหวัดตราด เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ด้านชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย สันนิษฐานกันว่า " ตราด "เพี้ยนมาจากคำว่า "กราด" ซึ่งเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาด และรอบเมือง ตราด ในสมัยก่อนนั้นก็มีต้น "กราด" ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระนเรศวรมหาราช " ตราด " มีชื่อในขณะนั้นว่า "บ้านบางพระ" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสยอมยก ดินแดนจังหวัดตราดและเกาะช้างทั้งหมดตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรี ต่อมาในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ได้ยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณรวมทั้งเมือง ปัจจันตคีรีเขตรให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกเอาเมือง ตราด เกาะต่างๆ ตั้งแต่แหลงสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด กับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคืนมา โดยฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้น เป็นพระยาศรีเทพตำแหน่งปลัดทูลฉลอง กระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทย ฝ่ายฝรั่งเศสมีมอง

จังหวัดสุพรรณบุรี

รูปภาพ
      สุพรรณบุรี เป็นเมืองเก่าแก่ มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 - 4,000 ปี ตามหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบ มีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก และสืบทอดทางวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมรวดี ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี อู่ทอง อยุธยา จนถึงปัจจุบัน      สุพรรณบุรีเดิมมีชื่อเรียกว่า  “ ทราวดีศรีสุพรรณภูมิ ” ซึ่งในราว พ.ศ. 700-800 อาณาจักรสุวรรณภูมิ   อันมีเมืองนครปฐมเป็นราชธานี ต้องตกเป็นเมืองออกของวินละ ( เขมร )ต่อมาราว พ.ศ. 1113  พวกไทยเมืองละโว้กู้อิสรภาพได้สำเร็จ อาณาจักรสุวรรณภูมิโบราณนี้ได้กลับมามีความเจริญรุ่งเรืองอีกวาระหนึ่ง และมีชื่อใหม่ว่า“ อาณาจักรทราวดี ” เมืองทราวดี(นครปฐม) เจริญแล้วเสื่อมลงตามความเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์บ้าง จากสงครามบ้าง บางคราวถึงกับทิ้งร้างไปนานๆ มาถึงสมัยอู่ทอง พระยาพานได้พยายามบูรณะใหม่ ตั้งแต่น้ำท่าไม่อุดมสมบูรณ์เหมือนสมัยโบราณ พระยาพานจึงได้แต่ซ่อมเพียงองค์พระปฐมเจดีย์แล้วสถาปนา“ เมืองพันธุมบุรี” ที่บนฝั่งแม่น้ำ(ท่าจีน) ขึ้นแทนระหว่าง พ.ศ. 1420-1425 และได้ครอบครองเมืองนี้ต่อมาจนสวรรคตในราว พ.ศ.1459 พระพรรษาได้ครองราชย์แทน แต่แล้วกลับเสด็

สมุทรสงคราม

รูปภาพ
ประวัติศาสตร์จังหวัดสมุทรสงคราม สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ผลจากการสำรวจของบุคคลหลายคนเชื่อว่า ผืนแผ่นดินในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเคยเป็นทะเลมาก่อน ต่อมาเพื่อกระแสน้ำลำธารได้พัดพาเอาดินและทรายบนผืนแผ่นดินใหญ่ลงมาทับถมในอ่าว นับเป็นเวลาหลายพันปีเข้า อ่าวก็ตื้นเขินเป็นแผ่นดินงอกรุกทะเลออกไปเรื่อยๆ เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ฝั่งทะเลอยู่ล้ำเข้ามาในผืนแผ่นดินใหญ่มาก คาดว่าพื้นที่ที่ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง ทั้งหมดในขณะนี้ยังไม่มี โดยเหตุนี้จึงถือได้ว่า ในสมัย ๒,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้น เมืองสมุทรสงครามยังไม่เกิด สมัยกรุงศรีอยุธยา เท่านี้นักโบราณคดีคณะต่างๆ ได้สำรวจมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจโดยทางราชการหรือส่วนตัว ยังไม่ปรากฏว่าได้พบโบราณสถานที่มีอายุก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาสักแห่งเดียว ฉะนั้น จึงพอจะกล่าวได้ว่าจังหวัดสมุทรสงครามได้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่เก่าไปกว่านั้น แต่ก็ยืนยันไม่ได้ว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนปลายแต่จากจดหมายเหตุที่มองซิเออร์เซ-เบเรต์ ซึ่งอยู่ในคณะทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศสที่มี มองซิเออร์ เดอลาลูแบร์ เป็นหัวหน้าคณะเดินทางเข้ามาเจริญทางพระร

สิงห์บุรี

รูปภาพ
ประวัติศาสตร์จังหวัดสิงห์บุรี สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ประวัติของไทยนั้นเก่าแก่มาก จดหมายเหตุจีนเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีก่อนพุทธกาลกล่าวถึงภูมิลำเนาเดิมของไทยว่าอยู่ในลุ่มน้ำตอนกลางของแม่น้ำเหลือง ซึ่งอยู่ในท้องที่มณฑลฮูเป และ โฮนานในบัดนี้ ในสมัยเดียวกันนั้น จีนก็ได้มาตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามที่ราบสูง ในลุ่มน้ำเหลืองตอนบน คือ มณฑลกังซูในบัดนี้ ซึ่งเห็นจะเป็นเพราะถูกพวกต้นตระกูลตาดรุกราน จึงได้ร่นลงมาและปะทะกับไทยเข้า ไทยมีจำนวนน้อยจำต้องร่นลงมาทางใต้หลายทิศหลายทาง พวกไทยส่วนมากร่นลงมาตามแม่น้ำแยงซีเข้าไปในยูนนาน ต่อสู้ชนะพวกพื้นเมืองเดิมและได้ตั้งอาณาจักรน่านเจ้า โดยมีตาลีฟูเป็นเมืองหลวง ต่อมาเมืองหลวงก็ได้ย้ายไปตั้งอยู่ ปูเออฟู อาณาจักรน่านเจ้าครอบครองท้องที่มณฑลยูนนานปัจจุบัน พม่าเหนือและภาคเหนือของสิบสองปันนาประวัติของไทยในสมัยที่กล่าวนี้ รุ่งเรืองที่สุดและอำนาจอยู่อย่างนี้ ๔ ศตวรรษ อย่างไรก็ดี เมื่อจีนรุกรานหนักเข้า ไทยก็จำต้องอพยพร่นลงมาอีก และกว่าจะต่อสู้เอา ชัยชนะขอมเจ้าของถิ่นเดิมได้ ก็เป็นเวลาตั้งหลายศตวรรษ แล้วจึงได้ตั้งอาณาจักรใหม่ ณ เชียงแสน บนฝั่งแม่น้ำโขง อาณาจักรใหม่นี้มีประวัติรุ่ง

สระบุรี

รูปภาพ
ประวัติศาสตร์จังหวัดสระบุรี “สระบุรี” ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรง-ราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เมืองสระบุรีตั้งขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๐๙๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักร-พรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา คือหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วปีเศษ (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๙๑–๒๑๑๑) มูลเหตุตั้งเมืองสระบุรี ลักษณะการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาระยะนั้น แบ่งการปกครองออกเป็นอย่างนี้ ๑. หัวเมืองชั้นในและชานเมือง เรียกว่า มณฑลราชธานี ได้แก่ เมืองที่ตั้งอยู่ใกล้พระนคร ที่ปรากฏนามสำคัญคราวนั้น มี เมืองชลบุรี เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรีและเมืองชัยนาท เป็นต้น ๒. หัวเมืองชานเมือง ได้แก่ เมืองลพบุรี เมืองสุพรรณบุรี เมืองนครนายก เป็นต้น ๓. หัวเมืองฝ่ายเหนือ มีเมืองนครสวรรค์ เมืองสุโขทัย และเมืองพิษณุโลก เป็นต้น ๔. หัวเมืองด้านตะวันออก มีเมืองนครราชสีมา เมืองเพชรบูรณ์ และเมืองจันทบุรี ตลอดจนเมืองปราจีนบุรี เป็นต้น ๕. หัวเมืองด้านตะวันตก มีเมืองมะริด เมืองตะนาวศรี เป็นต้น ๖. หัวเมืองปักษ์ใต้ มีเมืองนครศรีธรรมราช เมืองสุราษฎร์ธานี เป็นต้น การสำรวจสำมะโนครัวชายฉกรรจ์ หรือที่เรียกว่า “สักเลข” สมัยโน้น ไ

สมุทรปราการ

รูปภาพ
ประวัติศาสตร์จังหวัดสมุทรปราการ สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา เมืองสมุทรปราการ ยังไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์จะมีแต่เมืองพระประแดง ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งที่ขอมสร้างขึ้น เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของขอมซึ่งตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาและเป็นที่คาดคะเนว่าเมืองพระประแดงก็ยังคงเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้มาจนตลอดสมัยสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่ออำนาจของกรุงสุโขทัยอ่อนลง พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี และได้เลือกเอาระบบการปกครองของขอมและสุโขทัยมาปรับปรุงเสียใหม่ และประกาศใช้เป็นระบบการปกครองของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ซึ่งวิธีการจัดระบบการปกครองหัวเมืองแบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ - หัวเมืองชั้นใน มีเมืองป้อมปราการ เป็นด่านชั้นในกับหัวเมืองชั้นในที่อยู่รอบๆ เมืองป้อมปราการเหล่านั้น - เมืองพระยามหานคร คือ หัวเมืองไกลๆ ที่มอบอำนาจให้เจ้าเมืองปกครองชาวเมืองอย่างเจ้าชีวิต แต่ต้องส่งส่วยให้แก่เมืองหลวง - เมืองประเทศราช อันได้แก่ เมืองขึ้นต่างๆ ในสมัยนี้เมืองป้อมปราการด่านชั้นในมี ๔ หัวเมือง คือ ทิศเหนือ เมืองลพบุรี ทิศใต้ เมืองพระประแดง ทิศตะ